บทความสุขภาพ

Knowledge

รู้หรือไม่…ไข้เลือดออกอันตรายกว่าที่คิด

พญ. นงนภัส เก้าเอี้ยน

เมื่อพูดถึง ฝน ทุกคนก็จะนึกถึงผลกระทบที่ตามมาอีกหลายอย่าง น้ำท่วมขัง เป็นแหล่งกำเนิดชั้นดีที่ก่อให้เกิด ยุง เพราะยุงเป็นพาหะที่สร้างโรคไข้เลือดออก


ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมานาน สามารถเกิดโรคได้ทุกเพศทุกวัย และพบบ่อยในเด็ก โดยโรคไข้เลือดออกมักมีการระบาดมากในช่วงฤดูฝน และอาจจะนำไปสู่การสูญเสียชีวิตได้ แต่เมื่อกล่าวถึงอันตรายของไข้เลือดออกนั้น ส่วนใหญ่ไม่มีอันตรายถึงชีวิต หากพักผ่อนอย่างเพียงพอ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้ไข้ลดลง และฟื้นตัวได้เร็ว จะมีเพียงส่วนน้อยกว่าร้อยละ 5 ที่จะมีภาวะช็อกจากการรั่วของน้ำออกนอกเส้นเลือด และสิ่งที่น่ากังวล คือ หากเลือดออกในทางเดินอาหารหรือเลือดออกในสมองจะมีภาวะเสี่ยงถึงแก่ชีวิตได้


พญ.นงนภัส เก้าเอี้ยน กล่าวว่า สาเหตุหลักของโรคไข้เลือดออก คือ เชื้อไวรัสเดงกี ที่มีพาหะนำโรคมาจากการโดนยุงลายกัดในตอนกลางวัน ทั้งนี้โรคไข้เลือดออกยังไม่มียารักษาเฉพาะ ไม่มีวัคซีนป้องกัน และที่สำคัญ ยุงลายที่เป็นพาหะของโรคยังไม่สูญพันธุ์ โรคนี้จึงยังไม่ล้าสมัย หากพบว่ามีอาการ ไข้สูงลอย คลื่นไส้ ปวดศีรษะ อาเจียน มีจุดเลือดออกตามท้องแขน ใน 1-2 วัน อาจจะต้องมาพบแพทย์เพื่อตรวจเลือดวินิจฉัยโรค เนื่องจากอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นได้ในหลายโรค ทั้งนี้เมื่อพบว่าเป็นโรคไข้เลือดออก ควรจะต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดเพื่อตรวจเช็คปริมาณเกล็ดเลือดทุกวัน และติดตามผลไม่ให้เกิดภาวะช็อกจากการมีเกล็ดเลือดต่ำ ประคองอาการจนกว่าไข้ลดลง ปริมาณเกล็ดเลือดเข้าสู่ภาวะปกติ ก็จะสามารถกลับบ้านได้ แต่หากพบว่าเป็นไข้เลือกออกครั้งที่สอง อาการอาจจะหนักขึ้นเนื่องจากเชื้อไวรัสเดงกีมี 4สายพันธุ์ เมื่อเคยได้รับการติดเชื้อในครั้งแรกแล้ว ร่างกายจะมีการจดจำเชื้อไวรัสเดงกีสายพันธุ์ที่เคยเป็นเอาไว้


หากได้รับเชื้อในครั้งที่สอง ร่างกายจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันหรือ Antibody จำนวนมากขึ้นมาเพื่อต่อต้านเชื้อเดงกีสายพันธุ์เดิม เพราะโครงสร้างของเชื้อคล้ายคลึงกัน แต่เนื่องจากผู้ป่วยได้รับเชื้อคนละสายพันธุ์กับการเป็นไข้เลือดออกในครั้งแรก จึงทำให้ไม่สามารถทำลายเชื้อได้ และการสร้างภูมิคุ้มกันหรือ Antibody ที่มากเกินนี้ก็สามารถทำลายเซลล์ของร่างกายได้มากขึ้น จึงทำให้เกิดอาการที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นกว่าการเป็นไข้เลือดออกในครั้งแรก


ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคยังเป็นวิธีที่ดีที่สุด และการป้องกันก็ต้องเริ่มที่พาหะนำโรคก็คือ ยุงลาย ที่ชอบวางไข่ในน้ำสะอาด น้ำนิ่งตามภาชนะต่างๆ รอบบ้าน การคว่ำภาชนะหรือใช้ภาชนะที่มีฝาปิด จะช่วยป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ได้ สำหรับการป้องกันตนเองไม่ให้โดนยุงกัด ควรใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด นอนกางมุ้ง หรือใช้ยาทากันยุง



เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. นงนภัส เก้าเอี้ยน

พญ. นงนภัส เก้าเอี้ยน

ศูนย์กุมารเวชกรรม

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital