บทความสุขภาพ

Knowledge

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) คืออะไร ทำไมจึงจำเป็นต้องตรวจ?

โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับต้น ๆ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram) หรือ EKG คือหนึ่งในวิธีที่จะช่วยวินิจฉัยโรคหัวใจและภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการทำงานของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่ได้อย่างตรงจุด ซึ่งจำเป็นต้องตรวจหรือไม่ หรือมีข้อมูลควรรู้ก่อนตัดสินใจทำการตรวจ EKG อะไรบ้างนั้น สามารถติดตามไปพร้อม ๆ กันได้ในบทความนี้


Key Takeaways


  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือ EKG คือกระบวนการตรวจวัดกระแสไฟฟ้าหัวใจที่แสดงผลในรูปแบบของกราฟ บ่งบอกถึงจังหวะการเต้นของหัวใจ อัตราการเต้นหัวใจ และลักษณะกายวิภาคของหัวใจ
  • ผู้ที่ควรรับการตรวจ EKG คือผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ ผู้ที่อายุ 40-50 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย
  • การตรวจ EKG คือวิธีทางการแพทย์ในการตรวจความผิดปกติการทำงานของหัวใจเบื้องต้นที่ไม่เจ็บ ไม่จำเป็นต้องงดอาหาร งดน้ำก่อนตรวจ ใช้เวลาไม่นาน สามารถตรวจได้ในทุกเพศทุกวัย และทำซ้ำได้ทุก ๆ ปี

ทำความรู้จักการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram) หรือ EKG คืออะไร?


การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram / Elektrokardiogramm) หรือ EKG คือ กระบวนการตรวจวัดคลื่นหัวใจ ที่ข้อมูลจะแสดงออกมาในรูปแบบกราฟบ่งบอกถึงจังหวะการเต้นของหัวใจ และสัญญาณความผิดปกติของการทำงานหัวใจได้ เช่น มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นเร็ว หัวใจขาดเลือด หรือหัวใจโต โดยถือเป็นวิธีที่สามารถทำได้ง่าย ไม่ต้องเตรียมตัวซับซ้อน ใช้เวลาไม่นานก็ทราบผลในการประเมินสุขภาพหัวใจเบื้องต้น


ผู้ที่เหมาะสำหรับการตรวจ EKG มีใครบ้าง?


who-should-get-EKG-1024x1024.webp

EKG คือการตรวจหาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ และสามารถบ่งบอกภาวะผิดปกติของหัวใจอื่น ๆ ได้ โดยผู้ที่เหมาะสำหรับการตรวจ EKG มีดังนี้


  • ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคหัวใจ
  • ผู้ที่มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่เผชิญกับอาการใจสั่น เจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบาก ปวดร้าวหน้าอกทั้งกรณีที่อยู่เฉย ๆ และกรณีที่ออกแรงทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง ภาวะความดันโลหิตสูง ตลอดจนมีน้ำตาลในเลือดสูง หรือเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมไม่ค่อยออกกำลังกาย และมักทานอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง
  • ผู้ที่ต้องการตรวจสุขภาพหัวใจเพื่อป้องกันความเสี่ยงโรคร้ายต่าง ๆ ล่วงหน้าในอนาคต

ขั้นตอนการตรวจ EKG เป็นอย่างไร ใช้เวลานานไหม?


วิธีการตรวจ EKG คือวิธีที่ง่าย และไม่ต้องเจ็บตัวแต่อย่างใด โดยผู้เข้ารับการตรวจเพียงนอนหงายลงบนเตียงตรวจ จากนั้นเจ้าหน้าที่หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการป้ายเจลลงบริเวณหน้าอก ข้อมือ และข้อเท้า และทำการติดแผ่น Electrode ลงบนบริเวณที่ทาเจล เพื่อให้เครื่องทำการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจออกมาในรูปแบบกราฟ จากนั้นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการประเมินผล โดยกระบวนการตรวจ EKG นี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 5-10 นาทีเท่านั้น


วิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ EKG


แม้ว่าการตรวจ EKG คือขั้นตอนการตรวจที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน แต่เพื่อความปลอดภัยและเห็นผลลัพธ์ชัดเจนของการตรวจคลื่นหัวใจ แนะนำให้ศึกษาวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ EKG ดังนี้


  • แจ้งประวัติสุขภาพ ประวัติการใช้ยา หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริม วิตามินต่าง ๆ ให้เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจ EKG หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทราบก่อนเข้ารับการตรวจ
  • งดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม ที่มีส่วนทำให้หัวใจเต้นเร็วก่อนเข้ารับการตรวจ
  • งดออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ เพราะอาจทำให้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่แม่นยำได้
  • แนะนำสวมใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ หรือสามารถถอด หรือเปิดบริเวณหน้าอกและตามจุดต่าง ๆ ที่ใช้ตรวจ EKG ได้สะดวก
  • หลีกเลี่ยงการทาแป้ง โลชั่น หรือออยล์ลงบริเวณหน้าอก หรือจุดที่ใช้แปะแผ่น Electrode เนื่องจากอาจรบกวนสัญญาณการตรวจ EKG และไม่สามารถอ่านค่าได้แม่นยำ
  • ไม่จำเป็นต้องงดน้ำ หรืองดอาหารก่อนเข้ารับการตรวจ

การวินิจฉัยโรคจากผลการตรวจ EKG เป็นอย่างไร


EKG-diagnosis.webp

การตรวจ EKG คือวิธีการตรวจคลื่นหัวใจที่สามารถแสดงความผิดปกติ หรือสัญญาณโรคบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจได้ ขณะเดียวกันยังสามารถบ่งบอกถึงขนาดของหัวใจและความแข็งแรงของหัวใจได้เช่นกัน


ถ้าหากกราฟแสดงผล EKG ออกมามีความผิดปกติ แพทย์จะวินิจฉัยได้ทันทีว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ และอาจมีการตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจอีกครั้ง หรือใช้วิธีอื่น ๆ ในการตรวจหัวใจควบคู่ไปด้วย จากนั้นจึงแนะนำแนวทางในการรักษาหรือดูแลตัวเองของผู้เข้ารับการตรวจที่เหมาะสมต่อไป


การตรวจ EKG สามารถบอกอะไรได้บ้าง?


EKG คือวิธีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อศึกษาลักษณะไฟฟ้าภายในหัวใจว่ามีลักษณะผิดปกติหรือไม่ โดยสามารถบอกถึงอัตราการเต้นของหัวใจ จังหวะการเต้นของหัวใจ รวมถึงโครงสร้างภายในของหัวใจได้ ซึ่งหากถามว่าการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ บอกอะไรได้บ้าง หรือสามารถนำไปประกอบการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ เกี่ยวกับหัวใจอย่างไรได้บ้างนั้น มีดังนี้


  • ตรวจจับจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นเร็วเกินไป เต้นช้าเกินไป เต้นผิดจังหวะ
  • ตรวจวัดขนาดของหัวใจว่าผู้เข้ารับการตรวจกำลังเผชิญกับภาวะหัวใจโตอยู่หรือไม่
  • สามารถประเมินความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจได้ เช่น ผนังหัวใจมีลักษณะหนาเกินไป
  • ลักษณะการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจที่ผิดปกติ เช่น กำลังเผชิญกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • ช่วยแสดงผลการทำงานของเครื่องกระตุ้นหัวใจ ในผู้ป่วยที่มีการติดตั้งเครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือผู้ที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ
  • ช่วยคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจ เช่น โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ
  • มีส่วนช่วยวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวกับภาวะที่ร่างกายมีเกลือแร่ผิดปกติ เช่น โพแทสเซียมในเลือดสูงหรือต่ำ แคลเซียมในเลือดสูงหรือต่ำ

ข้อดีของการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG มีอะไรบ้าง?


ข้อดีของการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ-EKG-มีอะไรบ้าง-1024x1024.webp

การตรวจ EKG คือวิธีทางการแพทย์ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ ในการหาความผิดปกติ หรือสัญญาณโรคร้ายที่เกี่ยวกับการทำงานของหัวใจ หากสงสัยว่าการตรวจ EKG หรือตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่ออะไรนั้นมีข้อดีที่น่าสนใจดังต่อไปนี้


  • ช่วยวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับหัวใจในระยะเริ่มต้นได้
  • ช่วยประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ
  • ช่วยลดระดับความรุนแรงของโรคหัวใจ หรือลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้
  • สามารถใช้เป็นวิธีในการติดตามอาการเกี่ยวกับหัวใจที่ผิดปกติ
  • ไม่เจ็บปวด ไม่ต้องผ่าตัด หรือใช้เข็ม ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ใด ๆ ที่ทำให้เจ็บปวด
  • ใช้ระยะเวลาในการเข้ารับการตรวจไม่นาน เพียง 5-10 นาทีก็เสร็จเรียบร้อย
  • ไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวเพื่อเข้ารับการตรวจคลื่นหัวใจเป็นพิเศษ เช่น งดน้ำ งดอาหาร
  • เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย

การตรวจ EKG คือกุญแจสำคัญช่วยให้รู้ทันโรคหัวใจ


การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือ EKG คือวิธีการที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรคหัวใจและภาวะที่เกี่ยวข้อง สามารถช่วยประเมินและลดความเสี่ยงจากโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจได้อย่างตรงจุด โดยสามารถทำการตรวจ EKG ได้ในทุกเพศทุกวัยเป็นประจำทุก ๆ ปี เพื่อประเมินสุขภาพหัวใจและวางแผนการดูแลสุขภาพชีวิต เตรียมรับมือกับโรคร้าย หรืออาการเจ็บป่วยในอนาคตได้


สำหรับใครที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจ EKG หรือกังวลสุขภาพหัวใจ สามารถเข้ารับการตรวจ EKG และรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่สถาบันหัวใจและหลอดเลือด หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่โรงพยาบาลพระรามเก้า ผ่านช่องทางติดต่อด้านล่างนี้ได้เลย



คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ EKG


ตรวจ EKG มีผลข้างเคียงหรือไม่?


โดยทั่วไปแล้วการตรวจ EKG ไม่มีผลข้างเคียงที่ร้ายแรงต่อสุขภาพร่างกาย เพียงแต่ผู้เข้ารับบริการอาจรู้สึกระคายเคืองเล็กน้อยในบริเวณที่แผ่น Electrode สัมผัสกับผิวหนังได้


ควรตรวจ EKG บ่อยแค่ไหน?


การตรวจวัดคลื่นหัวใจ หรือการตรวจ EKG คือวิธีการตรวจที่สามารถทำได้ทันทีเมื่อรู้สึกว่ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นบริเวณหน้าอก หรือบริเวณหัวใจ รวมถึงหากผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจ EKG อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง


การตรวจ EKG เจ็บไหม?


ไม่เจ็บ เนื่องจากเป็นเพียงการใช้แผ่น Electrode แปะลงบนผิว จากนั้นใช้สื่อนำคลื่นไฟฟ้าทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และแปลผลออกมาในรูปแบบของกราฟเท่านั้น


References


Medical News Today. (n.d.). ECG vs. EKG: What is the difference? Retrieved from https://www.medicalnewstoday.com/articles/ecg-vs-ekg


NHS. (n.d.). Electrocardiogram (ECG). Retrieved from https://www.nhs.uk/conditions/electrocardiogram/


WebMD. (n.d.). Electrocardiogram (EKG). Retrieved from https://www.webmd.com/heart-disease/electrocardiogram-ekgs

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital