บทความสุขภาพ

Knowledge

ทดสอบความฟิตของหัวใจ ด้วยเทคโนโลยี

นพ. วิสุทธิ์ เกตุแก้ว

การเอกซเรย์ปอดและหัวใจ รวมถึงได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจหัวใจขั้นต้นเท่านั้น แม้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะสามารถบ่งบอกถึงสิ่งผิดปกติของหัวใจได้มาก เช่นลักษณะการเต้น ขนาดของหัวใจห้องต่าง ๆ การนำไฟฟ้าภายในหัวใจ รวมถึงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่เนื่องจากเป็นการตรวจในขณะพัก ดังนั้นโอกาสที่จะพบความผิดปกติ อาทิ การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่บ่งบอกว่าหัวใจมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอนั้นค่อนข้างยาก นอกเสียจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจนั้นตีบมาก จนทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พออยู่ตลอดเวลา


การทดสอบความฟิตของหัวใจ เพื่อจะได้ทราบว่า เส้นเลือดหัวใจตีบจนทำให้มีเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอหรือไม่ จึงทำได้โดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย หรือที่เรียกกันว่า การทดสอบสมรรถภาพหัวใจ (Exercise Stress Test)


การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย โดยการเดินสายพาน นับได้ว่าเป็นการตรวจทางหัวใจที่ให้ผลคุ้มค่า มีความปลอดภัยสูง สามารถทำได้โดยง่าย ช่วยบ่งชี้ถึงภาวะของโรคหัวใจโดยเฉพาะผู้ที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบตัน เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีประโยชน์มากชนิดหนึ่ง


ขั้นตอนการเดิน วิ่ง บนสายพาน

ผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องแน่ใจว่าสามารถเดินหรือวิ่งได้ และก่อนเข้ารับการทดสอบควรได้นอนหลับพักผ่อนมาแล้วอย่างเพียงพอ งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 3 ชั่วโมง รับประทานอาหารมาแล้ว 2-3 ชั่วโมง ขณะเข้ารับการทดสอบควรสอบใส่ชุดที่เหมาะกับการวิ่งออกกำลังกาย การเดินบนสายพานจะต้องมีสายตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจติดกับตัวตลอดเวลา สายพานนี้จะปรับระดับความเร็วและความชันทุก ๆ 3นาที เพื่อให้ทราบจุดสูงสุดของสมรรถภาพหัวใจ ภายใต้การดูแลของแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่เทคนิคตลอดเวลา


ประโยชน์ของการตรวจด้วยเครื่องเดินบนสายพาน

  • เพื่อทดสอบความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย
  • เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยง
  • เพื่อตรวจแยกแยะหาสาเหตุของอาการเจ็บหน้าอกว่าเกิดจากโรคหัวใจหรือโรคอื่น
  • เพื่อบ่งชี้ความรุนแรงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • เพื่อติดตามผลในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • เพื่อประเมินสภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ

“การป้องกันและรักษาตัวเองให้แข็งแรง หมั่นออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดยังคงนับได้ว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด”



เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. วิสุทธิ์ เกตุแก้ว

นพ. วิสุทธิ์ เกตุแก้ว

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital