บทความสุขภาพ

Knowledge

อัลไซเมอร์ กับการรับมือที่ไม่ง่ายของผู้ป่วยและคนใกล้ชิด

พญ. รับพร ทักษิณวราจาร

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) หรือที่เรียกกันว่า โรคความจำเสื่อม หรือโรคสมองเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างของเซลล์สมอง ทำให้เซลล์สมองฝ่อและเสียการทำงานไป ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดภาวะสมองเสื่อม พบได้บ่อยในผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะแสดงอาการออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่


  1. มีความผิดปกติด้านความทรงจำและทักษะต่าง ๆ ที่เคยทำได้ เช่น ลืมชื่อ ลืมวันเวลา ลืมสถานที่ ลืมสิ่งทำไปแล้ว พูดประโยคเดิมซ้ำ ๆ ทักษะความสามารถในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง เช่น ทักษะการขับรถผิดปกติ สับสนทิศทาง เป็นต้น
  2. มีอารมณ์และพฤติกรรมผิดปกติไป เช่น ขี้โมโห ก้าวร้าว มีพฤติกรรมขาดความยับยั้งชั่งใจ ขาดความคิดผิดชอบชั่วดี มีพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ หรือมีพฤติกรรมการนอนผิดปกติไป เป็นต้น
  3. ไม่สามารถทำกิจวัตรในชีวิตประจำวันได้ เช่น ลืมวิธีการอาบน้ำ การแต่งตัว หรือกิจวัตรที่เคยทำได้ ซึ่งในที่สุดอาจจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และจำเป็นต้องได้รับการดูแลตลอดเวลา เป็นต้น

ในระยะที่อาการรุนแรงผู้ป่วยจะสูญเสียความทรงจำและทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน รวมไปถึงกิจกรรมง่าย ๆ ที่คนปกติทำได้ เช่น การล้างจาน ถูบ้าน ซักผ้า หรือแค่การเดินไปหยิบของ


นอกจากนี้ผู้ป่วยจะมีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ ทำให้ขี้โมโห โกรธแบบไม่มีเหตุผล คิดว่าคนอื่นจะมาทำร้าย หรือทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะไม่ควรต่าง ๆ และผลจากการเสื่อมของเซลล์สมองจะทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติด้านการเคลื่อนไหว จนทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีคนดูแลช่วยเหลือตลอดเวลา


โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่รักษาไม่หายและผู้ป่วยจะมีอาการต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาจมีรายละเอียดแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย


ดังนั้น การรับมือกับโรคทั้งของผู้ป่วยเอง และคนดูแลจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างหนัก ผู้ดูแลต้องมีความเข้าใจว่าสิ่งที่ผู้ป่วยเป็นหรือพฤติกรรมแปลก ๆ นั้นไม่ได้เกิดจากความตั้งใจของผู้ป่วย ผู้ป่วยไม่มีสติสัมปชัญญะในการทำพฤติกรรมที่ผิดปกตินั้น ๆ และเป็นอาการของโรคอัลไซเมอร์


และเนื่องจากเป็นโรคที่รักษาไม่หาย การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์จึงเน้นไปที่การรักษาอาการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ให้ผู้ป่วยยังพอช่วยเหลือตัวเองได้ ควบคุมให้การดำเนินโรคให้เป็นไปอย่างช้าที่สุด ญาติ และผู้ดูแลต้องมีความเข้าใจ พร้อมทั้งหาวิธีการรับมืออย่างเหมาะสม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและสภาพจิตใจของผู้ดูแลด้วย

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. รับพร  ทักษิณวราจาร

พญ. รับพร ทักษิณวราจาร

ศูนย์สมองและระบบประสาท

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital