บทความสุขภาพ
Knowledge
โรคประสาทไขสันหลังอักเสบ (Transverse Myelitis) เป็นโรคทางระบบประสาทที่มีความอันตรายและรุนแรง เกิดจากการอักเสบของไขสันหลังซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย การรับรู้ความรู้สึก และควบคุมระบบขับถ่าย หากไม่ได้รับรักษาที่เหมาะสมอาจนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพอย่างถาวร และอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
โรคประสาทไขสันหลังอักเสบสามารถแสดงอาการได้ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรง ซึ่งในบางครั้งการดำเนินโรคอาจรุนแรงและแย่ลงได้อย่างรวดเร็วขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่:
นอกจากนี้อาจพบการอักเสบของเส้นประสาทตาหรือสมองร่วมด้วย ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติของสายตาและการมองเห็นได้
ประสาทไขสันหลังอักเสบ สามารถเกิดจากหลายสาเหตุ โดยมีสาเหตุสำคัญ ได้แก่:
นอกจากสาเหตุข้างต้นแล้ว ยังมีภาวะผิดปกติของประสาทไขสันหลังอื่น ๆ อีกหลายโรคที่อาจแสดงอาการคล้ายกับโรคไขสันหลังอักเสบได้ ยกตัวอย่างเช่น ภาวะไขสันหลังถูกกดทับจากกระดูกเสื่อมหรือเนื้องอก (compressive myelopathy) ภาวะโพรงน้ำในไขสันหลัง (syringohydromyelia) ภาวะหลอดเลือดดำผิดปกติในโพรงไขสันหลัง (spinal dural arteriovenous fistula) หรือแม้กระทั่งโรคเส้นประสาทอักเสบเฉียบพลัน (Guillain-Barre syndrome) ซึ่งมีความแตกต่างในแง่ของการรักษาอย่างสิ้นเชิง
ทั้งนี้ผู้ป่วยบางรายอาจมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะไขสันหลังอักเสบได้เช่นกัน ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง(Autoimmune disease) หรือ มีประวัติการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่รุนแรง เป็นต้น
การวินิจฉัยประสาทไขสันหลังอักเสบต้องอาศัยการตรวจร่างกายโดยประสาทแพทย์อย่างละเอียด ร่วมกับการใช้เครื่องมือช่วยตรวจวินิจฉัยได้แก่
การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรง โดยแบ่งได้ดังนี้:
ในระยะนี้ผู้ป่วยมักมีอาการหรือความพิการหลงเหลือจึงจำเป็นต้องได้รับการกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยเพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตประจำวันใกล้เคียงปกติมากที่สุด โดยจำเป็นต้องได้รับการดูแลดังนี้
โรคไขสันหลังอักเสบแม้จะป้องกันได้ยากในบางกรณี แต่การดูแลสุขภาพโดยรวมสามารถช่วยลดความเสี่ยงได้ เช่น
จะเห็นได้ว่าโรคประสาทไขสันหลังอักเสบเป็นภาวะที่มีอันตรายและมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะถ้าหากได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ล่าช้า อาจส่งผลให้มีความพิการและทุพพลภาพตลอดชีวิต หรือแม้กระทั่งอาจรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นการหมั่นสังเกตตนเองเป็นประจำนั้นมีความสำคัญมาก และหากมีความผิดปกติของร่างกายที่อาจเป็นอาการเตือนเริ่มต้นของภาวะดังกล่าว เช่น มีอาการปวดร้าว อาการชา หรือ อาการอ่อนแรง แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจวินิฉัยและให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป
เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ
แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง (0)
ดูทั้งหมด
บทความที่เกี่ยวข้อง (10)
ดูทั้งหมด
Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital