บทความสุขภาพ

Knowledge

ทำไมกินหมูแล้วหูดับ?

พญ. วรรนธนี อภิวัฒนเสวี

ทำไมกินหมูแล้วหูดับ?


กินหมู…ไม่ได้ทำให้หูดับ แต่หากกินหมูดิบ หรือ กึ่งสุกกึ่งดิบ คุณเสี่ยงกับ โรคไข้หูดับ อันตรายถึงชีวิตได้


โรคไข้หูดับ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) โดยเชื้อนี้จะอยู่ในทางเดินหายใจของหมู และอยู่ในเลือดของหมูที่กำลังป่วย สามารถติดต่อสู่คนได้ 2 ทาง คือ


  1. จากการบริโภคเนื้อหรือเลือดหมูที่ปรุงแบบดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ
  2. การสัมผัสโดยตรงกับหมูที่ติดเชื้อทั้งเนื้อหมู เครื่องใน และเลือดหมู ผ่านทางบาดแผลรอยขีดข่วนตามร่างกายหรือทางเยื่อบุตา

อาการที่พบ


อาการส่วนใหญ่จะเริ่มแสดงใน 3 วัน


  • มี ไข้
  • ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ซึมลง คอแข็ง ชักเกร็ง
  • ปลายประสาทหูอักเสบจนหูดับหรือสูญเสียการทรงตัว
  • บางรายอาจมีอาการรุนแรงจนเสียชีวิต

ทั้งนี้ คนไข้ที่มีอาการหูดับนั้น พบว่ามาจากปัญหาเรื่องของเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือติดเชื้อในการแสเลือดก่อน แล้วเชื้อจึงลุกลามเข้าสู่ปลายประสาทหูชั้นในที่เกี่ยวข้องกับการได้ยินและการทรงตัว


ซึ่งในกรณีนี้มักมีโอกาสเกิดขึ้นเฉพาะบางรายที่มีโรคประจำตัว ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน


การป้องกันโรคไข้หูดับจากหมูดิบ


  • หลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อหมูดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ
  • ควรแยกอุปกรณ์ที่ใช้รับประทานอาหาร เช่น ตะเกียบ ช้อนส้อม ที่ใช้กับหมูไม่สุกและหมูสุกออกจากกัน
  • ผู้บริโภคควรเลือกซื้อเนื้อหมูจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐาน ไม่ซื้อเนื้อหมูที่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ และ ควรทำให้สุกด้วยอุณหภูมิตั้งแต่ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • ผู้ปรุงอาหาร ผู้เลี้ยง และผู้ชำแหละหมูที่มีบาดแผล ต้องปิดแผลและสวมถุงมือทุกครั้งขณะสัมผัสเนื้อหมู หากสัมผัสต้องล้างมือ ล้างเท้า และล้างตัวให้สะอาด

การป้องกันจึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด สามารถช่วยลดทั้งความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ การแพร่ระบาดของโรค และการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาได้

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. วรรนธนี อภิวัฒนเสวี

พญ. วรรนธนี อภิวัฒนเสวี

ศูนย์หู คอ จมูก

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital