บทความสุขภาพ

Knowledge

การตรวจหัวใจในผู้สูงอายุ มีขั้นตอนสำคัญอย่างไรบ้าง

นพ. วิโรจน์ โตควณิชย์

เมื่อคนอายุมากขึ้นโรคที่เกิดจากหัวใจและหลอดเลือดจะเพิ่มมากขึ้น


โดยสามารถจะแบ่งเป็นกลุ่มดังนี้


  1. เกิดจากโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ซึ่งทำให้เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตัน และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดแดงใหญ่เอออร์ตาโป่งพอง (Aortic Aneurysm)
  2. โรคความดันโลหิตสูง ในคนที่อายุเกิน 65 ปี อาจพบว่าความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มม.ปรอท ถึง 50%
  3. การทำงานของหัวใจล้มเหลว (Congestive heart farilure) ซึ่งมีสาเหตุหลายอย่าง ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย
  4. โรคของลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว โดยเฉพาะลิ้นหัวใจเอออร์ตา เนื่องจากมีการเสื่อมของลิ้นหัวใจและมีแคลเซียมมาจับ
  5. โรคหัวใจเนื่องจากการเต้นที่ผิดจังหวะ

คนไข้บางคนอาจไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เลย เช่น โรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการผิดปกติเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ในคนไข้ที่กล้ามเนื้อหัวใจทำงานลดลงไม่มาก อาจไม่มีอาการเหนื่อยง่ายเนื่องจากคนสูงอายุไม่ได้ทำงานหนัก


การตรวจเช็กหัวใจจึงมีความจำเป็น และการตรวจพื้นฐานจะประกอบด้วย


  1. การตรวจร่างกายระบบหัวใจ และการวัดความดันโลหิต
  2. ตรวจเลือดดูภาวะไขมันในเลือดสูงและเบาหวาน
  3. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (E.K.G.) และเอกซเรย์ปอดดูขนาดหัวใจ

ส่วนในคนที่สงสัยว่าจะมีโรคหัวใจจะสามารถตรวจพิเศษ ดังนี้


  1. การวิ่งทดสอบสมรรถภาพหัวใจ (Exercise Stress Test) เพื่อดูการทำงานของหัวใจ และดูว่ามีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่เวลาออกกำลัง
  2. การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram) จะสามารถดูขนาดของหัวใจ ความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจทั้ง 4 ลิ้นว่ามีมีลิ้นตีบหรือรั่วหรือไม่ ดูการบีบตัวของหัวใจ
  3. การบันทึกการเต้นหัวใจ 24 ชั่วโมง (24 hours holter monitoring) ในกรณีที่สงสัยหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือสงสัยว่าอาการเป็นลมหมดสติเกิดจากหัวใจเต้นช้ามาก นอกจากนี้ยังสามารถดูการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจระหว่างที่ติดเครื่องไว้

การตรวจโดยวิธีพิเศษนี้ แต่ละวิธีจะมีข้อดีข้อต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ


เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. วิโรจน์ โตควณิชย์

นพ. วิโรจน์ โตควณิชย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital