บทความสุขภาพ

Knowledge

MIS-C (มิสซี) ภาวะอักเสบทั่วร่างกายในเด็ก หลังหายจากโควิด!!

พญ. นงนภัส เก้าเอี้ยน

กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก (Multisystem inflammatory syndrome in children; MIS-C) หรือเรียกว่า ภาวะมิสซี เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นในเด็ก หลังจากการติดเชื้อโควิด 19 ซึ่งแตกต่างจากอาการที่เกิดหลังป่วยโควิดหรือ “post covid” อาจมีอาการรุนแรงในหลายระบบของร่างกาย จนต้องเข้ารับการรักษาในไอซียู และอาจมีภาวะแทรกซ้อนทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นแม้ลูกติดโควิด และรักษาหายแล้ว พ่อแม่และผู้ปกครองควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด

Multisystem inflammatory syndrome in children (MIS-C) หรือ ภาวะมิสซี คืออะไร ?


Multisystem inflammatory syndrome in children (MIS-C) หรือ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก เป็นภาวะหลังจากที่เด็กติดโควิดแล้วมีเกิดอาการอักเสบในอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่สูงผิดปกติ อาจมีอาการคล้ายโรคคาวะซากิ เช่น มีไข้สูง ผื่น ตาแดง ปากแดง ซึ่งอาจมีอาการรุนแรงต้องเข้ารับการรักษาในไอซียู และอาจมีภาวะแทรกซ้อนทำให้เสียชีวิตได้


พบภาวะ มิสซี (MIS-C) เมื่อไหร่ ? หลังลูกหายจากโควิด


MIS-C มักเกิดขึ้น 2-6 สัปดาห์หลังจากเด็กและวัยรุ่นหายป่วยจากโควิด 19 อายุเฉลี่ยของเด็กที่มีรายงานคือ 8 ปี มักพบแถบประเทศยุโรป อเมริกาและอินเดีย ปัจจุบันภาวะนี้ยังพบได้น้อยในเด็กไทย


อาการของมิสซี (MIS-C) ที่พบในเด็กหลังติดโควิด


อาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะ MIS-C ได้แก่


  • มีไข้สูง เกิน 38 องศาเซลเซียส นานเกิน 24 ชั่วโมง
  • ตาแดง
  • ริมฝีปากแห้ง แดง ลิ้นแดงเป็นตุ่ม
  • ผื่นขึ้นตามตัว
  • มีอาการช็อค ความดันต่ำ
  • ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย
  • หายใจหอบ
  • ปวดศีรษะ ซึม

นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า ผู้ป่วยอาจเริ่มจากมีระบบการหายใจผิดปกติ บางอาการเทียบเคียงได้กับภาวะหัวใจล้มเหลว และพบค่าการอักเสบสูง


เด็กที่หายป่วยจากโควิด มีโอกาสพบภาวะมิสซี(MIS-C) มากน้อยแค่ไหน ?


จากรายงานมีโอกาสเกิด MIS C เพียง 0.14% ของผู้ป่วยเด็กที่เป็นโควิดทั้งหมด โอกาสในค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาและติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด


ความรุนแรงของภาวะมิสซี (MIS-C) ส่งผลอย่างไรกับร่างกายบ้าง ?


ภาวะ MIS-C อาจก่อให้เกิดอาการอักเสบในอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ทำให้เกิดอาการผิดปกติในหลายระบบ ได้แก่


  1. ระบบหัวใจและหลอดเลือด : ทำให้มีอาการช็อค ความดันต่ำ หัวใจอักเสบ ลิ้นหัวใจอักเสบ เส้นเลือดหัวใจผิดปกติ
  2. ระบบทางเดินหายใจ : ปอดอักเสบ กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน ลิ่มเลือดอุดตันในปอด
  3. ระบบทางเดินอาหาร : ท้องเสีย ท้องอืด อาเจียน ปวดท้อง เลือดออกทางเดินอาหาร หรือตับอักเสบ
  4. ผิวหนัง : ผิวหนังแดง เยื่อบุอักเสบ เป็นผื่น
  5. ระบบประสาท : มีอาการชัก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  6. ระบบเลือด : เกิดการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
  7. ไต : ไตวายฉับพลัน

การป้องกัน และการดูแลรักษาเมื่อลูกเกิดภาวะมิสซี (MIS-C) หลังหายจากโควิด


การดูแลรักษาผู้ป่วย MIS-C ในขณะนี้ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน เนื่องจากภาวะ MIS-C เป็นโรคที่พบใหม่ ซึ่งอาจทำให้มีอันตรายต่ออวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะหัวใจและระบบไหลเวียนของโลหิต


จากรายงานส่วนใหญ่ ให้การรักษาโดยใช้แนวทางเช่นเดียวกับ การรักษา Kawasaki disease แต่ยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ หลักในการรักษา ประกอบด้วย


  1. การให้การรักษาแบบประคับประคอง
  2. การให้ยากลุ่มต้านการอักเสบ

ผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายที่จะเป็นโรคนี้ (พิจารณาจากอาการต่าง ๆ ที่กล่าวไว้เบื้องต้น) ควรไปพบแพทย์ ซึ่งจะพิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป


สรุป


Multisystem inflammatory syndrome in children (MIS-C) หรือ ภาวะมิสซี เป็นกลุ่มอาการอักเสบที่เกิดขึ้นในหลายระบบของร่างกายในเด็ก อาจก่อให้เกิดภาวะอักเสบในเด็กได้ในหลายระบบของร่างกาย และทำให้มีอาการต่าง ๆ เช่น มีไข้สูง ผื่น ตาแดง ปากแดง ซึ่งบางครั้งอาจมีอาการรุนแรงจนต้องเข้ารักษาในไอซียู หรือมีภาวะแทรกซ้อนทำให้เสียชีวิตได้


อย่างไรก็ตาม ขอให้ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้อง อย่าพึ่งตื่นตระหนก ให้ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดต่อไป และหากพิจารณาจากอาการต่าง ๆ ที่กล่าวไว้เบื้องต้น พบว่าใครอาจมีภาวะมิสซี (MIS-C) ควรพาไปพบแพทย์ ซึ่งจะพิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป


ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. นงนภัส เก้าเอี้ยน

พญ. นงนภัส เก้าเอี้ยน

ศูนย์กุมารเวชกรรม

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital