บทความสุขภาพ

Knowledge

ด.เด็ก ดาวน์

กุมารเวช: ด.เด็ก ดาวน์


ด.เด็ก ดาวน์


ตัว ด.เด็ก ทำให้ผมนึกถึงเด็กที่เป็นดาวน์ โปรดสังเกตนะครับว่า คำว่า ดาวน์ นั้นมี น.หนู การันต์ มิได้เขียนว่า ดาว เฉยๆ ประเดี๋ยวจะทำให้คิดไปว่าผมกำลังจะเขียนถึงดาวจุฬา หรือดาวธรรมศาสตร์ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีหน้าตาจิ้มลิ้มสวยงามทั้งนั้น แต่เด็กดาวน์ที่ผมจะเขียนถึงนี้เป็นไปในทางตรงกันข้ามครับ เพราะจะเป็นเด็กที่มีปัญหาพิการมาแต่กำเนิด ผมเข้าใจว่าคุณท่านส่วนมากคงจะเคยเห็นเด็กดาวน์มาบ้างแล้วนะครับ เห็นหน้าปั๊บก็รู้เลยว่านี่แหละเด็กดาวน์ เพราะหน้าตาของเด็กดาวน์มีความคล้ายคลึงกันมากดุจดังเด็กแฝดกันมาเลยทีเดียว ฝรั่งเรียกหน้าตาเด็กดาวน์ว่าเป็นหน้าแบบชาวมองโกล จะเป็นเด็กชาติไหนๆ เมื่อเกิดมาเป็นดาวน์หน้าตาจะคล้ายกันทั้งสิ้น คือ ศีรษะเล็กแบน เพราะสมองมีขนาดเล็กตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นคับปาก และมักยื่นออกมานอกปาก ตัวเตี้ย มือสั้น มักมีโรคหัวใจพิการหรือ มักมีโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่


ลักษณะเหล่านี้แหละครับ ใครๆที่เคยเห็นก็จะบอกได้ทันทีแม้แต่เด็กแรกคลอด พอเห็นเด็กโผล่หน้าออกมาแพทย์หรือพยาบาลก็แทบจะบอกได้ทันทีว่าเป็นเด็กดาวน์ แต่ถ้าจะให้แน่ก็ต้องตรวจดูที่โครโมโซมครับ เพราะสาเหตุของการเป็นดาวน์นั้นเกิดขึ้นเพราะความผิดปกติของโครโมโซมนั่นเอง โดยปกติมนุษย์เรามีโครโมโซมทั้งหมด 46 ตัว ซึ่งแต่ละตัวก็จะมีลักษณะเฉพาะของมัน มันจะจับกันอยู่เป็นคู่ๆ คู่ใคร คู่มัน และโครโมโซมแต่ละตัวจะเป็นตัวนำรหัสชีวิต หรือสารพันธุกรรมนับเป็นล้านๆหน่วย เพื่อถ่ายทอดในการสืบสายพันธุ์กันต่อๆไป แต่ถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับโครโมโซมนั่นก็หมายความว่า ย่อมมีความผิดปกติทางพันธุกรรมเกิดขึ้น ความพิการของเด็กตั้งแต่กำเนิดก็จะเกิดขึ้นมาด้วย ดังเช่นกรณีของเด็กดาวน์ เป็นต้น ซึ่งมักจะพบว่าโครโมโซม คู่ที่ 21 มีจำนวนของโครโมโซมเพิ่มเข้ามาอีกหนึ่งตัว ทำให้แทนที่จะมีแค่ 46 ตัว กลับกลายเป็น 47 ตัว เรียกว่ามากตัวไปก็ไม่ดี ความผิดปกติชนิดนี้ พบได้บ่อยที่สุดมากกว่าเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ ที่เป็นต้นเหตุของเด็กดาวน์


ดังนั้นการตรวจโครโมโซม เพื่อหาว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ ตั้งแต่เด็กทารกยังอยู่ในครรภ์ของแม่จึงสามารถบอกได้ ถ้าหากชวนให้สงสัย และชวนให้ตรวจก็ควรจะได้รับการตรวจเป็นต้นว่า คุณแม่อายุมากแล้ว หรือเคยแท้งมาก่อนหลายครั้ง โดยเฉพาะการแท้งที่เกิดขึ้นเพราะตัวเด็กเองเป็นต้นเหตุ หากคุณมีลักษณะเข้าตามตำราแบบนี้ ก็ควรจะได้รับการตรวจดูโครโมโซมของทารกขณะที่ตั้งครรภ์ได้ประมาณห้าเดือน ด้วยการเจาะน้ำคร่ำเองเซลล์ของเด็กที่ปะปนอยู่ในน้ำคร่ำนั่นแหละมาตรวจหาโครโมโซม หากตรวจดูแล้วพบว่าปกติก็สบายใจไป แต่ถ้าพบว่าผิดปกติเด็กเป็นดาวน์แน่นอน ทีนี้ก็ต้องมานั่งคิดกันซีครับว่าจะทำอย่างไรกันต่อไป ซึ่งส่วนมากแล้วมักจะไม่ขอเอาไว้ โดยขอให้แพทย์ช่วยคลอดเพื่อสิ้นสุดการตั้งครรภ์เสียก่อนที่เด็กจะโตจนสามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปในโลกได้ แต่เอาละบางครั้งบางคราว และก็บ่อยไปที่คุณพ่อคุณแม่ไม่รู้ตัวมาก่อนว่าลูกในครรภ์เป็นเด็กดาวน์ พอคลอดออกมาแล้วถึงจะรู้ก็อย่าเพิ่งท้อถอย หรือเอาลูกของคุณไปทิ้งไว้ที่อื่น แต่คุณยังพอมีหนทางนะครับที่จะช่วยเหลือลูกของคุณให้สามารถอยู่ในสังคมต่อไปได้ โดยที่คุณอย่าได้รอช้า เมื่อลูกดาวน์ของคุณอายุได้เดือนสองเดือน ก็ขอให้คุณได้ไปปรึกษาที่โรงพยาบาลราชานุกูลของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งตั้งอยู่แถวดินแดง หรือต่างจังหวัดทุกภาคก็มีสถานที่ให้ความช่วยเหลืออยู่ เช่น ทางภาคเหนือที่เชียงใหม่ ภาคอีสานที่จังหวัดอุดรธานี ภาคใต้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช


หากคุณสงสัยว่าลูกคุณจะเป็นเด็กดาวน์ก็ขอได้โปรดปรึกษากับผู้ชำนาญการเสียก่อนนะครับ เพราะบางทีอาจจะไม่ใช่ก็ได้ อย่างกับเด็กคนหนึ่งที่พ่อแม่เข้าใจว่าเป็นปัญญาอ่อน ก็เลยเอาไปเข้าโรงเรียนปัญญาอ่อนแต่เหตุการณ์กลับตาลปัตร เพราะเมื่อแพทย์ได้ตรวจเด็กแล้วกลับกลายเป็นว่า เด็กมิได้ปัญญาอ่อนแต่อย่างใด แต่ตรงกันข้ามคุณหมอบอกว่าเด็กมีไอคิวสูงกว่าธรรมดาเข้าขั้นอัจฉริยะด้วยซ้ำไป รายการนี้เลยไม่รู้ว่า พ่อ แม่ หรือลูก ใครปัญญาอ่อนกันแน่…

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ รักษาใจเต้นผิดจังหวะ ให้กลับสู่ภาวะปกติ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) จะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เครื่องจะช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงกับระดับปกติอีกครั้ง

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital