บทความสุขภาพ

Knowledge

นอนกรน…เสี่ยงหัวใจหยุดเต้น

อ้วน นอนกรนและโรคหัวใจเกี่ยวข้องกันอย่างไร

โรคนอนกรน (Sleep apnea) จะหมายถึง การพบมีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือด ตอนที่หยุดหายใจเป็นพัก ๆ ระหว่างนอนหลับเท่านั้น และการที่นอนกรนก็ไม่จำเป็นต้องเกิดภาวะผิดปกตินี้ นอกจากนี้การเกิดภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ ก็ไม่จำเป็นต้องพบในคนที่อ้วนเท่านั้นในคนที่ผอมก็อาจเกิดความผิดปกตินี้ได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการพิสูจน์ชัดเจน โดยใช้เครื่องมือพิเศษตรวจ (Sleep Study) ความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจจึงพบได้ เนื่องจากการหยุดหายใจระหว่างหลับและเนื่องจากโรคอ้วนเอง (ทั้งๆ ที่ไม่มีภาวะนอนกรนร่วมด้วย)


โรคนอนกรน หรือ Sleep apnea นี้จะพบว่าระหว่างที่นอนหลับแล้วมีการหยุดหายใจออกซิเจนในเลือดจะต่ำลง คาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้น ความดันของทั้งหลอดเลือดแดงในปอดและร่างกายจะสูงขึ้น หัวใจจะบีบตัวส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายลดลง ในระยะแรกจะพบเฉพาะกลางคืนช่วงที่หยุดหายใจถ้าเป็นไปนาน ๆ ความผิดปกตินี้จะพบในเวลากลางวันด้วย คนไข้จะนอนหลับไม่สนิทตอนกลางคืน ทำให้ง่วงนอนและหลับมากในเวลากลางวัน ความผิดปกติจะพบว่าหัวใจเต้นช้าลงมาก บางครั้งหัวใจจะหยุดเต้นอาจนานถึง 2-13 วินาที ซึ่งอาจทำให้อาการเป็นลมหมดสติได้ อาจพบภาวะ heart block ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Prematureatrial contraction, Premature ventricular contraction. Atrial fibrillation,Ventricular Tachycardia) ซึ่งบางครั้งอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้


ส่วนความผิดปกติในหัวใจที่เกี่ยวข้องกับอ้วนนั้น ประกอบด้วย


  1. กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ การบีบตัวลดลง การทำงานของหัวใจล้มเหลว
  2. ความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจหนา การบีบตัวผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะและเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  3. โรคอ้วนทำให้ไขมันในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  4. ทำให้การหายใจลดลง (Hypoventilation) โดยไม่มีภาวะการหยุดหายใจร่วมด้วย เกิดภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์คั่ง ภาวะเป็นกรดในเลือด ถ้าสามารถลดน้ำหนักได้ ภาวะนี้จะดีขึ้นหรือหายไปได้

แนวทางการรักษา


  1. ปรับสุขภาพอนามัยการนอนหลับ นอนพักผ่อนเป็นเวลาทุกวัน ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายก่อนนอนหลับ
  2. ควบคุมน้ำหนักและออกกำลังกาย
  3. หลีกเลี่ยงในท่านอนหงาย
  4. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ บุหรี่ และยานอนหลับหรือยาที่กดประสาทส่วนกลาง
  5. ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจขณะนอนหลับ CPAP (Continuous Posititve Airway Pressure) ซึ่งเครื่องจะอัดอากาศที่เหมาะสม ทำให้ช่องทางเดินหายใจกว้างขึ้น
  6. Oral applicances เป็นเครื่องมือทางทันตกรรม ที่ช่วยเปิดทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น
  7. การผ่าตัด มีอยู่หลายวิธีตามตำแหน่งที่มีภาวะอุดตัน
    • ช่องจมูกและหลังโพรงจมูก เช่น ผ่าตัดริดสีดวงจมูก ผ่าตัดผนังจมูกให้ตรง ลดขนาดของเยื่อบุจมูกบวมด้วยเครื่องซอมโนพลาสตี้ (Radiofrequency Volumetric Tissue Reduction
    • ผ่าตัดทอนซิลและตกแต่งบริเวณลิ้นไก่เพดานอ่อน Uvulopalatopharyngoplarty (UPPP)
    • ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรมาทางด้านหน้า เพื่อเปิดช่องทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น Maxillo-Mandibular Advancment (MM)

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนให้หายดี ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital