บทความสุขภาพ

Knowledge

ICL เลนส์เสริม ทางเลือกของการแก้ไขสายตา

พญ. อรทัย สุวจนกรณ์

ในปัจจุบัน การแก้ไขปัญหาสายตามีหลากหลายวิธี เช่น การใช้แว่นตา, คอนแทคเลนส์ หรือการทำเลสิค (LASIK) แต่สำหรับบางคนที่มีข้อจำกัดไม่สามารถทำเลสิคได้ เช่น ผู้ที่มีสายตาสั้น, สายตาเอียงมากเกินไป หรือผู้ที่มีความหนาของกระจกตาไม่เพียงพอ ICL (Implantable Collamer Lens) เป็นทางเลือกที่อาจจะช่วยแก้ปัญหาได้


ทำความรู้จัก ICL


ICL (Implantable Collamer Lens) คือเลนส์เสริม ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขสายตาผิดปกติได้ทั้งสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง เป็นวัสดุทางการแพทย์ที่ทำจาก Collamer ซึ่งประกอบด้วยคอนลาเจน (Collagen) และโคโพลีเมอร์ (Copolymer) มีความปลอดภัยสูง เข้ากันได้ดีกับร่างกาย จึงไม่ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากระบบภูมิคุ้มกัน


เลนส์เสริม ICL จะถูกสั่งตัดพิเศษ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพตาของแต่ละคน จักษุแพทย์จะทำการใส่ ICL เข้าไปในตาที่ตำแหน่งหลังม่านตา หน้าต่อเลนส์แก้วตาเพื่อช่วยแก้ไขสายตา โดย ICL จะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และสามารถอยู่ในดวงตาไปได้ตลอด อย่างไรก็ตามจักษุแพทย์สามารถนำเลนส์นี้ออกหรือเปลี่ยนได้ (Removable/Reversible) หากมีความจำเป็น โดยไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเนื้อเยื่อตาถาวร


ICL เหมาะกับใคร


  1. ผู้ที่อายุ 21-45 ปี
  2. ผู้ที่มีสายตาคงที่แล้ว (คือเปลี่ยนแปลงไม่เกิน 0.5D ใน 1ปี )
  3. ผู้ที่มีสายตาสั้น ยาว เอียงมากๆ
  4. ผู้ที่มีกระจกตาบาง
  5. ผู้ที่มีตาแห้งมาก
  6. ผู้ที่ไม่มีโรคตาอย่างอื่น เช่น ต้อกระจก ต้อหิน ม่านตาอักเสบ เป็นต้น
  7. ผู้ที่มีช่องหน้าม่านตากว้างเพียงพอ
  8. ผู้ที่ไม่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
  9. ผู้ที่ไม่ต้องการทำเลสิค

ข้อดีของ ICL


  1. สามารถแก้ไขค่าสายตาสั้น ยาว หรือเอียงมากได้ โดยเฉพาะในกรณีที่มีค่าสายตาสูงมากจนไม่สามารถทำเลสิคได้ ซึ่ง ICL สามารถแก้ไขสายตาสั้นได้ถึง -18.0D , สายตายาวได้ถึง +10.0D และสายตาเอียงได้ถึง 6.0D
  2. ไม่มีการสูญเสียเนื้อเยื่อกระจกตา โดยการใส่ ICL ไม่มีการปรับแต่งเนื้อเยื่อกระจกตา จึงไม่เสียโครงสร้างถาวรของกระจกตาและไม่ทำให้กระจกตาบางลงเหมือนการทำเลสิค
  3. แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว
  4. โอกาสเกิดตาแห้งหลังทำน้อยกว่าการทำเลสิค เนื่องจาก ICL ไม่ได้แก้ไขที่กระจกตาโดยตรง จึงไม่รบกวนเส้นประสาทตาที่กระจกตา
  5. สามารถถอดออกได้ (Removable) โดยทั่วไปเมื่อใส่เลนส์เสริม ICL แล้ว สามารถอยู่ในตาไปได้ตลอด แต่สามารถถอดออกหรือเปลี่ยนเลนส์ได้หากมีความจำเป็น หรือในอนาคตอายุมากขึ้น เกิดภาวะต้อกระจก สามารถนำ ICL ออกและผ่าตัดต้อกระจกได้ในคราวเดียวกัน
  6. คุณภาพการมองเห็นคมชัด
  7. โอกาสเกิดแสงกระจายน้อยกว่าการทำเลสิค
  8. สามารถกรองแสง UV ซึ่งเป็นอันตรายต่อดวงตาได้

ข้อจำกัด และผลข้างเคียงของ ICL


  1. ต้องมีช่องหน้าม่านตากว้างพอที่จะใส่เลนส์เสริม ICL ซึ่งต้องตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ และประเมินโดยจักษุแพทย์
  2. เนื่องจาก ICL เป็นเลนส์ที่ส่งตัดพิเศษเฉพาะบุคคล จึงอาจต้องใช้ระยะเวลาในการรอตัดเลนส์
  3. มีโอกาสเกิดผลข้างเคียง เช่น ความดันตาสูงชั่วคราวหลังผ่าตัด และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในตาได้ ถึงแม้จะมีโอกาสน้อย แต่มีความจำเป็นต้องดูแลความสะอาด และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

กระบวนการการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL มีขั้นตอนดังนี้:


  1. การประเมินสภาพดวงตา: จักษุแพทย์จะทำการวัดค่าสายตาและประเมินสภาพดวงตาอย่างละเอียด เพื่อเลือกขนาดของเลนส์ ICL ที่เหมาะสม และสั่งตัดเลนส์พิเศษเฉพาะบุคคล
  2. การเตรียมการผ่าตัด: ก่อนการผ่าตัดจะมีการหยอดยาชาและยาขยายม่านตาเพื่อเตรียมดวงตาให้พร้อม
  3. การฝังเลนส์ ICL: เลนส์ ICL จะถูกนำเข้าไปในดวงตาผ่านทางแผลเล็กๆ ที่บริเวณขอบกระจกตา โดยจะวางเลนส์เสริมไว้บริเวณหลังม่านตา หน้าเลนส์แก้วตา กระบวนการทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที โดยแผลผ่าตัดจะสมานตัวได้โดยไม่จำเป็นต้องเย็บแผล
  4. การติดตามหลังการผ่าตัด: หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องมีการตรวจติดตามผลเป็นระยะ ตามคำแนะนำของแพทย์

สรุป


ICL (Implantable Collamer Lens) เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยสำหรับการแก้ไขปัญหาสายตา โดยเฉพาะในกรณีที่เลสิคไม่สามารถทำได้ การใส่เลนส์เสริม ICL ช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาสายตากลับมามองเห็นชัดเจนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หากสนใจเข้ารับการรักษา สามารถติดต่อเข้ารับการปรึกษากับจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแนวทางการรักษาที่เหมาะสมให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับดวงตาของคุณต่อไป

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. อรทัย  สุวจนกรณ์

พญ. อรทัย สุวจนกรณ์

ศูนย์จักษุ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital