บทความสุขภาพ

Knowledge

แพ้การดมยาสลบจนเสียชีวิต มีจริงหรือ?

หลาย ๆ ครั้งที่ได้ยินข่าวว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการดมยาสลบ หรือที่หลายคนเคยได้ยินว่าแพ้ยาดมสลบจนเสียชีวิต ข้อเท็จจริงนั้นเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกัน


ภาวะไข้สูงอย่างรุนแรงที่เกิดจากการตอบสนองต่อยาสลบที่ผิดปกติ ในทางการแพทย์เรียกว่า malignant hyperthermia เป็นโรคที่มีความผิดปกติของการควบคุมแคลเซียมบริเวณกล้ามเนื้อลายซึ่งเกิดจากภาวะเมตาบอลิซึมที่สูงมากจากการได้รับสารกระตุ้นเช่น ยาดมสลบ หรือยาหย่อนกล้ามเนื้อบางชนิด จะพบได้เฉพาะคนที่มียีนทางพันธุกรรมที่ผิดปกติเท่านั้น โดยอุบัติการณ์ถือว่าพบได้น้อยมากประมาณ 1 ใน 200,000 หรือ 0.0005% แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วความรุนแรงนั้นนับได้ว่ามีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก

การวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ทำได้โดยวิธีเฉพาะที่เรียกว่า caffeine halothane contracture test เป็นการตัดชิ้นกล้ามเนื้อลายไปทดสอบกับยาสลบ เป็นวิธีตามมาตรฐาน แต่ยังมีข้อจำกัดที่ยังไม่สามารถทำได้ในประเทศไทย หรืออีกอย่างหนึ่งคือตรวจ DNA จากการเจาะเลือดไปหายีน RYR1 ที่สงสัยว่าผิดปกติได้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องของความไวในการตรวจพบได้ และถ้าไม่ได้ตรวจพิเศษดังกล่าวจะทราบได้อย่างไรว่าตัวเองจะมีความผิดปกติดังกล่าวซ่อนอยู่หรือไม่


เราจะสงสัยเมื่อมีประวัติคนในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่น้อง หรือญาติ เข้ารับการดมยาสลบแล้วมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงเกิดขึ้น หรือเสียชีวิตขณะที่ดมยาสลบ ซึ่งเป็นประวัติที่สำคัญมาก ๆ ควรจะบอกศัลยแพทย์ และวิสัญญีแพทย์ทุกครั้งก่อนที่จะวางแผนผ่าตัด


โดยลักษณะอาการของผู้ป่วยที่มีภาวะนี้จะเกิดขึ้นหลังได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย หรือดมยาสลบไปประมาณ 1 ชั่วโมง จะพบว่าจะมีภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงโดยไม่ทราบสาเหตุ มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลายทั่วร่างกายต่อเนื่อง อัตราการเต้นของหัวใจสูง และอุณหภูมิในร่างกายเพิ่มขึ้นสูงมากอย่างรวดเร็ว พบว่าเลือดเป็นกรดและภาวะโพแทสเซียมสูง ส่งผลทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะและเสียชีวิตได้อย่างฉับพลัน


การรักษาภาวะวิกฤตนี้ ได้แก่ การหยุดยาที่เป็นปัจจัยกระตุ้น ให้ยาแดนโทรลีน (dantrolene) ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาภาวะนี้โดยเฉพาะ ลดอุณหภูมิของร่างกายให้ต่ำลง รักษาเลือดเป็นกรด และให้การรักษาอื่นๆที่ช่วยพยุงสัญญาณชีพให้คงที่


การพยากรณ์ของโรคขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยและให้การรักษาอย่างรวดเร็ว จากการศึกษาพบว่าถ้าได้รับการรักษาด้วยยา dantrolene อย่างรวดเร็ว จะมีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่าร้อยละ 4 ซึ่งโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน ก็จะมียาดังกล่าวเก็บไว้สำหรับรองรับภาวะนี้ และมีเครื่องมือติดตามสัญญาณชีพที่ครบถ้วนและแม่นยำ เพื่อให้มั่นใจว่าจะให้การรักษาภาวะที่อันตรายถึงชีวิตนี้ได้อย่างทันท่วงที


สรุป


ภาวะ malignant hyperthermia เป็นภาวะเมตาบอลิซึมสูงที่เกิดในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับปัจจัยกระตุ้นได้แก่ ยาดมยาสลบหรือยาหย่อนกล้ามเนื้อบางชนิด เป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งทางวิสัญญีที่พบได้น้อยมาก แต่อันตรายถึงชีวิตแบบฉับพลัน ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสามารถป้องกันได้โดยการวางแผนและเตรียมการล่วงหน้าอย่างละเอียดรอบคอบ และเนื่องจากภาวะ malignant hyperthermia เป็นการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม จึงควรแจ้งให้สมาชิกในครอบครัวให้ทราบถึงการวินิจฉัยนี้ในตระกูล เพื่อเฝ้าระวังการระงับความรู้สึกแบบทั้งตัวของสมาชิกในครอบครัวในอนาคตด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital