บทความสุขภาพ

Knowledge

กินอย่างไรต้านโควิด-19

พญ. อารีสา มโนชญ์ปิติพงศ์

หลักการง่ายๆทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า การกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ในสถานการณ์COVID-19 แบบนี้ เราควรกินอาหารที่มีวิตามินเพิ่มขึ้น อย่างเช่น วิตามินซี วิตามินอี เพราะว่าจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและต้านอนุมูลอิสระ ง่ายๆก็คือผักที่เรากินกันอยู่ในทุกวันนี้ อยากให้กินครบ 5 สี


โดยการทานผักผลไม้ให้หลากหลายและครบทั้ง 5 สีจะช่วยลดความเสี่ยงจากโรคต่าง ๆ มากมาย วันนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับผักผลไม้ 5 สี ว่ามีสีอะไรบ้างและแต่ละสีมีประโยชน์อย่างไร เพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง


118065520_m-300x200-1.jpg

ผักผลไม้สีเขียว


ก็คือ คะน้า บรอกโคลี ผักโขม หน่อไม้ฝรั่ง อะโวคาโด กะหล่ำปลีสีเขียว แอปเปิ้ลเขียว ซึ่งผักผลไม้ที่มีสีเขียวมีสารสำคัญ คือ คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) และจะมีการสารที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย


36349752_m-300x200-1.jpg

ผักผลไม้สีเหลืองหรือสีส้ม


มีสารสำคัญ คือ แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มวิตามินเอ สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) และวิตามินซี (Vitamin C) เช่น ส้ม เกรปฟรุต มะละกอ ฟักทอง ข้าวโพด สับปะรด แครอท มันฝรั่งหวาน กล้วย ซึ่งผักผลไม้ที่มีสีเหลืองและสีส้มเป็นส่วนสำคัญมากๆในช่วงสถานการณ์โควิด-19 แบบนี้ โดยวิตามินซีจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เราไม่ป่วยง่าย


26385503_m-300x274-1.jpg

ผักผลไม้สีแดง


จะมี ไลโคปีน (Lycopene) เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ตัวอย่างผลไม้และผักสีแดง เช่น สตรอว์เบอร์รี่ เชอรี่ มะเขือเทศ ทับทิม องุ่นแดง แตงโม ดอกกระเจี๊ยบ บีทรูท พริกแดง หอมแดง เป็นต้น


108044493_m-300x193-1.jpg

ผักผลไม้สีม่วงหรือสีน้ำเงิน


เช่น กะหล่ำปลีสีม่วง มะเขือม่วง องุ่น ลูกพรุน บลูเบอร์รี่ โดยทั้งหมดนี้จะมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด


50381606_m-300x209-1.jpg

ผักผลไม้สีขาว


ซึ่งสำคัญมากๆ โดยกลุ่มที่เป็นผักผลไม้สีขาว จะมีเบต้า กลูแคน (Beta glucan) พบมากในเห็ด ซึ่งเห็ดจะมีทั้งโปรตีน, วิตามิน, แร่ธาตุ ทำให้ร่างกายเราแข็งแรง ต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ยังพบได้ในกลุ่มผักผลไม้ เช่น กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ แอปเปิล แก้วมังกรเนื้อขาว มังคุด เป็นต้น



นอกจากการเลือกกินอาหารดีมีประโยชน์แล้ว การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมก็เป็นสิ่งสำคัญ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 3-5 สัปดาห์ และควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด งดการสูบบุหรี่ งดการดื่มแอลกอฮอล์ ก็จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงมากขึ้น



เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. อารีสา มโนชญ์ปิติพงศ์

พญ. อารีสา มโนชญ์ปิติพงศ์

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital