บทความสุขภาพ

Knowledge

แนะนำอาหารในผู้ป่วยตับแข็ง และผู้ที่มีอาการทางสมองจากตับแข็ง

นพ. ระพีพันธุ์ กัลยาวินัย

อาหารต้องห้ามในผู้ป่วยตับแข็ง


  • ผู้ป่วยตับแข็งอาจต้องเลี่ยงเกลือ โดยเฉพาะในรายที่บวมน้ำ
  • ทั้งนี้ควรมีการกินอาหารให้เพียงพอ และสะอาดด้วย
  • ควรทานอาหารที่สุกสะอาด ไม่ทิ้งค้าง แม้ทำใหม่ก็ตาม
  • ไม่กินของหมักดอง
  • ไม่กินเหล้า ยาดองเหล้า
  • อย่ากินยาที่ไม่แน่ใจว่ามีผลต่อตับหรือไม่
  • ขี้เหล็ก ควรทานในลักษณะแกงที่ทำสุกสะอาด ไม่ควรทานขี้เหล็กในรูปแบบอื่น
  • เห็ดบางอย่างมีพิษ ควรทานเฉพาะเห็ดที่คนทั่วไปทาน รู้จักกันดี
  • ไม่ควรลองอาหารแปลก ๆ เพราะอาจมีพิษต่อตับ
  • ไม่ควรทาน พริกป่น ถั่วป่น ข้าวโพดแห้งที่ทิ้งค้าง เพราะอาจมีเชื้อราอะฟลาท็อกซิน ซึ่งเป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดมะเร็งตับได้
  • การให้วิตามิน สารลดการทำลายตัวเอง สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) และอาหารเสริมอื่นยังไม่เป็นที่ยอมรับ บ้างแนะนำให้วิตามินอีเสริมในผู้ป่วยตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบซี (hepatitis C)


ข้อปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่มีอาการทางสมองจากตับแข็ง


กรณีเคยมีอาการทางสมอง เช่น สับสน มึนงง มือสั่น พูดเพ้อแล้วแพทย์บอกว่ามีอาการทางสมองจากตับมีข้อปฏิบัติตัวเพิ่มดังนี้


  1. ควรทานโปรตีนที่สะอาดไม่มีพิษต่อตับควรเลือกทานโปรตีนจากพืชมากกว่าจากสัตว์ เช่น ถั่ว เต้าหู้ เห็ด บางช่วงอาจต้องถึงกับงดโปรตีนทุกชนิด ขึ้นกับแพทย์แนะนำให้ทำอย่างไร
  2. ควรเลี่ยงการกินเนื้อทุกชนิด ไม่ว่าเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ รวมทั้งเครื่องใน ในปริมาณมาก ๆ ไม่ควรทานเลือดหมู
  3. ถ้ามีถ่ายดำ หรือ ถ่ายเป็นเลือด ให้ปรึกษาแพทย์ด่วน
  4. ระวังอย่าให้ท้องผูกควรถ่ายให้ได้วันละครั้ง บางรายอาจถึง 3-4 ครั้ง แล้วแต่แพทย์สั่ง กรณีไม่ถ่ายให้ทานยาระบายที่แพทย์สั่งให้ถ่ายทันที
  5. กรณีท้องเสีย ต้องรีบรักษาเช่นกัน
  6. งดยาที่ทำให้ง่วงนอนทุกอย่าง รวมทั้งยานอนหลับ หรือ ยากลุ่มอาการซึมเศร้า
  7. เลี่ยงการอดหลับอดนอน เลี่ยงความเครียด
  8. ห้ามขาดยา และ มาตามแพทย์นัดทุกครั้ง
  9. กรณีมีไข้ เป็นหวัด ปัสสาวะบ่อยหรือแสบขัด หอบเหนื่อย ขาบวม ตัวเหลืองตาเหลือง หรือ เริ่มมีอาการทางสมองใด ๆ แม้เพียงเล็กน้อยอาการใดอาการหนึ่งก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
  10. ระวังอย่าป่วยติดเชื้อ รับประทานอาหารที่สะอาด ระวังไข้หวัด ล้างมือบ่อย ๆ
  11. การรับประทานนมเปรี้ยวที่มีเชื้อ Lactobacillus อาจช่วยปรับสมดุลแบคทีเรียในลำไส้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่แพ้นมหรือได้รับแพทย์อนุญาตจากแพทย์
  12. การออกกำลังกาย โดยทั่วไปปลอดภัยในผู้ป่วยตับแข็ง แต่ในรายที่เป็นระยะท้ายอาจไม่เหมาะสมเพราะอาจทำให้เกิดเลือดออกในเส้นเลือดขอดในท้อง (variceal bleeding)


การเปลี่ยนตับ LIVER TRANSPLANTATION


ตามที่กล่าวข้างต้น การเปลี่ยนตับใหม่ จากผู้ป่วยที่เสียชีวิต หรือ มีอาการสมองรุนแรงใกล้เสียชีวิต (ปัจจุบันเริ่มมีรายงานบริจาคตับครึ่งหนึ่งให้กันด้วย แต่ยังไม่เป็นวิธีมาตรฐาน) ผลการเปลี่ยนตับของต่างประเทศ ตับเริ่มดีขึ้นมากถึง 80% และอายุยืนยาวมากกว่า 5 ปีเลยทีเดียว เมื่อเทียบกับโอกาสเสียชีวิตในโรคตับแข็งระยะท้าย ๆ จากติดเชื้อ โรคที่เกี่ยวกับสมอง และการมีน้ำในท้องซึ่งรักษายาก ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุด้วย เช่น ไวรัสตับอักเสบซี การดื่มเหล้า ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการต่าง ๆ ดีขึ้นหลังการรักษา ไม่ต้องเปลี่ยนตับก็อาจดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตามผลการเปลี่ยนตับของประเทศไทยได้ผลดีพอควร ทั้งนี้อยู่ระหว่างการรอรายงานสรุป

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. ระพีพันธุ์  กัลยาวินัย

นพ. ระพีพันธุ์ กัลยาวินัย

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital