บทความสุขภาพ

Knowledge

รู้ทัน ป้องกันได้ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A

อาการหนาวๆร้อนๆ เจ็บปวดตามเนื้อตัวหรือปวดศีรษะมีไข้ อาการเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณบอกเหตุถึงโรคภัยไข้เจ็บ หรือที่เรียกกันคุ้นหูว่า ไข้หวัดใหญ่


ซึ่งเมื่อเป็นแล้วมักจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกเพศทุกวัยและสามารถพบได้ตลอดทั้งปี ในบางปีอาจถึงขั้นระบาด ทั้งนี้ไข้หวัดใหญ่อาจมีอาการเกิดขึ้นโดยเฉียบพลัน อย่างที่เราไม่เคยระวังตัวเลยก็ได้ เพื่อเป็นการป้องและรู้เท่าทันโรคให้เราห่างไกลจากไข้หวัดใหญ่ วันนี้เรามาทำความรู้จักกันค่ะ


ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ A H1N1 เป็นโรคติดต่อระหว่างคนสู่คน อาการจะคล้ายไข้หวัดทั่วไป แต่ไข้หวัดใหญ่ H1N1 จะรุนแรงมากกว่า โดยสังเกตอาการได้ดังนี้ มีไข้สูงราว 38 องศาเซลเซียสหรือมากกว่านั้น ปวด เมื่อยร่างกาย ตามข้อ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ปอดบวม เบื่ออาหาร บางรายมีอาการ ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน สามารถติดต่อกันผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย การไอหรือจาม


ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง หายป่วยได้โดยไม่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล อาการจะทุเลาและหายป่วยภายใน 5-7 วัน แต่ในบางราย โดยเฉพาะผู้มีความเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ หอบหืด โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคอ้วน อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง ควรรีบพบแพทย์


การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่


  • ปิดปากปิดจมูกเมื่อป่วย ไอ จามโดยใช้กระดาษทิชชู่ สามหน้ากากอนามัย หรือไอใส่ต้นแขนตนเอง
  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ ก่อนรับประทานอาหาร หลังไอจาม สั่งน้ำมูก หรือจับต้องสิ่งของหรือพื้นผิวที่มีคนสัมผัส
  • เลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ที่มีอาการป่วย มีไข้ ไอ จาม เลี่ยงสถานที่ๆคนมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก (โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาด)
  • หยุดงาน หยุดเรียน หยุดกิจกรรมกับผู้อื่นเมื่อป่วย เพื่อให้หายป่วยเร็วและไม่แพร่เชื้อให้คนอื่น

สำหรับสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ในปี 2562 ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค มีรายงานผู้ป่วย 390,733 ราย เสียชีวิต 27 ราย กลุ่มอายุที่พบอัตราป่วยสูงสุด คือ กลุ่มเด็กเล็กและเด็กวัยเรียน ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด ได้แก่ ภาคกลาง รองลงมาเป็นภาคเหนือ ภาคตะวันออกฉียงเหนือ และภาคใต้ และจำนวนผู้ป่วยในปี 2562 จะมากกว่า ปี 2561 แต่อัตรการเสียชีวิตน้อยลง เนื่องจากที่ผ่านมามีการรณรงค์ฉีดวัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง พร้อมทั้งมีการรักษาด้วยยาต้านไวรัส

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital