ค้นหาแพทย์
นัดหมาย
ศูนย์การแพทย์
แพ็กเกจ
1270
หน้าหลัก
เกี่ยวกับเรา
ห้องพัก
บทความสุขภาพ
ติดต่อเรา
โปรไฟล์
พญ. จิตรฟ้า หรูรุ่งโรจน์
DOCTOR PROFILE
แชร์
ศูนย์ตรวจสุขภาพ
ศูนย์วัคซีนและเวชศาสตร์การเดินทาง
*เลือกวันเพื่อดูช่วงเวลาออกตรวจของแพทย์ท่านนี้
ดูทั้งหมด
คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง
โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า
อ่านเพิ่มเติม
วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)
โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
โรคไข้เหลือง
โรคไข้เหลืองเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้เหลือง นำโดยยุงลาย พบในประเทศแถบแอฟริกาและอเมริกาใต้ เป็นโรคที่มีความรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูง มีระยะฟักตัวของโรค 4-10 วัน
วัคซีนมะเร็งปากมดลูก” ฉีดตรงไหน ฉีดกี่เข็ม ตอนไหนบ้าง?
การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก และคำถามที่ว่า “วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ฉีดกี่เข็ม” คำตอบคือวัคซีนนี้มักต้องฉีด 2-3 เข็ม ขึ้นอยู่กับอายุและประเภทของวัคซีน การฉีดให้ครบตามจำนวนที่กำหนดและในช่วงเวลาที่เหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
High altitude illness หรือภาวะแพ้ที่สูง ที่นักปีนเขาต้องระวัง !
นักท่องเที่ยวหรือนักปีนเขาที่ต้องปีนขึ้นที่สูง อาจเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากภาวะแพ้ที่สูง (High altitude illness) ซึ่งส่งผลให้ขาดออกซิเจน รวมถึงการบาดเจ็บจากความเย็น ที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
วัคซีนแนะนำในวัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
การรับวัคซีนในวัยผู้ใหญ่เป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่ได้รับในวัยเด็กจะลดลง และระบบภูมิคุ้มกันจะเสื่อมถอยตามอายุที่มากขึ้น การได้รับวัคซีนจะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ
คำแนะนำฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าก่อนการสัมผัสโรค (Rabies Pre-Exposure)
โรคพิษสุนัขบ้ามีอัตราการเสียชีวิต 100% และยังไม่มียารักษา การฉีดวัคซีนก่อนสัมผัสโรคช่วยทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน
อาการข้างเคียงของวัคซีน
วัคซีนทุกชนิดก่อให้เกิดอาการข้างเคียงได้ อาการส่วนใหญ่ไม่รุนแรง มักเกิดขึ้นภายใน 1-3 วันหลังฉีดวัคซีน และหายได้เองภายใน 1-2 วัน อาการส่วนใหญ่ได้แก่ อาการเฉพาะที่ คือ ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีด ซึ่งพบได้มากถึง 80% ของผู้ที่ฉีดวัคซีน อาการทั่วไปอื่นๆ ได้แก่ ปวดเมื่อยตัว ปวดข้อ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ไข้ ส่วนใหญ่อุณหภูมิไม่เกิน 38.5 C ต่อมน้ำเหลืองโต ผื่น ร่วมกับอาการไข้ อาจพบได้หลังฉีดวัคซีนเชื้อเป็น ในช่วง 3-21 วันหลังฉีด อาการข้างเคียงเฉพาะของวัคซีนบางชนิด วัคซีนที่มีส่วนประกอบของ บาดทะยัก คอตีบ อาจมีอาการบวมแดงเป็นบริเวณกว้างได้ เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างภูมิคุ้มกันของวัคซีนบาดทะยักและคอตีบในร่างกายที่ยังมีอยู่ กับ วัคซีนที่ฉีดกระตุ้น มักจะเกิดกับผู้ที่ฉีดวัคซีนภายใน 10ปีหลังจากเข็มก่อนหน้านี้ วัคซีน หัด หัดเยอรมัน คางทูม อาจมีอาการไข้สูงร่วมกับผื่นได้ภายใน 7-12 วันหลังฉีด แต่หายเองได้ภายใน 1-2 วัน โดยพบได้ 5% ของผู้ที่ฉีด หรือมีต่อมน้ำลายอักเสบได้ แต่พบได้น้อยมากในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ (น้อยกว่า1%) วัคซีนสุกใส พบอาการผื่นได้ประมาณ 1%ของวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ที่ฉีด ภายใน 3 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน โดยอาจเป็นผื่นแดงหรือตุ่มน้ำได้ ส่วนใหญ่เป็นผื่นแดง หากเป็นตุ่มน้ำจะมีเล็กน้อยไม่เกิน 5 ตุ่ม และหายเองได้ แต่ตุ่มน้ำสามารถแพร่เชื้อให้คนใกล้ชิดที่ไม่เคยเป็นสุกใสได้ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องซึ่งอาจติดเชื้อสุกใสรุนแรง ดังนั้น หากมีตุ่มน้ำเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน ควรแยกตัวจากบุคคลเหล่านี้จนกว่าตุ่มน้ำจะแห้งและตกสะเก็ดซึ่งพ้นระยะแพร่เชื้อ
ป้องกันปอดอักเสบด้วยวัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอคคัส ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้
การฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบนิวโมคอกคัสช่วยป้องกันอาการรุนแรงที่อาจทำให้เสียชีวิตจากปอดอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด และเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้
โรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม สาเหตุใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก ภาวะแทรกซ้อนจากโรคอีสุกอีใสและงูสวัด
ใบหน้าเป็นอัมพาตครึ่งซีกจากโรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม ภาวะแทรกซ้อนจากโรคอีสุกอีใสและงูสวัด เสี่ยงกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงและหูหนวก
ข่าวและกิจกรรม รพ.
นโยบายความเป็นส่วนตัว
นักลงทุนสัมพันธ์
การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
ร่วมงานกับเรา
ข้อกำหนดและเงื่อนไข
Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital