บทความสุขภาพ

Knowledge

คำแนะนำการปฎิบัติตัวเมื่อรักษาตัวที่บ้านสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

พญ. รับพร ทักษิณวราจาร

คำแนะนำการปฎิบัติตัวเมื่อรักษาตัวที่บ้านสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019


การปฎิบัติตัวเมื่อรักษาตัวที่บ้าน


  1. โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบัน มักมีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรงและสามารถหายเองได้ที่บ้าน
  2. ผู้ป่วยโดยทั่วไปจะมีอาการเยอะสุดในระยะ 2-3 วันแรก และรู้สึกอาการดีขึ้นในหนึ่งสัปดาห์ (ยกเว้นเพียงผู้ป่วยสูงอายุ (ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี) หรือ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคไตเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้, โรคอ้วน, โรคตับแข็ง และมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ที่ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่รุนแรงขึ้นได้ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรรักษาตัวในโรงพยาบาล)
  3. จุดมุ่งหมายในการรักษาด้วยยาเพียงเพื่อลดอาการต่าง ๆ ให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสในผู้ป่วยที่มีอาการมากหรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่รุนแรงขึ้น
  4. ควรพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 7 – 9 ชั่วโมง ดื่มน้ำและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้เพียงพอ ครบถ้วน
  5. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
  6. ออกกำลังกายเบา ๆ เช่นเดิน ยกขาสลับบนเตียง เป็นเวลา 6 นาทีต่อวัน, ฝึกการหายใจเข้าออกลึก ๆ โดยหายใจเข้าทางจมูกและเป่าออกทางปากช้า ๆ
  7. ดูแลสุขภาพจิตใจเพื่อช่วยรับมือกับภาวะความเครียดที่อาจจะเกิดขึ้น หากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด พูดคุยกับบุคคลอื่นผ่านทางโทรศัพท์หรืการสนทนาออนไลน์

อาการที่บ่งบอกว่าแย่ลงต้องไปโรงพยาบาล


หมั่นประเมินอาการตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบว่าผู้ป่วยมีอาการแสดงหรือสัญญาณชีพต่าง ๆ แย่ลง ควรไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์


อาการแสดงหรือสัญญาณชีพฉุกเฉินมีดังนี้


  1. รู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก
  2. สับสน ซึมลง หรือเรียกไม่รู้สึกตัว
  3. ผิวหนัง ริมฝีปาก หรือเล็บ มีสีซีดเทา
  4. วัดออกซิเจนปลายนิ้วได้น้อยกว่า 96%
  5. มีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียล เป็นระยะเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง
  6. อัตราการหายใจเร็วกว่า 25 ครั้งต่อนาที

การป้องกันผู้อื่น สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019


  1. ให้อยู่ที่บ้าน ไม่ควรออกไปที่ชุมชน ยกเว้นไปพบแพทย์ตามนัด และควรหลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ เช่น รถประจำทาง, รถไฟฟ้า หรือ รถแท็กซี่ทั่วไป
  2. เมื่ออยู่บ้าน ให้ท่านแยกตัวจากผู้อื่นในบ้านเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น ควรอยู่ในห้องแยกตามลำพัง และอยู่ห่างจากผู้อื่นมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมถึงการแยกรับประทานอาหารในห้องส่วนตัว เปิดกระจกให้อากาศถ่ายเทสะดวก แยกใช้ห้องน้ำจากผู้อื่นถ้าทำได้
  3. หลีกเลี่ยงการใช้พื้นที่ส่วนรวมในบ้าน เมื่อจำเป็นต้องใช้พยายามใช้พื้นที่ส่วนรวมให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น เปิดอากาศให้ถ่ายเทในครัวหรือพื้นที่ส่วนรวม รักษาระยะห่างจากคนอื่นในครอบครัวอย่างน้อย 6 ฟุต หรือ 2 เมตร
  4. ทำความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสบ่อย ๆ ในห้องทุกวัน เช่น ลูกบิดประตู สวิตช์ไฟ เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และโต๊ะเคาน์เตอร์ต่าง ๆ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดพื้นผิว หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ 70%
  5. หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกัน เช่น ภาชนะในการรับประทานอาหาร ผ้าเช็ดตัว เครื่องนอน และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์
  6. สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่ใกล้กับผู้อื่นในบ้าน และเปลี่ยนหน้ากากอนามัยทุกวันหรือทุกครั้งที่หน้ากากอนามัยสกปรกหรือเปียก
  7. ปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชูเมื่อมีอาการไอหรือจาม ทิ้งกระดาษทิชชู และล้างมือให้สะอาด
  8. ควรล้างมืออย่างสม่ำเสมอด้วยสบู่และน้ำอย่างน้อยเป็นเวลา 20 วินาที หรือใช้แอลกอฮอล์ล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์มากกว่า 60% แอลกอฮอล์
  9. การซักทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ควรใช้น้ำร้อน และตากให้แห้งสนิท โดยเสื้อผ้าและเครื่องนอนของผู้ป่วยสามารถซักรวมกับของผู้อื่นในบ้านได้ ยกเว้นกรณีที่มีการปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากร่างกาย จะต้องแยกซัก
  10. ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง ให้แยกตัวและปฎิบัติตัวตามข้อปฎิบัติเมื่อรักษาตัวที่บ้าน จนครบอย่างน้อย 10 วันโดยนับจากวันแรกที่มีอาการหรือวันที่ตรวจพบเชื้อ
  11. ผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง หรือมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจจะมีระยะแพร่กระจายเชื้อที่นานกว่าคนทั่วไป ผู้ป่วยจะต้องแยกตัวและปฏิบัติตามข้อควรระวังอย่างน้อย 20 วัน

การสิ้นสุดการกักตัวรักษาตัวที่บ้าน


  1. ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง ให้แยกตัวและปฎิบัติตัวตามข้อปฎิบัติเมื่อรักษาตัวที่บ้าน จนครบอย่างน้อย 10 วันโดยนับจากวันแรกที่มีอาการหรือวันที่ตรวจพบเชื้อ
  2. ผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง หรือมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจจะมีระยะแพร่กระจายเชื้อที่นานกว่าคนทั่วไป ผู้ป่วยจะต้องแยกตัวและปฏิบัติตามข้อควรระวังอย่างน้อย 20 วัน

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. รับพร  ทักษิณวราจาร

พญ. รับพร ทักษิณวราจาร

ศูนย์สมองและระบบประสาท

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนให้หายดี ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital