บทความสุขภาพ

Knowledge

ทำความรู้จัก “การสวนหัวใจ (CAG)” คืออะไร มีข้อดีอย่างไรบ้าง?

การสวนหัวใจ หรือ Coronary Angiography (CAG) เป็นหนึ่งในเทคนิคการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงหรืออาการที่บ่งบอกถึงปัญหาหลอดเลือดหัวใจ เช่น เจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่ม หรือมีประวัติครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ การตรวจนี้จะช่วยให้แพทย์เห็นภาพของหลอดเลือดหัวใจได้อย่างชัดเจน สามารถดูว่ามีการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดหรือไม่ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการวินิจฉัยและการวางแผนการรักษา บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับการสวนหัวใจ ว่าคืออะไร มีขั้นตอนอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง


การสวนหัวใจ (CAG) คืออะไร?


การสวนหัวใจ (Coronary Angiography หรือ CAG) คือ เทคนิคการตรวจที่ใช้เพื่อตรวจดูว่าหลอดเลือดหัวใจว่ามีการตีบหรืออุดตันหรือไม่ โดยแพทย์อายุรกรรมโรคหัวใจจะสอดท่อเล็ก ๆ (catheter) เข้าไปในหลอดเลือด ผ่านทางขาหนีบหรือแขน และฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในหลอดเลือดผ่านทางสายสวนนี้ แล้วใช้เครื่องเอกซเรย์ถ่ายภาพเพื่อดูการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดหัวใจ วิธีนี้ช่วยให้เห็นความผิดปกติในหลอดเลือดได้อย่างชัดเจน เช่น หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน


การตรวจสวนหัวใจเป็นการตรวจที่มักจะแนะนำในผู้ที่มีอาการน่าสงสัยว่ามีปัญหาของหลอดเลือดหัวใจ เช่น แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก หายใจไม่เต็มที่ หรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น มีประวัติโรคหัวใจในครอบครัว หรือผู้ป่วยที่เคยมีภาวะหัวใจขาดเลือดมาก่อน การตรวจนี้สามารถใช้ในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและช่วยให้แพทย์ตัดสินใจวางแผนการรักษาที่เหมาะสม เช่น การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนหรือการใส่ขดลวด หรือการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ (CABG)


ขั้นตอนการตรวจด้วยการสวนหัวใจ

การสวนหัวใจประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้


  1. การเตรียมผู้ป่วย: แพทย์และพยาบาลจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการงดอาหารและน้ำก่อนการตรวจอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง และจะทำการเช็กประวัติสุขภาพของผู้ป่วย รวมถึงยาที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่
  2. เข้าห้องตรวจ: ผู้ป่วยจะนอนบนเตียงเอกซเรย์แบบพิเศษ ทำความสะอาดบริเวณที่จะใส่สายสวนหัวใจและปิดคลุมร่างกายด้วยผ้าปราศจากเชื้อ
  3. การใส่สายสวน: แพทย์จะทำการสอดสายสวนหัวใจเข้าไปในหลอดเลือดที่ขาหนีบ หรือที่แขน เพื่อไปยังหลอดเลือดหัวใจที่ต้องการตรวจ
  4. ฉีดสารทึบรังสี: หลังจากนั้นแพทย์จะทำการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจเพื่อให้เห็นภาพหลอดเลือดหัวใจและประเมินรอยโรค
  5. ถ่ายภาพหลอดเลือดหัวใจ: โดยแพทย์จะใช้การเอกซเรย์ภาพเคลื่อนไหวในการตรวจดูภาพหลอดเลือดหัวใจ และจะสามารถวินิจฉัยความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจได้อย่างแม่นยำ

ทำไมต้องสวนหัวใจ?

การสวนหัวใจ (Coronary Angiography – CAG) เป็นการตรวจที่ค่อนข้างแม่นยำ ซึ่งแพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยทำด้วยข้อบ่งชี้ต่าง ๆ เช่น


  • วินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ: การสวนหัวใจช่วยให้อายุรแพทย์โรคหัวใจสามารถเช็กสภาพหลอดเลือดหัวใจได้อย่างละเอียด ซึ่งแพทย์จะสามารถบอกได้ว่าหลอดเลือดมีการตีบหรืออุดตันหรือไม่ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการวินิจฉัยโรคของหลอดเลือดหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease)
  • ประเมินความรุนแรงของโรค: การตรวจนี้ช่วยในการประเมินความรุนแรงของการตีบหรืออุดตันในหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยแพทย์ในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสม เช่น การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน (Angioplasty) หรือการใส่ขดลวด (Stent)
  • การวางแผนการรักษา: ข้อมูลที่ได้จากการสวนหัวใจสามารถใช้ในการวางแผนการรักษาที่เฉพาะและมีประสิทธิภาพเหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย เช่น การรักษาด้วยการผ่าตัดหรือรักษาด้วยยา
  • ติดตามผลการรักษา: สำหรับผู้ป่วยที่เคยเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการขยายหลอดเลือดหรือการใส่ขดลวด การสวนหัวใจสามารถใช้เพื่อติดตามผลการรักษาว่าหลอดเลือดที่รักษาไปมีการตีบซ้ำหรือไม่
  • ค้นหาโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง: นอกจากการตรวจหลอดเลือดหัวใจแล้ว การสวนหัวใจยังช่วยในการวินิจฉัยภาวะความผิดปกติหรือโรคหัวใจอื่น ๆ เช่น ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจหรือลิ้นหัวใจ
  • เพื่อการวางแผนการรักษาอื่น: ในบางกรณี การสวนหัวใจอาจเป็นขั้นตอนการประเมินหัวใจก่อนการทำการรักษาอื่น ๆ เช่น การผ่าตัดหัวใจหรือการรักษาด้วยการสวนหลอดเลือดในบริเวณอื่น

ข้อดีของการสวนหัวใจ


  1. เป็นการตรวจที่แม่นยำ: การสวนหัวใจถือเป็นการตรวจที่มีความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากแพทย์สามารถมองเห็นหลอดเลือดที่ตีบหรืออุดตันได้โดยตรงจากภาพเอกซเรย์ ทำให้สามารถประเมินสภาพหลอดเลือดได้อย่างชัดเจนและช่วยให้การวางแผนการรักษาถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  2. รักษาในขั้นตอนเดียวกันได้: หากพบว่าหลอดเลือดหัวใจมีการตีบหรืออุดตัน แพทย์สามารถทำการรักษาจุดที่มีการตีบทันทีในขณะที่ทำการสวนหัวใจอยู่ การรักษาดังกล่าว เช่น การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน หรือการใส่ขดลวด (Percutaneous Coronary Intervention หรือ PCI) เพื่อเปิดหลอดเลือดให้กว้างขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดซ้ำในอนาคต
  3. ลดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจขาดเลือดรุนแรง: การตรวจและรักษาหลอดเลือดที่ตีบหรืออุดตันได้อย่างรวดเร็วและตรงจุดช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดรุนแรงหรือหัวใจวาย ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
  4. ช่วยตัดสินใจในการผ่าตัด: หากผู้ป่วยจำเป็นต้องผ่าตัดหัวใจ การสวนหัวใจจะให้ข้อมูลสำคัญที่ช่วยให้แพทย์ตัดสินใจได้ว่าควรผ่าตัดเมื่อใด และผ่าตัดเชื่อมต่อหลอดเลือดที่บริเวณใด เพื่อให้การรักษาได้ผลดีที่สุด
  5. ใช้เวลาตรวจไม่มาก: การสวนหัวใจเป็นการตรวจที่ใช้เวลาไม่นานนัก โดยทั่วไปสามารถให้ผลการตรวจได้ในเวลาเพียง 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง
  6. สามารถทำได้ในกรณีฉุกเฉิน: โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือหัวใจวาย การตรวจนี้ช่วยให้แพทย์สามารถประเมินสภาพของหลอดเลือดหัวใจได้อย่างรวดเร็วและทำการรักษาทันที เช่น การขยายหลอดเลือดหรือใส่ขดลวด ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

ใครควรเข้ารับการสวนหัวใจ?

ผู้ที่แพทย์อาจพิจารณาให้เข้ารับการสวนหัวใจ ได้แก่


  • ผู้ที่มีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย หรือมีอาการที่บ่งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ร่วมกับมีอาการที่สงสัยว่าเป็นโรคหัวใจ เช่น
  • ผู้ป่วยเบาหวาน
  • ผู้ที่มีประวัติโรคหัวใจในครอบครัว
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงหรือระดับไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ที่สูบบุหรี่
  • ผู้ที่มีอาการอ่อนเพลียหรือเหนื่อยง่ายผิดปกติ และตรวจพบความผิดปกติที่บ่งชี้โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ผู้ที่ต้องผ่าตัดหัวใจเพื่อประเมินหลอดเลือดหัวใจก่อนการผ่าตัด

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนของการสวนหัวใจ

แม้ว่าการสวนหัวใจจะเป็นการตรวจที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงอยู่บ้าง เช่น


  • อาการแพ้สารทึบรังสี: ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแพ้สารทึบรังสีที่ฉีดเข้าไป อาจทำให้เกิดอาการคัน หรือตุ่มแดงที่ผิวหนัง
  • การบาดเจ็บที่หลอดเลือด: การสอดท่อเข้าไปในหลอดเลือดอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือฉีกขาดที่หลอดเลือดได้
  • การเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด: หลังการสวนหัวใจอาจมีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดที่ใส่สายสวน
  • ภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับไต: สารทึบรังสีที่ใช้ในการตรวจอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของไตในผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับไต หรือเป็นโรคไตอยู่แล้ว แต่ในผู้ป่วยที่ไม่เป็นโรคไต การทำงานของไตจะกลับมาเป็นปกติได้เอง

ซึ่งแพทย์จะให้คำแนะนำและดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้


การดูแลหลังสวนหัวใจ

หลังจากที่ผู้ป่วยเข้ารับการสวนหัวใจแล้ว ขั้นตอนการดูแลหลังการตรวจเป็นก็มีความสำคัญ เพราะมีผลต่อการฟื้นตัวหลังการสวนหัวใจ และช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยการดูแลหลังการสวนหัวใจมีข้อแนะนำดังนี้


  1. การพักฟื้น: หลังจากการสวนหัวใจ ผู้ป่วยจะพักอยู่ในโรงพยาบาล 1 วัน เพื่อให้แพทย์และพยาบาลสังเกตอาการ หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ผู้ป่วยก็จะสามารถกลับบ้านได้ภายในวันเดียวกันหรือวันรุ่งขึ้น
  2. การดูแลแผลบริเวณที่ใส่สายสวน: แผลตำแหน่งที่ถูกสอดสายสวน (catheter) เช่น บริเวณขาหนีบหรือแขนควรต้องดูแลอย่างเหมาะสม ห้ามงอเป็นเวลา 6 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือกดทับบริเวณนั้น และรักษาความสะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ผู้ป่วยควรสังเกตอาการบวม แดง หรือการมีน้ำเหลืองไหลออกจากแผล ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ หากมีอาการดังกล่าวต้องรีบแจ้งแพทย์
  3. การหลีกเลี่ยงกิจกรรมหนัก: ในช่วง 1-2 สัปดาห์หลังจากการสวนหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ การยกของหนัก หรือกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก เพื่อป้องกันไม่ให้แผลที่ใส่สายสวยมีเลือดออกหรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
  4. การดื่มน้ำมาก ๆ: สารทึบรังสีที่ถูกฉีดเข้าไปในระหว่างการตรวจจะถูกขับออกจากร่างกายทางไต ดังนั้น การดื่มน้ำมาก ๆ จะช่วยเร่งกระบวนการขับสารทึบรังสีออกจากร่างกาย
  5. มาพบแพทย์ตามนัด: หลังการสวนหัวใจ ควรมาพบแพทย์ตรงตามการนัดหมาย เพื่อการติดตามผลการตรวจและพิจารณาแนวทางการรักษา การดูแลสุขภาพ และอาจให้มีการรับประทานยาเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจในอนาคต

สรุป

การสวนหัวใจ (CAG) เป็นการตรวจที่สำคัญในการวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยวิธีนี้ช่วยให้อายุรแพทย์โรคหัวใจสามารถเห็นสภาพภายในหลอดเลือดได้อย่างชัดเจน ทำให้สามารถวินิจฉัยการตีบหรืออุดตันได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ การสวนหัวใจยังสามารถทำได้ในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถทำการรักษาได้ทันทีเมื่อพบปัญหา เช่น การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหรือใส่ขดลวด นอกจากนี้การสวนหัวใจยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดรุนแรงได้ อย่างไรก็ตามการตรวจสุขภาพยังคงมีความสำคัญทั้งการตรวจสุขภาพประจำปี และการตรวจสุขภาพหัวใจ เพราะทำให้ทราบถึงสุขภาพร่างกายโดยรวม และสุขภาพเฉพาะของหัวใจ เพื่อการป้องกันและรักษาสุขภาพอย่างเหมาะสม



แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง (9)

ดูทั้งหมด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 60 ปีขึ้นไป (คุณผู้ชาย)

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 60 ปีขึ้นไป (คุณผู้ชาย)

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 60 ปีขึ้นไป (คุณผู้ชาย)

฿ 29,900

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 60 ปีขึ้นไป (คุณผู้หญิง)

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 60 ปีขึ้นไป (คุณผู้หญิง)

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 60 ปีขึ้นไป (คุณผู้หญิง)

฿ 33,900

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 50 ปีขึ้นไป (คุณผู้ชาย)

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 50 ปีขึ้นไป (คุณผู้ชาย)

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 50 ปีขึ้นไป (คุณผู้ชาย)

฿ 25,900

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 50 ปีขึ้นไป (คุณผู้หญิง)

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 50 ปีขึ้นไป (คุณผู้หญิง)

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 50 ปีขึ้นไป (คุณผู้หญิง)

฿ 29,900

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 40 ปีขึ้นไป (คุณผู้ชาย)

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 40 ปีขึ้นไป (คุณผู้ชาย)

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 40 ปีขึ้นไป (คุณผู้ชาย)

฿ 16,900

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 40 ปีขึ้นไป (คุณผู้หญิง)

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 40 ปีขึ้นไป (คุณผู้หญิง)

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 40 ปีขึ้นไป (คุณผู้หญิง)

฿ 19,900

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 30 ปีขึ้นไป (คุณผู้ชาย)

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 30 ปีขึ้นไป (คุณผู้ชาย)

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 30 ปีขึ้นไป (คุณผู้ชาย)

฿ 10,900

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 25 ปีขึ้นไป (คุณผู้หญิง)

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 25 ปีขึ้นไป (คุณผู้หญิง)

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 25 ปีขึ้นไป (คุณผู้หญิง)

฿ 7,490

แพ็กเกจตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง

แพ็กเกจตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง

แพ็กเกจตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง

฿ 4,500

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital