บทความสุขภาพ

Knowledge

12 ปัจจัยเสี่ยงของโรคสมองเสื่อม (Dementia)

พญ. รับพร ทักษิณวราจาร

เราสามารถลดโอกาสเกิดโรคสมองเสื่อมได้ถึงร้อยละ 40 โดยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้


  • ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ (physical inactivity)

การศึกษาพบว่าออกกำลังกายชนิดแอโรบิก เช่น เดิน วิ่ง ปั่น จักรยาน หรือว่ายน้ำ 45-60 นาที ต่อครั้ง สามารถลดการเกิดโรคสมองเสื่อมได้

  • การสูบบุหรี่ (smoking)

ไม่ว่าจะเป็นผู้สูบเอง หรืออยู่ใกล้ผู้สูบบุหรี่ล้วนเพิ่มโอกาสสมองเสื่อม การเลิกสูบบุหรี่ไม่ว่าจะเลิกที่อายุเท่าไหร่ สามารถลดโอกาสเกิดโรคสมองเสื่อมได้

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป (excessive alcohol consumption)

แอลกอฮอล์สัมพันธ์กับการเกิดสมองเสื่อม และทำให้เกิดเร็วขึ้นตั้งแต่อายุน้อยกว่า 65 ปี ปริมาณที่มากเกิน 14 ดื่มมาตรฐาน (standard drink) ต่อสัปดาห์ เช่น เบียร์ สัปดาห์ละ 8 กระป๋อง( 330 ซีซี) หรือไวน์ สัปดาห์ละ 11 แก้ว (แก้ว 100 ซีซี) ทำให้สมองส่วนความจำฝ่อ (hippocampal atrophy)

  • มลภาวะทางอากาศ (air pollution)

เช่น ฝุ่น PM 2.5 ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ สัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และโรคอัลไซเมอร์ การศึกษาพบว่าฝุ่น PM2.5 ที่เพิ่มขึ้น 1 µg/m³ เพิ่มโอกาสสมองเสื่อมมากขึ้น 1.6 เท่า

  • อุบัติเหตุต่อสมอง (head injury)

ทำให้เกิดการสะสมโปรตีนชนิด Tau ผิดปกติในบริเวณสมองส่วนความจำ hippocampus การศึกษาพบว่าอุบัติเหตุทางสมอง 1 ครั้ง เพิ่มโอกาสสมองเสื่อม 1.2 เท่า หากเกิดอุบัติเหตุทางสมองมากกว่า 5 ครึ้งขั้นไป เพิ่มความเสี่ยงเป็น 2.8 เท่า

  • ขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (infrequent social contact)

การศึกษาในประเทศญี่ปุ่น พบว่าการมีคู่สมรส ลูกหลาน เพื่อนมาเยี่ยมเยียน การทำงานหรือร่วมกิจกรรมทางสังคม ลดโอกาสเกิดโรคสมองเสื่อมได้ร้อยละ 46 เทียบกับกลุ่มที่มี social isolation

  • การศึกษาน้อย (less education)

การเรียนหนังสือในวัยเด็กจนถึงอายุ 20 ปี ช่วยลดโอกาสเกิดสมองเสื่อม สำหรับผู้สูงวัยควรมีกิจกรรมฝึกสมอง เช่น เล่นเกมส์ อ่านหนังสือ ฝึกแก้ไขปัญหา รวมถึง การเกษียณอายุช้าลง ช่วยให้สมองเสื่อมช้าลง

  • น้ำหนักเกิน (obesity)

ดัชนีมวลกายมากกว่า 30 ขึ้นไป ในช่วงอายุ 35-65 ปี เพิ่มความเสี่ยงสมองเสื่อมตอนอายุมากขึ้น 1.3 เท่าเทียบกับคนน้ำหนักปกติ และการลดน้ำหนักช่วยให้สมาธิและความจำดีขึ้น

  • ความดันสูง (hypertension)

การควบคุมความดันตัวบน (systolic blood pressure) น้อยกว่า 130 มม.ปรอท ตั้งแต่อายุ 40 ปี ช่วยลดการเกิดสมองเสื่อมได้

  • โรคเบาหวาน (diabetes)

ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 1.6 เท่าเมื่อเทียบกับคนทั่วไป โดยเฉพาะถ้าเริ่มเป็นเบาหวานตั้งแต่อายุน้อย ควรปรับพฤติกรรมเสี่ยงโรคเบาหวาน เพราะปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลว่ายารักษาโรคเบาหวานสามารถลดโอกาสเกิดโรคสมองเสื่อมได้

  • โรคซึมเศร้า (depression)

ผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป ที่เป็นโรคซึมเศร้ามีโอกาสสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า และยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม SSRI (serotonin reuptake inhibitor) ลดโอกาสสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้าได้

  • การสูญเสียการได้ยิน (hearing impairment)

เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถรักษาได้แต่อาจถูกละเลย พบว่าการได้ยินลดลง 10 เดซิเบล เพิ่มโอกาสโรคสมองเสื่อม 1.3 เท่า เพราะเสียการกระตุ้นสมอง กระตุ้นความคิด ขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การใส่เครื่องช่วยฟัง ช่วยแก้ไขปัญหาการได้ยิน อย่างไรก็ตามอาจต้องใช้ความพยายามในการปรับตัว ทั้งนี้ครอบครัวลูกหลานควรช่วยสนับสนุน ให้กำลังใจ ปรับเปลี่ยนเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสม ตามคำแนะนำแพทย์


ปัจจัยเสี่ยง 12 ข้อหลีกเลี่ยงไม่ยาก เริ่มทำวันนี้ เพื่อวันหน้าเราจะเป็นผู้สูงวัยที่แข็งแรงและช่วยเหลือตนเองได้อย่างดี


แหล่งที่มา คณะบรรณาธิการ วารสาร Lancet ปีพศ. 2563 (https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32738937/

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. รับพร  ทักษิณวราจาร

พญ. รับพร ทักษิณวราจาร

ศูนย์สมองและระบบประสาท

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital