บทความสุขภาพ

Knowledge

ความรู้เรื่องโรคอีโบลา

ไวรัสอีโบลา จัดอยู่ในกลุ่มโรคชนิดเดียวกับข้เลือดออก ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มีความรุนแรง ถึงแม้ปัจจุบันยังไม่พบเชื้อไวรัสนี้ในประเทศไทย แต่หากได้รับเชื้อ อาการอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ การระบาดของโรคอีโบลามีอัตราป่วยตายที่สูงได้ถึงร้อยละ 90 โดยพื้นที่การระบาดของโรคนี้พบมากในแถบแอฟริกา เชื้อไวรัสนี้แพร่จากสัตว์ป่ามาสู่คน จากนั้นจึงแพร่ระบาดต่อไปในหมู่คนโดยการแพร่โรคจากคนสู่คน ผู้ป่วยโรคนี้ที่มีอาการรุนแรงจาเป็นต้องดูแลแบบประคับประคองอย่างเข้มงวด ยังไม่มียาหรือวัคซีนจำเพาะชนิดใดๆ ที่อนุญาตให้ขึ้นทะเบียนใช้เพื่อรักษาหรือป้องกันทั้งในคนและในสัตว์


อาการของโรค และระยะฟักตัว


ระยะฟักตัวประมาณ 2 – 21 วัน ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาจะมีไข้สูงทันทีทันใด อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ และเจ็บคอ ตามด้วยอาการ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว (maculopapular rash) ในรายที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต จะพบมีเลือดออกง่าย โดยเกิดทั้งเลือดออกภายในและภายนอกร่างกาย (internal and external bleeding) มักเกิดร่วมกับภาวะตับถูกทาลาย ไตวาย หรือก่อให้เกิดอาการของระบบประสาทส่วนกลาง ช็อก และเสียชีวิตได้


การวินิจฉัยโรค


โดยการตรวจ antigen-RNA หรือ genes ของไวรัสจากตัวอย่างเลือด หรือ ตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัส หรือ แยกเพาะเชื้อไวรัส การตรวจตัวอย่างเหล่านี้ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาก ต้องทาในห้องปฎิบัติการที่มีการป้องกันระดับสูง ระดับ 4


การรักษา


ปัจจุบันยังไม่มียาหรือวัคซีนที่รักษาโรคอีโบลาได้ การรักษาจึงเป็นการประคับประคองหรือควบคุมอาการ เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่มีความรุนแรงมาก จึงต้องทำการรักษาในโรงพยาบาลและจำเป็นต้องมีการแยกผู้ป่วยเพื่อลดความเสี่ยงในการระบาดของโรค โดยแพทย์จะรักษาตามอาการ ใช้ยาต้านเชื้อโรค เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน


สำหรับการแพร่ของโรค พบการติดต่อของเชื้อไวรัสอีโบลาสู่คน โดยการสัมผัสโดยตรงกับเลือดหรือเครื่องในของลิงที่ติดเชื้อ หรือเกิดขณะจัดการหรือชาแหละสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ตาย โดยยังไม่พบรายงานจากการติดเชื้อผ่านทางละอองฝอยที่ลอยในอากาศ และสำหรับการติดต่อจากคนสู่คน เกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือดที่ติดเชื้อ สารคัดหลั่ง อวัยวะ หรือน้าอสุจิ


นอกจากนี้ การติดเชื้อในโรงพยาบาลก็พบได้บ่อยผ่านทางเข็มและหลอดฉีดยาที่ปนเปื้อนเชื้อ และยังพบการแพร่กระจายเชื้ออีโบลาในพิธีศพได้บ่อย เนื่องจากญาติผู้เสียชีวิตอาจมีการสัมผัสโดยตรงกับร่างกายของผู้เสียชีวิต


ระยะติดต่อของโรค


  • จะไม่มีการแพร่เชื้อก่อนระยะมีไข้ และจะแพร่เชื้อเพิ่มมากขึ้นในระยะที่มีอาการป่วยนานเท่าที่เลือดและสารคัดหลั่งยังมีไวรัสอยู่
  • มาตรการป้องกันโรค
    • ยังไม่มีวัคซีนหรือการรักษาแบบเฉพาะเจาะจงสาหรับโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ควรป้องกันการมีเพศสัมพันธ์หลังการเจ็บป่วยเป็นเวลา 3 เดือน หรือจนกระทั่งตรวจไม่พบไวรัสในน้าอสุจิ

มาตรการควบคุมการระบาด


  • แยกผู้ป่วย และเน้นมาตรการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด
  • ติดตามผู้สัมผัสทั้งหมด รวมทั้งผู้ที่อาจจะสัมผัสกับผู้สัมผัสใกล้ชิด โดยต้องตรวจอุณหภูมิร่างกายวันละ 2 ครั้ง เมื่อมีไข้ต้องรีบมาโรงพยาบาลและเข้าห้องแยกทันที •เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุกคน ต้องมีการแจ้ง/บอกให้ทราบ ถึงโรคและการติดต่อ เน้นวิธีการป้องกันขณะดูแลผู้ป่วย และการจัดการเลือด สิ่งคัดหลั่งจากผู้ป่วย

การเฝ้าระวังป้องกันโรค


สำหรับคนไทยที่เดินทางไปประเทศเสี่ยง ต้องระมัดระวัง ไม่ใกล้ชิด ผู้ป่วยหรือ ผู้ที่มีอาการสงสัย เมื่อเดินทางกลับประเทศไทย ต้องคอยสารวจตรววจตราตัวเองว่ามีไข้ หรือไม่ ถ้ามีไข้ ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที และให้ประวัติให้ละเอียดว่าไปที่ใดมาบ้างในช่วง 21 วันก่อนมีไข้ •สถานพยาบาล โดยเฉพาะรพ.เอกชน ที่รับตรวจชาวต่างประเทศ ควรเพิ่มการสอบถามประวัติการเดินทาง เมื่อพบชาวต่างประเทศมีอาการไข้มารับการรักษา โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางเข้าประเทศใหม่ๆ เมื่อมีผู้ป่วยสงสัย ต้องรีบแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบ

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital