บทความสุขภาพ

Knowledge

โรคมะเร็ง

เมื่อผลการตรวจเลือดของท่านพบว่าระดับสารบ่งชี้มะเร็งในทางเดินอาหาร ( CEA) ซึ่งมีผลเป็นปกติอาจไม่ได้เป็นสิ่งตัดสินว่าท่านไม่มีโรค เพราะเนื้องอกหรือมะเร็งของอวัยวะใด อวัยวะหนึ่ง อาจไม่ได้สร้างสารเคมีที่สามารถตรวจได้จากระดับเลือดเหมือนกันทั้งหมด


ดังนั้นหากท่านอายุ 50 ปีขึ้นไป หรืออายุหน้อยกว่า 50 ปี แต่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง หรือมีอาการผิดปกติที่อาจบ่งบอกถึงโรคมะเร็ง เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลงผิดปกติ ปวดท้องเรื้อรัง กลืนอาหารลำบาก ท้องโต คลำพบก้นในช่องท้อง การขับถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไปจากเดิม อุจจาระมีเลือดปน


ท่านควรได้รับการตรวจโดยการส่องกล้องกระเพาะอาหาร และลำไส้ใหญ่ (Gastroscope & Colonoscope) ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะสามารถตรวจพบความผิดปกติของเนื้องอกได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มที่มีขนาดเล็กแล้วสามารถตัดชิ้นเนื้อที่สงสัยว่าผิดปกติทิ้งไปได้ผ่านเครื่องมือที่สอดสายเข้าไปในสายของกล้องได้อย่างปลอดภัย


ในปัจจุบันนี้มีวิธีการตรวจลำไส้ใหญ่โดยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เฉพาะส่วนของลำไส้ใหญ่ (CT Colonoscope) แล้วนำภาพที่ได้จากการตรวจไปสร้างภาพ 3 มิติ ทำให้ได้ภาพเสมือนการตรวจโดยการส่องกล้อง ทั้งนี้วิธีการดังกล่าว มีข้อจำกัดตรงที่เมื่อตรวจพบความผิดปกติจะไม่สามารถตัดชิ้นเนื้อออกมาตรวจสอบได้ การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ จึงถือได้ว่าเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับที่พบว่ามีอาการผิดปกติ และต้องการตรวจเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้นโดยไม่ต้องตรวจด้วยวิธีการส่องกล้อง




บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนให้หายดี ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สัญญาณเตือนที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

เนื้องอกมดลูก อันตรายใกล้ตัวของผู้หญิงที่ไม่ควรมองข้าม

เนื้องอกมดลูก มีสาเหตุมาจากเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกเจริญผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่แสดงอาการ และผู้ป่วยบางส่วนอาจมีอาการปวดท้องน้อยรุนแรง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย

ต่อมลูกหมากโต (BHP) อาการเป็นอย่างไร รักษาวิธีไหนได้บ้าง?

โรคต่อมลูกหมากโต (BPH) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากขยายใหญ่ขึ้น ส่งผลให้ปัสสาวะติดขัดและกระทบต่อคุณภาพชีวิต มักพบได้บ่อยในผู้ชายวัยกลางคนอายุ 50 ปีขึ้นไป

รู้ทันอาการริดสีดวงทวาร กับพฤติกรรมเสี่ยงที่ต้องระมัดระวัง

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital