บทความสุขภาพ

Knowledge

เตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องผ่าตัดต้อกระจก

พญ. ชญาตา เหลี่ยมศิริเจริญ

ต้อกระจก คือ ภาวะเลนส์ตาขุ่น ทำให้การมองเห็นภาพมัวลง สามารถรักษาได้โดยผ่าตัดเอาเลนส์ตาที่ขุ่นออกและใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทน


การผ่าตัดต้อกระจก สามารถทำได้ 2 วิธี


  1. การผ่าตัดเปิดแผลใหญ่ เป็นวิธีดั่งเดิม โดยเปิดแผลกว้างประมาณ 12-13 มม. เพื่อเอาเลนส์ที่ขุ่นออก และใส่เลนส์ตาเทียมเข้าไป จากนั้นจึงเย็บปิดแผล ระยะเวลาพักฟื้น 4-6 สัปดาห์ จึงจะมองเห็นชัด
  2. การผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เป็นการผ่าตัดแบบใหม่ ซึ่งจะเปิดแผลเล็กๆที่กระจก ประมาณ 3 มม. ใช้เครื่องมือสลายและดูดต้อกระจกออก และใส่เลนส์ตาเทียม โดยไม่ต้องมีการเย็บปิดแผล วิธีนี้สามารถกลับมาใช้สายตาได้ภายใน 2-3 วัน

***เมื่อแพทย์ตรวจพบว่า ผู้ป่วยเป็นต้อกระจก จะส่งผู้ป่วยไปขยายม่านตา เพื่อตรวจจอปรสาทตา ถ้าจอประสาทตาปกติ จึงพิจารณาเลือกวิธีการผ่าตัด


cataract-surgery-1.jpg

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด


  1. ฝึกนอนหงาย โดยมีผ้าคลุมบริเวณใบหน้า นานประมาณ 20-30 นาที เพื่อให้หายใจใต้ผ้าคลุมจนชิน เนื่องจากตอนผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องนอนคลุมผ้าในลักษณะคล้ายกัน
  2. ในวันผ่าตัด อาบน้ำสระผม ล้างหน้า ก่อนมาโรงพยาบาล
  3. งดแป้ง ครีม หรือแต่งหน้า
  4. รับประทานอาหารเช้าและยาโรคประจำตัวตามปกติ ยกเว้น ยาที่แพทย์สั่งให้งด เช่น แอสไพริน หรือ ยาละลายลิ่มเลือด
  5. ถอดของมีค่า เครื่องประดับ ฟันปลอมหากมีอาหารผิดปกติเกิดขึ้น เช่น ตาแดง เคืองตา มีขี้ตา หรือเป็นหวัด ไอ จาม กรุณาแจ้งแพทย์ หรือพยายาล เพื่อรักษาให้หายก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  6. ในวันผ่าตัด ควรมีญาติหรือเพื่อนมาด้วยอย่างน้อย 1 คน เนื่องจากผู้ป่วยจะต้องปิดตาข้างที่ผ่าตัดกลับบ้าน

การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดต้อกระจก


  1. ขณะตื่น สวมแว่นกันแดดหรือแว่นสายตาตลอดเวลา เพื่อป้องกันอุบัติเหตุกระทบกระแทก หากไม่มีให้ครอบตาด้วยฝาครอบตาที่ รพ.จัดให้
  2. ขณะนอนหลับ ให้ใช้ฝาครอบตาก่อนเข้านอนทุกคืน เพื่อป้องกันการขยี้ตาโดยไม่รู้สึกตัว
  3. ควรนอนหงายเป็นหลัก แต่สามารถนอนตะแคงได้โดยเอาตาข้างที่ผ่าตัดขึ้นด้านบน
  4. อ่านหนังสือและดูโทรทัศน์ได้ ควรหยุดพักเมื่อรู้สึกแสบตา
  5. สามารถทำกิจวัตรประจำวันเบาๆได้ เช่น เดินเล่น หรือ ไปทานอาหารนอกบ้าน แต่ไม่ควรก้มศีรษะต่ำกว่าเอว
  6. ไม่ควรยกของหนัก หลีกเลี่ยงการไอ จาม เบ่งอย่างรุนแรง ห้ามขยี้ตา และระวังการลื่นหกล้ม
  7. อาบน้ำได้ โดยไม่ให้น้ำเข้าตา การสระผมควรนอนสระที่ร้าน หรือให้ผู้อื่นสระให้ เพื่อใม่ให้น้ำไหลเข้าตา
  8. สามารถแปรงฟัน และล้างใบหน้าครึ่งล่างได้ โดยไม่ควรให้น้ำกระเด็นเข้าตา
  9. ทำความสะอาดบริเวณเปลือกตาและใบหน้า โดยใช้สำลีหรือผ้าสะอาดชุบน้ำ เช็ดหน้าและเปลือกตาจากหัวตาไปหางตา
  10. หลีกเลี่ยงการทำสวน รดน้ำ พรวนดิน ทำความสะอาดบ้าน ทำอาหารที่มีไอหรือควัน 7 วัน
  11. หยอดยาตามแพทย์สั่ง และมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
  12. ปฏิบัติตัวดังกล่าวเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ หลังผ่าตัดต้อกระจก
  13. อาหารผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ด่วน คือ
    1. ปวดตา เคืองตามาก หนังตาบวม ตาแดง ตาบวมมากขึ้น
    2. ขี้ตามากขึ้น มีสีเหลืองหรือสีเขียว
    3. ตามัวลง
    4. ถูกกระแทกบริเวณข้างที่ผ่าตัดย

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. ชญาตา เหลี่ยมศิริเจริญ

พญ. ชญาตา เหลี่ยมศิริเจริญ

ศูนย์จักษุ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital