บทความสุขภาพ

Knowledge

คำแนะนำฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าก่อนการสัมผัสโรค (Rabies Pre-Exposure)

พญ. จิตรฟ้า หรูรุ่งโรจน์

“ไม่ต้องรอให้ถูกสัตว์ข่วนหรือกัดก็ฉีดวัคซีนป้องกันไว้ก่อนได้”


โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิต 100% และยังไม่มียารักษา เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ผ่านทางการสัมผัสน้ำลายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว ค้างคาว หนู กระรอก กระต่าย ผ่านทางการกัด ข่วน การถูกเลียบริเวณเยื่อบุ เช่น ตา ปาก หรือถูกเลียบริเวณบาดแผล โดยเชื้อจะเข้าสู่ระบบประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการทางสมอง และทำให้เสียชีวิตในที่สุด


การฉีดวัคซีนก่อนสัมผัสโรคจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันระดับหนึ่ง หากเราถูกสัตว์กัดหรือข่วนแทนที่เราจะต้องไปฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า 5 เข็มในกรณีที่ไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน เราก็จะต้องการการฉีดกระตุ้นเพียงแค่ 1-2 เข็ม


การฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าก่อนสัมผัสทำได้อย่างไรบ้าง?

การฉีดวัคซีนก่อนสัมผัสโรค ทำได้โดย


  1. ฉีดวัคซีนเข้ากล้าม (IM) ทั้งหมด 2 เข็มในวันแรกและอีก 7 วันถัดมา
  2. ฉีดวัคซีนเข้าใต้ผิวหนัง (ID) ฉีดครั้งละ 2 จุด ในวันแรกและ 7 วันถัดมา

หลังฉีดวัคซีนแล้วไม่จำเป็นต้องฉีดกระตุ้นแต่หากถูกสัตว์กัดหรือข่วนต้องฉีดกระตุ้นอีก 1-2 เข็ม เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่เคยฉีดวัคซีนไม่เพียงพอต่อการป้องกันโรค การฉีดกระตุ้นจะทำให้ภูมิคุ้มกันขึ้นสูง ป้องกันโรคได้เกือบ 100%


ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าก่อนสัมผัสโรคดีอย่างไร?


ประโยชน์ของการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าก่อนการสัมผัสโรค ได้แก่


  1. ลดความยุ่งยากในการฉีดวัคซีน เนื่องจากต้องการการฉีดกระตุ้นเพียง 1-2 เข็มหลังสัมผัสสัตว์ แทนการฉีด 5เข็มในผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน
  2. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการฉีดอิมมูโนโกลบูลิน (ซึ่งต้องฉีดรอบแผลในกรณีที่เป็นแผลที่มีความเสี่ยงสูง) ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง และอาจขาดแคลนในบางพื้นที่

aw_rama9_content1_APRIL2025_edit1.jpg

ใครบ้างควรฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า


  1. ผู้ที่ทำงานคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
  2. ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ผู้ที่มีสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว หนู กระรอก กระต่าย
  3. ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะสัมผัสสัตว์ เช่น พนักงานส่งของตามบ้าน นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปในแหล่งระบาดและทำกิจกรรมที่มีโอกาสสัมผัสสัตว์

สำหรับผู้ที่สนใจใช้บริการ ศูนย์วัคซีนและเวชศาสตร์การเดินทาง สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาลพระรามเก้า


  1. Website: https://bit.ly/3xJUA3f
  1. Line: https://lin.ee/vR9xrQs หรือ @praram9hospital
  1. Facebook: https://www.facebook.com/praram9Hospital
  1. โทร.1270

#โรงพยาบาลพระรามเก้า

#HEALTHCAREYOUCANTRUST

#Praram9Hospital

news-vaccine-10.jpg

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. จิตรฟ้า หรูรุ่งโรจน์

พญ. จิตรฟ้า หรูรุ่งโรจน์

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital