บทความสุขภาพ

Knowledge

โรคกระเพาะอาหารภัยเงียบสู่มะเร็งร้าย

ปวดท้อง จุกเสียด อาหารไม่ย่อย อาการเหล่านี้เป็นอาการของโรคกระเพาะอาหาร หรือทางการแพทย์เรียกกันว่า โรคแผลเปปติค (Peptic Ulcer)


ซึ่งจะเกิดเป็นแผลบริเวณกระเพาะอาหารโดยตรงหรือเกิดเป็นแผลที่บริเวณลำไส้เล็กส่วนต้นซึ่งอยู่ติดกับกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะประสบปัญหาเป็นๆหายๆ หลังจากการรักษาแผลให้หายแล้วก็มักจะกลับมาเป็นแผลอีกเรื่อยๆ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งสาเหตุสำคัญพบว่าโรคกระเพาะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่ชื่อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร หรือ เอช.ไพโลไร (Helicobacter pylori)


เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลโร คืออะไร


เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร หรือ อีกชื่อ เอส.ไพโลไร เชื้อแบคทีเรีย ร้ายในกระเพาะอาหาร โดยปกติแล้วกระเพาะอาหารจะมีสภาพเป็นกรดอย่างแรง จะช่วยทำหน้าที่ทำลายแบคทีเรียทำให้แบคทีเรียส่วนใหญ่ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่เนื่องจากเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร จะมีลักษณะพิเศษที่สำคัญ คือ สร้างด่างมาหักล้างกับกรดได้ ทำให้เชื้อนี้อยู่เจริญเติบโตในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร และเป็นสาเหตุที่สำคัญของ โรคแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้ส่วนต้นยังเป็นปัจจัยเสี่ยง โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร


อาการของโรคกระเพาะอาหาร


ส่วนใหญ่มีอาการปวดท้องบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่โดยมีประวัติเป็นเรื้อรังมานาน โดยสุขภาพทั่วไปไม่ทรุดโทรม ผู้ป่วยบางรายมี อาการจุกเสียดแน่น เจ็บ แสบหรือร้อน โดยอาการจะสัมพันธ์กับการกินอาหาร โดยเฉพาะอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด บางรายอาจมีอาการปวดท้องตอนบ่าย เย็น กลางคืน


การรักษาเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลโร


แนวทางในการรักษาโดยทั่วไป แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายพร้อมกับหาเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลโร ในผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารทุกราย เพิ่มเติมด้วยการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ผู้ป่วยที่เป็นๆ หายๆ การรักษาที่นิยมใช้กันมากที่มีประสิทธิภาพสูงประกอบด้วย การใช้ยาลดการหลั่งกรด 1 ชนิด ร่วมกับยาปฏิชีวนะอีก 2 ชนิด เป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ สามารถกำจัดเชื้อมากกว่า 90 %


การดูแลรักษาตัวเองจากโรคกระเพาะอาหาร


  1. รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย ให้ตรงต่อเวลาทุกมื้อ
  2. รับประทานอาหารจำนวนน้อยๆ แต่บ่อย ไม่ควรกินอิ่มในแต่ละมื้อ
  3. หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของหมักดอง น้ำอัดลม
  4. งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ ชา กาแฟหรือเครื่องดื่มกาเฟอีน
  5. หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูกทุกชนิด (NSAID)

โรคแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น มักเป็นโรคเรื้อรัง เมื่อรักษาแผลหายแล้วยังมีโอกาสเป็นซ้ำอีกได้ หากมีอาการของภาวะแทรกซ้อน เช่นอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระสีดำ ปวดท้องรุนแรง หรือเบื่ออาหาร น้ำหนักลงโดยไม่มีสาเหตุ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะนำไปสู่โรคมะเร็งกระเพราะอาหารได้

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนให้หายดี ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital