บทความสุขภาพ

Knowledge

Coronary calcium score ช่วยประเมินการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

นพ. วิสุทธิ์ เกตุแก้ว, นพ. ณัฐพล เก้าเอี้ยน

ปัจจุบัน คนไทยมีอัตราการเจ็บป่วยและอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้นเรื่อย ๆ อาการที่สำคัญที่พบคือ เจ็บหน้าอก และเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง เป็นผลให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ลดลง ซึ่งมักจะเกิดจากหลอดเลือดแดงเลี้ยงหัวใจที่ตีบ นำไปสู่ภาวะหัวใจขาดเลือดเรื้อรังและภาวะหัวใจล้มเหลวได้


การตีบตันของหลอดเลือดนั้น เกิดได้จากการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดอย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นภาวะความเสื่อมของร่างกาย (degenerative change) ซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง โดยไขมันในผนังหลอดเลือดนี้ก็จะมีแคลเซียม หรือหินปูนสะสมจนทำให้หลอดเลือดมีลักษณะแข็งและตีบตันได้


ดังนั้นหากตรวจวัดแคลเซียมหรือหินปูนที่เกาะอยู่กับหลอดเลือดหัวใจได้ ก็เปรียบเสมือนการตรวจวัดการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดนั่นเอง ปัจจุบันมีวิธีการตรวจเพื่อประเมินโอกาสที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจหลายอย่าง การตรวจหนึ่งที่สามารถบอกได้คือการตรวจที่เรียกว่า “coronary calcium score หรือการวัดแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ” ซึ่งสามารถใช้ประเมินโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้


Coronary calcium score หรือแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจคืออะไร?


Coronary calcium score (coronary artery calcium score; CAC) หรือค่าแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจคือการใช้เทคโนโลยีของเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เพื่อตรวจหาระดับของแคลเซียมหรือหินปูนที่หัวใจ โดยเฉพาะที่หลอดเลือดหัวใจ โดยการสะสมของแคลเซียมนี้มักเกิดจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดงทำให้มีการสะสมของแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือด นอกจากนี้ยังบอกได้ถึงแคลเซียมที่บริเวณลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจได้อีกด้วย


coronary-calcium-score-1.jpg

ตรวจ coronary calcium score บอกอะไรได้บ้าง?


การตรวจ coronary calcium score จะบอกถึงปริมาณแคลเซียมหรือหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งสัมพันธ์กับไขมันในหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดส่วนอื่น ๆ


สรุปคือ ถ้าพบว่าค่า CAC ขึ้นสูง เราก็อนุมานได้ว่าคนไข้อาจจะมีเส้นเลือดหัวใจตีบหรือมีความเสี่ยงจะเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ/เส้นเลือดสมองตีบในอนาคต ซึ่งแพทย์จะนำข้อมูลนี้มาวิเคราะห์ต่อ ร่วมกับประวัติและอาการของคนไข้ว่าจะต้องทำการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติมหรือไม่ เช่นการวิ่งสายพาน (EST) หรือการฉีดสีดูเส้นเลือดหัวใจ (CTA หรือ CAG) รวมถึงการควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง


อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคหัวใจ


coronary-calcium-score-2.jpg

ข้อดีของการตรวจ coronary calcium score


ไม่ต้องออกกำลังกาย คนไข้จะนอนราบ ผ่านเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที ไม่ต้องฉีดสี ไม่เจ็บตัว ไม่ต้องงดน้ำงดอาหารในการตรวจ อีกทั้งการใช้คอมพิวเตอร์อ่านระดับของแคลเซียมค่าที่ตรวจได้จึงมีความแม่นยำ


ใครบ้างควรตรวจ coronary calcium score?


การตรวจ coronary calcium score จะสามารถตรวจเพื่อหาข้อบ่งชี้ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจระดับน้อยถึงปานกลาง ซึ่งได้แก่


  • เพศชายอายุ 40 ปีขึ้นไป
  • เพศหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไปหรือหญิงวัยหมดประจำเดือน
  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ผู้ที่ความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่เป็นเบาหวาน
  • ผู้ที่สูบบุหรี่
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง
  • ผู้ที่ไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ที่มีลักษณะงานที่นั่งอยู่กับโต๊ะหรือมีวิถีชีวิตประจำที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย

coronary-calcium-score-3.jpg

การเตรียมตัวก่อนตรวจ coronary calcium score


  • สามารถตรวจได้โดยไม่ต้องงดน้ำและอาหาร
  • งดชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ยา และสารอื่น ๆ ที่จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว
  • งดสูบบุหรี่และออกกำลังกายก่อนตรวจอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
  • ก่อนตรวจเจ้าหน้าที่จะให้เปลี่ยนเสื้อผ้าและถอดเครื่องประดับ ดังนั้นควรเลือกสวมใส่ชุดที่สะดวกในการเปลี่ยนในวันที่ทำการตรวจ
  • ถ้าท่านกำลังตั้งครรภ์หรือมีโอกาสที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ ยังไม่ควรตรวจ

ตรวจ coronary calcium score ทำอย่างไร?


ขั้นตอนการตรวจ coronary calcium score ทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 10 – 15 นาที โดยมีขั้นตอนดังนี้


  • เจ้าหน้าที่จะทำการติดขั้วบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจก่อนการตรวจ coronary calcium score
  • ผู้ที่ได้รับการตรวจจะต้องนอนบนเตียงตรวจเฉพาะของเครื่อง CT scan โดยนอนในท่านอนหงาย
  • ในขณะตรวจอาจต้องกลั้นหายใจเป็นเวลาสั้น ๆ ประมาณ 5-10 วินาที เพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจน

ผลตรวจแบบไหนที่แสดงว่ามีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ?


การประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจจะประเมินจากคะแนนแคลเซียมที่ตรวจได้ ดังนี้


  • คะแนน 0: ไม่มีแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจ มีโอกาสในการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบหรือเส้นเลือดสมองตีบภายในอนาคตน้อยมาก (10 years risk of MI/stroke < 1%)
  • คะแนน 1 ถึง 100: มีแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจระดับน้อย มีโอกาสในการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบหรือเส้นเลือดสมองตีบในอนาคตน้อย แต่ควรควบคุมปัจจัยเสี่ยง เช่น ดูแลเรื่องอาหาร การออกกำลังกายและการควบคุมน้ำหนัก (10 years risk of MI/stroke < 10%)
  • คะแนน 101 ถึง 400: มีแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจระดับปานกลาง มีโอกาสในการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบหรือเส้นเลือดสมองตีบในอนาคตปานกลาง ควรควบคุมปัจจัยเสี่ยง และสามารถพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติมได้ เช่น ตรวจการเดินสายพานเพิ่ม (10 years risk of MI/stroke 10-20%)
  • คะแนน 401 ขึ้นไป: มีแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจระดับสูง มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจหรือเส้นเลือดสมองตีบในอนาคตสูง แนะนำให้ควบคุมปัจจัยเสี่ยงอย่างต่อเนื่องและพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม (10 years risk of MI/stroke > 20%)

coronary-calcium-score-4.jpg

ref: Liew G, Chow C, van Pelt N, Younger J, Jelinek M, Chan J, Hamilton-Craig C. Cardiac Society of Australia and New Zealand Position Statement: Coronary Artery Calcium Scoring. Heart Lung Circ. 2017 Dec;26(12):1239-1251. doi: 10.1016/j.hlc.2017.05.130. Epub 2017 Jun 16. PMID: 28690020.


coronary-calcium-score-5.jpg

สรุป


ปัจจุบันการตรวจเพื่อวิเคราะห์โอกาสที่จะเกิดโรคหลอดเลือดมีหลายอย่าง การตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจหรือ coronary calcium score ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่มีความปลอดภัย ตรวจได้เร็ว มีความแม่นยำสูง เป็นมาตรฐานในการตรวจคัดกรอง (screening test) ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและหลอดเลือดสมองตีบในอนาคต


ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. วิสุทธิ์ เกตุแก้ว

นพ. วิสุทธิ์ เกตุแก้ว

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

นพ. ณัฐพล เก้าเอี้ยน

นพ. ณัฐพล เก้าเอี้ยน

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital