บทความสุขภาพ

Knowledge

โรคอ้วนกับหัวใจ

นพ. วิโรจน์ โตควณิชย์

โรคอ้วน เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม


โรคอ้วน คือ การที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปจากไขมันสะสม


เมื่อไรจะเรียกว่าอ้วน ปกติมักจะใช้ดัชนีมวลกาย Body mass index ซึ่งคำนวณได้จากน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง


ค่า BMI สำหรับคนเอเชียถ้ามากกว่า 23 ถือว่ามากเกินปกติ และมากกว่า 25 ถือว่าอ้วน


อ้วนทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับโรคหัวใจหลายอย่าง เช่น ทำให้ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง ไขมันในเลือดเพิ่มขึ้นซึ่งล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ เราพบว่าคนอ้วนจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตกระทันหัน (Sudden death) มากกว่าคนปกติถึง 2.8 เท่า เสี่ยงต่อเส้นเลือดสมองตีบ 2 เท่า เสี่ยงต่อการทำงานของหัวใจล้มเหลว 1.9 เท่า และเสี่ยงต่อเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ 1.5 เท่า


สาเหตุเนื่องจากความอ้วนทำให้หัวใจโตขึ้นทั้งๆ ที่ความดันโลหิตไม่สูง การเพิ่มขึ้นของกรดไขมันอิสระส่งผลให้มีการดูดกลับของเกลือโซเดียมที่ไตเพิ่มขึ้นทำให้ความดันสูงขึ้น ทำให้การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติเพิ่มมากขึ้น เซลล์ไขมันจะทำให้ฮอร์โมน และเอนไซม์หลายชนิดทำงานผิดปกติไป กรดไขมันอิสระที่สูงขึ้นยังทำให้เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน


โรคอ้วนเป็นสาเหตุสำคัญของโรคนอนกรน ซึ่งจะพบหัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง และการทำงานของหัวใจล้มเหลว


นอกจากโรคหัวใจแล้ว อ้วนยังทำให้เสี่ยงต่อโรคหลายชนิด เช่น นิ่วในถุงน้ำดี เก๊าท์ โรคเข่าเสื่อมและมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งมดลูก เป็นต้น


จะเห็นว่าโรคอ้วนก่อให้เกิดโรคมากมาย การควบคุมน้ำหนักตัวจึงเป็นสิ่งสำคัญ การรู้จักบริโภคอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกายสม่ำเสมอ จนถึงการใช้ยาช่วยลดน้ำหนักบางชนิดในคนที่อ้วนมากอาจเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เนื่องจากอาจมีผลข้างเคียงมาก และยาลดความอ้วนบางชนิดยังทำให้เกิดโรคของลิ้นหัวใจได้

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. วิโรจน์ โตควณิชย์

นพ. วิโรจน์ โตควณิชย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital