บทความสุขภาพ

Knowledge

ยาไวอากร้ากับคนไข้โรคหัวใจ

นพ. วิโรจน์ โตควณิชย์

โรคหัวใจกินไวอากร้าได้หรือไม่


มีคำถามยอดฮิต คือ คนที่เป็นโรคหัวใจกินยาไวอากร้าได้หรือไม่


ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ความต้องการทางเพศกับสมรรถภาพทางเพศนั้นเป็นคนละอย่าง ยาไวอากร้าจะช่วยได้เฉพาะในรายที่มีความต้องการทางเพศแต่สมรรถภาพทางเพศลดลงเท่านั้น ดังนั้นการที่มีความต้องการทางเพศลดลงจะไม่ช่วยโดยการใช้ยาตัวนี้


ในผู้ป่วยโรคหัวใจนั้นจะพบว่าความต้องการทางเพศและสมรรถภาพทางเพศนั้นมักจะลดลง เนื่องจากสาเหตุทางจิตใจ เกิดจิตใจเศร้าหมองเกี่ยวกับโรคประจำตัว และกังวลว่าการมีเพศสัมพันธ์จะเป็นอันตรายต่อหัวใจได้ นอกจากนี้แล้วยารักษาโรคหัวใจบางตัวอาจจะทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลงได้ เช่น ยา Inderal



คนไข้โรคหัวใจต้องพึ่งยาไวอากร้าหรือไม่


โดยปกติแล้วถ้าผู้ป่วยโรคหัวใจที่สามารถทำกิจวัตรประจำวันโดยไม่มีอาการเหนื่อย หรือขึ้นบันได 2 ชั้นโดยไม่เจ็บหน้าอก ก็สามารถจะมีกิจกรรมทางเพศสัมพันธ์ได้ เนื่องจากระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 15-20 นาที และช่วงที่หัวใจทำงานหนักที่สุดความดันจะสูงขึ้น และชีพจรอาจขึ้นถึง 150 ครั้งต่อนาที ระยะเวลานี้จะประมาณ 3-5 นาที เท่านั้น การที่จะช่วยให้ลดอาการเหนื่อยหรือเจ็บหน้าอกได้อาจใช้ยา Nitroglycerine ช่วย



ยาไวอากร้ามีผลอย่างไร


ยาไวอากร้านั้นจะทำให้ความดันลดลงประมาณ 10 มม.ปรอท และถ้าใช้ร่วมกับยาจำพวกไนเตรท ซึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์คล้ายคลึงกัน อาจทำให้ความดันตกมากขึ้น จึงเป็นข้อห้ามสำหรับการใช้ยา 2 ตัวนี้ร่วมกัน นอกจากนี้แล้วยาไวอากร้ายังทำให้การแข็งตัวของเลือดผิดปกติไป ซึ่งผู้ป่วยโรคหัวใจจะกินยาแอสไพรินร่วมด้วยเสมอ ดังนี้จึงควรต้องระวังด้วย


พบคนเสียชีวิตจากยาไวอากร้า 16 ราย (จากการใช้เป็นล้านเม็ด) ซึ่งมักจะเสียชีวิตจากหัวใจวายกะทันหัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน คนไข้ 16 รายนี้ส่วนมากมีโรคความดันสูงและโรคหัวใจร่วมด้วยอยู่แล้ว อาจเกิดเนื่องจากหัวใจทำงานหนักขึ้นเวลาใช้ยาไวอากร้า


กล่าวโดยสรุปควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาตัวนี้

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. วิโรจน์ โตควณิชย์

นพ. วิโรจน์ โตควณิชย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital