บทความสุขภาพ

Knowledge

Sleep test ตรวจความผิดปกติการนอนหลับ นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ พร้อมแบบทดสอบออนไลน์

พญ. เพชรรัตน์ แสงทอง

Sleep test ตรวจความผิดปกติการนอนหลับ ทั้งนอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ พร้อมแบบทดสอบ


“นอนเยอะแต่ยังรู้สึกนอนไม่พอ ง่วงทั้งวัน”

“นอน ๆ อยู่แล้วสะดุ้งตอนกลางคืนบ่อย ๆ”

“นั่งทำงานแล้วหลับบ่อย ๆ”

“นอนตื่นมาแล้วมีแผลตามร่างกายโดยจำไม่ได้ว่าทำอะไรมา”

“ขับรถหลับใน เกิดอุบัติเหตุ”


หลาย ๆ คนอาจมีอาการเหล่านี้ซึ่งเป็นปัญหาการนอนหลับที่อาจสร้างปัญหากับการใช้ชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการทำงาน เพราะการนอนไม่ใช่แค่การพักผ่อน แต่การนอนที่มีคุณภาพจะทำให้มีสุขภาพดีตามมาด้วย ดังนั้นความผิดปกติของการนอนจึงเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม การตรวจการนอนหลับ หรือ sleep test เป็นการตรวจที่จะบอกถึงการทำงานของร่างกายในระหว่างนอนซึ่งสามารถบอกถึงความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับได้

Sleep test หรือ การตรวจการนอนหลับ คืออะไร?


Sleep test คือ การตรวจการนอนหลับ เพื่อสังเกตการทำงานของร่างกาย และหาสาเหตุของความผิดปกติต่าง ๆ ในระหว่างการนอนหลับ โดยใช้เครื่องมือเฉพาะที่สามารถบอกความผิดปกติของการนอนหลับได้ ร่วมกับการดูแลโดยทีมแพทย์เฉพาะทางและนักเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญด้านการนอน


Fig1-Edit9-1-65.jpeg

การตรวจการนอนหลับ (sleep test) มีประโยชน์อย่างไร?


“ปัจจุบันถือว่าการตรวจ sleep test เป็นการตรวจที่เป็นมาตรฐานสากล (gold standard) ในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ” เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive sleep apnea : OSA) การกระตุกของกล้ามเนื้อต่าง ๆ รวมถึงพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ เพื่อให้แพทย์สามารถนำผลการตรวจไปวางแผน หรือติดตามการรักษาได้อย่างถูกต้อง


นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นข้อมูลในการตั้งค่าความดันลมในผู้ที่ใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP) เพื่อช่วยเปิดช่องทางเดินหายใจในขณะนอนหลับ หรือการปรับระดับของเครื่องมือในช่องปาก (oral appliances) ในผู้ที่มีโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive sleep apnea : OSA)


นอกจากนี้ยังใช้พิจารณาเลือกวิธีการผ่าตัดทางเดินหายใจและใช้ติดตามผลการรักษา ตลอดจนช่วยในการวินิจฉัยโรคความผิดปกติอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการนอน และตรวจคุณภาพการนอนได้อีกด้วย


ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจ sleep test?


หากมีอาการผิดปกติหรือพิจารณาว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจ sleep test


ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจ sleep test?


  • นอนกรน
  • มีเสียงกรนหยุดเป็นพัก ๆ พลิกตัวบ่อย ๆ
  • หายใจลำบาก และสงสัยว่ามีการหยุดหายใจขณะหลับ
  • ง่วงนอนช่วงกลางวันมากผิดปกติ ทั้งที่ได้ผักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • ตื่นเช้าไม่สดชื่น มีอาการปวดหัวหลังตื่นนอน และรู้สึกอ่อนเพลียหลังตื่นนอนบ่อย ๆ
  • มีพฤติกรรมการนอนที่ผิดปกติ เช่น แขนขากระตุกระหว่างนอนหลับ นอนกัดฟัน นอนละเมอ หรือสะดุ้งตื่นเป็นประจำ
  • นอนหลับยาก หรือรู้สึกนอนหลับได้ไม่เต็มที่บ่อย ๆ มากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์

จากอาการข้างต้น มีแบบทดสอบที่ได้รับการยอมรับในการประเมินความง่วงที่ผิดปกติ ชื่อว่า Epworth sleepiness scale เพื่อประเมินความง่วง ที่อาจมีสาเหตุจากความผิดปกติด้านการนอนหลับ แบบทดสอบนี้ประกอบด้วยชุดคำถามที่จะช่วยให้เราประเมินตัวเองหรือคนรอบข้างได้เบื้องต้น

Fig2-2-768x768.jpeg

กลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับการตรวจ sleep test


  • ผู้ที่เสี่ยงจะเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
  • ผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวเกิน
  • ผู้ที่แพทย์สงสัยว่าอาจมีภาวะชักขณะนอนหลับหรือเป็นโรคลมหลับ (narcolepsy)
  • ผู้ที่ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ เช่น หัวใจวาย ไตวาย ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
  • ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับที่ยังรักษาไม่ได้

Fig3-768x768.jpeg

ตรวจ sleep test วัดอะไรบ้าง?


การตรวจ sleep test จะมีการติดอุปกรณ์เฉพาะที่ใช้บันทึกการทำงานของร่างกายขณะนอนหลับ ได้แก่ ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด การหายใจเข้าออกทั้งทางจมูกและทางปาก คลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ การขยับของกล้ามเนื้อตา แขนขาและกราม รวมทั้งบันทึกวิดีโอเพื่อสังเกตพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างนอนหลับ


เมื่อตรวจ sleep test เสร็จแล้วแพทย์จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์และแปลผลการตรวจเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติต่าง ๆ พร้อมทั้งประเมินความรุนแรง เช่น การหยุดหายใจขณะหลับ ระดับออกซิเจนในเลือดขณะหลับ ภาวะเคลื่อนไหวและพฤติกรรมผิดปกติขณะหลับ นอนแขนขากระตุกขณะหลับ การละเมอ ภาวะนอนไม่หลับ และความผิดปกติของการนอนหลับอื่น ๆ ได้


การเตรียมตัวก่อนตรวจ sleep test


การเตรียมตัวก่อนตรวจ sleep test


  1. อาบน้ำและสระผมให้สะอาดก่อนมาตรวจ อย่าใส่น้ำมันหรือครีมใด ๆ มาด้วย เพราะอาจรบกวนการติดอุปกรณ์การตรวจ
  2. งดชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ ในวันที่จะมาตรวจ
  3. หลีกเลี่ยงการงีบหลับในช่วงกลางวันของวันที่มาตรวจ เพื่อให้สามารถนอนหลับได้อย่างเต็มที่
  4. จดชื่อ และขนาดยา พร้อมทั้งนำยาทุกชนิดที่รับประทานอยู่ติดตัวมาด้วย (หากมีข้อสงสัยเรื่องยา ควรปรึกษาแพทย์ผู้ตรวจ)
  5. ส่วนใหญ่ เจ้าหน้าที่ประจำห้องตรวจจะเริ่มทำการติดตั้งเครื่องและตัวตรวจวัดต่าง ๆ โดยจะใช้เวลาประมาณ 45 – 60 นาที
  6. ติดต่อสอบถาม และเช็คข้อมูลต่าง ๆ กับโรงพยาบาลที่เราตัดสินใจไปทำ sleep test

ข้อแนะนำจากแพทย์เฉพาะทาง


พญ.เพชรรัตน์ แสงทอง แพทย์เฉพาะทาง ด้าน โสต ศอ นาสิกวิทยาและเวชศาสตร์การนอนหลับประจำศูนย์ หู คอ จมูก โรงพยาบาลพระรามเก้า ได้แนะนำว่าคุณภาพของการนอนเป็นตัวบ่งชี้ถึงสุขภาพ และปัญหาการนอนยังอาจทำให้เกิดโรคที่ร้ายแรงได้ในอนาคต การตรวจการนอนหลับหรือ sleep test จะบอกได้ถึงปัญหาของการนอน และสามารถรักษาได้อย่างถูกต้อง และคุณหมอ ยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า การตรวจ sleep test เป็นการตรวจที่ปลอดภัย เพราะจะมีเจ้าหน้าที่อยู่กับท่านตลอดเวลา หากมีความผิดปกติใด ๆ ก็ตาม เจ้าหน้าที่จะแจ้งแพทย์ทันที


สรุป


ปัญหาการนอนเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม เพราะไม่ใช่แค่การนอนดึก นอนไม่พอ ไม่สดชื่น ไม่กระปรี้กระเปร่า แต่อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ความสำคัญ เช่น โรคความดันสูง โรคหัวใจ ความดันในปอดสูง โรคหลอดเลือดสมอง อารมณ์แปรปรวนและคุณภาพการนอนที่ไม่ดียังอาจส่งผลกระทบต่อการทำงาน ซึ่งจะสร้างปัญหาต่อหน้าที่การงานได้


ดังนั้นการตรวจการนอนหลับ หรือ sleep test จะช่วยให้ทราบถึงความผิดปกติของการนอนหลับ ทำให้ดูแลและรักษาได้อย่างถูกต้อง เพื่อสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ ให้ทุก ๆ เช้าที่ตื่นมาเป็นวันที่สดใส กระกระปรี้กระเปร่า มีพลังในการทำงานได้อย่างเต็มที่


ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. เพชรรัตน์ แสงทอง

พญ. เพชรรัตน์ แสงทอง

ศูนย์หู คอ จมูก

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital