บทความสุขภาพ

Knowledge

VO2 max เครื่องมือวัดความฟิตของร่างกายที่เหล่านักออกกำลังกายควรรู้ !

นพ. สุทัศน์ คันติโต

สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย มันคงจะดีไม่น้อยเลยใช่ไหม ถ้าเราสามารถออกแบบโปรแกรมออกกำลังกายที่เหมาะสมกับเราได้ และตัวช่วยที่จะเข้ามาทำการทดสอบความฟิตของร่างกาย เพื่อนำไปใช้สร้างโปรแกรมออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพ และยังสามารถนำมาใช้ในการฟื้นฟูสมรรภาพของร่างกายโดยเฉพาะกับผู้ที่มีโรคหัวใจ และโรคปอดอีกด้วย สิ่งนั้นก็คือเทคโนโลยีการตรวจหา VO2 max นั่นเอง


VO2 max คืออะไร ?


VO2 max ย่อมาจาก maximal oxygen consumption ซึ่งพูดง่าย ๆ คือเป็นค่าออกซิเจนที่ร่างกายใช้ในช่วงที่ออกกำลังจนเหนื่อยที่สุดนั่นเอง ผู้ที่สามารถดึงออกซิเจนไปใช้ได้มากกว่า ก็หมายความว่าสามารถสร้างพลังงานได้มากกว่า หรือเรียกว่ามีความฟิตของร่างกายมากกว่านั่นเอง


โดยเป็นการตรวจสมรรถภาพหัวใจและปอด ขณะที่ออกกำลังกายอย่างเต็มความสามารถ เพื่อหาจุดที่สูงสุดที่ร่างกายออกแรงได้ เมื่อถึงขีดจำกัด และวัดผลจากอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุดของร่างกายในขณะออกกำลังกาย มีหน่วยเป็นมิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมในเวลา 1 นาที


การวัด VO2 max จึงทำให้รู้ว่าร่างกายเรานั้นฟิตมากน้อยแค่ไหน สามารถทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายได้มากน้อยขนาดไหน และควรจะออกแบบการออกกำลังกายของเราอย่างไร


ปัจจัยที่มีผลต่อค่า VO2 max ได้แก่อะไรบ้าง ?


  • จำนวนเม็ดเลือดแดงของร่างกาย
  • ความสามารถของหัวใจและหลอดเลือด
  • ระบบการไหลเวียนผ่านปอด (pulmonary systems) ในการส่งถ่ายออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย

ค่า VO2 max นั้นจะขึ้นอยู่กับสมรรถภาพทางร่างกายของแต่ละคน อายุ รวมถึงกรรมพันธุ์ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบค่า VO2 max ได้จาก ตาราง VO2 max ที่แบ่งตามเพศและอายุ


VO2 max ปกตินั้นเป็นเท่าไร ?


สำหรับคนปกติที่ไม่ใช่นักกีฬา ค่า VO2 max ปกติ


  • ในผู้ชายจะมีค่าประมาณ 35-40 mL/kg/min
  • ในผู้หญิงจะมีค่าประมาณ 27-30 mL/kg/min

ซึ่ง VO2 max นั้นจะมีค่าเพิ่มสูงขึ้นถ้าผู้ทดสอบมีความฟิตมาก เช่นเป็นนักกีฬา หรือมีอายุน้อย และค่า VO2 max จะลดลงถ้าผู้ทดสอบนั้นมีความฟิตของร่างกายลดลง เช่น สภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ (ป่วย หรือพักผ่อนน้อย) หรือมีอายุเพิ่มมากขึ้น


ค่า VO2 max เพิ่มได้อย่างไร ?


การเพิ่มค่า VO2 max นั้นสามารถพัฒนาให้เพิ่มสูงขึ้นได้โดย


  • การออกกำลังกายที่เหมาะสม ผสมผสานการออกกำลังชนิด Endurance และ Interval training ในช่วงเวลาที่มากกว่า 3-6 เดือนขึ้นไป รวมถึงเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วย strengthening exercise และมีวันพักออกกำลังกายที่พอเพียง
  • รับประทานอาหารที่เหมาะสม

วิธีหาค่า VO2 max ในแต่ละบุคคล


แม้ปัจจุบันจะมีนาฬิกาสำหรับออกกำลังกายหลายรุ่น ที่สามารถวัดค่า VO2 max ได้ แต่การวัดค่า VO2 max ที่แม่นยำและสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้นั้น ควรทำในโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือในการวัดโดยเฉพาะ


โดยวิธีวัดค่า VO2 max ในโรงพยาบาลนั้น ผู้ทดสอบจะได้รับการติดสายการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และสวมหน้ากากครอบบริเวณจมูกและปาก เพื่อวิเคราะห์การหายใจ


หลังจากนั้นจะทำการทดสอบโดยการให้ออกกำลังกายและวัดก๊าซที่ผู้ทดสอบหายใจเข้า-ออก ซึ่งการตรวจเพื่อวัดค่า VO2 max นี้นั้น เรียกว่า CPET หรือ cardiopulmonary exercise test นั่นเอง โดยการทดสอบมี 2 แบบ คือ


  1. การทดสอบด้วยการวิ่งสายพาน บนลู่วิ่ง (Treadmill)
  2. ทดสอบด้วยการปั่นจักรยาน (Stationary bike cycling)

โดยเมื่อเริ่มทำการทดสอบ ผู้ทดสอบจะเริ่มต้นด้วยการยืนพักนิ่ง ๆ บนสายพานหรือนั่งนิ่ง ๆ บนจักรยานก่อน


จากนั้นเริ่มอบอุ่นร่างกายด้วยการเดินหรือปั่นจักรยานเบา ๆ


เมื่อเริ่มทดสอบ เครื่องจะทำการปรับความหนักของการออกกำลังกายให้มากขึ้นตามโปรแกรมการตรวจ โดยขณะที่ผู้ทดสอบเดินหรือปั่นจักรยานจะมีการบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจและอาการของผู้ทดสอบตลอดเวลา


ผู้ทดสอบจะออกกำลังจนถึงระดับที่ออกแรงเต็มที่ หลังจากถึงจุดที่ออกแรงเต็มที่ แพทย์จะปรับเครื่องให้ช้าลง โดยผู้ทดสอบยังจำเป็นต้องค่อย ๆ เดินหรือปั่นแบบช้า ๆ จนกระทั่งเครื่องหยุด ซึ่งแพทย์จะยังคงบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจพร้อมวัดความดันโลหิตเป็นระยะต่อไปจนครบ 5 นาที หรือ นานกว่านั้น ถ้ามีความผิดปกติ


สำหรับระยะเวลาในการทดสอบนั้นจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที โดยเป็นระยะเวลาที่ทดสอบบนเครื่องประมาณ 10-15 นาที


การเตรียมตัวเพื่อตรวจ VO2 max


สำหรับการเตรียมตัวเพื่อตรวจ VO2 max นั้นควรปฏิบัติดังนี้


  1. ติดต่อโรงพยาบาลเพื่อทำการนัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน
  2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  3. งดการออกกำลังกายหนัก
  4. งดอาหารมื้อหนัก บุหรี่ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนก่อนการตรวจอย่างน้อย 4 ชั่วโมง โดยสามารถดื่มน้ำเปล่าได้ตามปกติ
  5. หากผู้ทดสอบมีโรคประจำตัวและต้องรับประทานยาเป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าต้องหยุดยาก่อนทำการตรวจหรือไม่

ความเสี่ยงและผลข้างเคียงจากการตรวจ


ผลข้างเคียงที่พบได้จากการตรวจนั้น อาจเป็นอาการมึนงง เวียนศีรษะ เหนื่อยมากกว่าปกติ หายใจไม่ออก เจ็บหน้าอก ปวดหรือเป็นตะคริวที่ขาเนื่องจากการออกกำลังกายอย่างหนัก


การตรวจนี้เป็นวิธีการตรวจที่ปลอดภัย แต่ก็อาจพบภาวะแทรกซ้อนรุนแรงน้อยกว่า 1% ได้ ซึ่งได้แก่ ภาวะการณ์เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ เจ็บหน้าอก หรือหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน แต่ในการตรวจนั้นจะมีทีมแพทย์และพยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด จึงมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง


ประโยชน์ที่ได้จากการตรวจ VO2 max นั้นมีอะไรบ้าง ?


ข้อมูลที่ได้จากการตรวจ VO2 max ทั้งหมดจะถูกนำมาใช้ในการออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับแต่ละคน ดังนั้นการตรวจ VO2 max จึงเหมาะกับบุคคลทั่วไป ผู้ชื่นชอบการออกกำลังกาย นักกีฬา ไปจนถึงผู้ที่มีปัญหาด้านหัวใจและปอดอีกด้วย โดยการตรวจ VO2 max นั้นจะทำการตรวจหาสิ่งต่าง ๆ ดังนี้


  1. ตรวจสมรรถภาพของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ ขณะที่ออกกำลังกายอย่างเต็มความสามารถ
  2. ตรวจหาภาวะโรคหัวใจ ปอดและกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกายสูงสุด
  3. ตรวจหาการเต้นของหัวใจผิดจังหวะที่เกิดร่วมกับการออกกำลังกาย
  4. ตรวจหาสาเหตุภาวะเหนื่อยเพื่อหาแนวทางแก้ไขสภาวะเหนื่อยง่าย
  5. ตรวจวัดสมรรถภาพร่างกายและวัดระดับความฟิตหรือความอึดของร่างกาย

ในขณะที่ตรวจ จะมีการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจร่วมด้วย ทำให้คัดกรองโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่อาจพบได้ในขณะออกกำลังแบบเต็มพิกัด ช่วยให้ผู้ตรวจทราบข้อมูล และลดโอกาสการเสียชีวิตเฉียบพลันจากการออกกำลังกาย


ยิ่งไปกว่านั้น การทดสอบวัดค่า VO2 max ยังมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ หรืออาจจะได้รับการผ่าตัดทำบอลลูน ลิ้นหัวใจรั่ว หรือหัวใจพิการมาตั้งแต่กำเนิด รวมทั้งผู้ป่วยโรคปอด ทำให้สามารถออกแบบการออกกำลังกาย ที่เหมาะสมกับร่างกายของตนได้


เนื่องจากในการทดสอบวัดค่า VO2 max จะมีการตรวจสอบหาความผิดปกติของหัวใจและปอด สามารถตรวจสอบได้ว่าการทำงานของระบบหัวใจและปอดนั้นทำงานผสมผสานกันเป็นปกติหรือไม่ ดังนั้นจึงสามารถใช้ข้อมูลจากการตรวจสอบนั้นมาใช้เพื่อพื้นฟูผู้ป่วยได้อีกด้วย


สรุป


สำหรับเหล่าผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกายแล้ว การตรวจวัด VO2 max ถือเป็นสิ่งน่าสนใจ เพราะเหมือนเป็นการทดสอบความฟิตของร่างกาย และยังเป็นการตรวจหาความผิดปกติของหัวใจและปอด ทำให้เรารู้ว่าควรจะออกกำลังกายมากน้อยแค่ไหน สามารถฝึกซ้อม สามารถออกกำลังกายได้ถึงระดับไหนถึงไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งจะนำมาสู่การฝึกซ้อมอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง !


ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)


เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. สุทัศน์ คันติโต

นพ. สุทัศน์ คันติโต

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital