บทความสุขภาพ

Knowledge

ปวดหลังแบบไหน ต้องรีบไปพบแพทย์ !

นพ. ศุภกิจ พิมลธเรศ

ปวดหลังแบบไหน ต้องรีบไปหาแพทย์ (ปวดหลัง อย่าปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายกว่าที่คุณคิด)


เชื่อว่าเรา ๆ ท่าน ๆ คงเคยมีอาการ “ปวดหลัง” บางคนปวดมาก บางคนปวดน้อย อาจจะมีอาการเป็นวัน หรือบางคนอาจมีอาการเป็นเดือน เช่น ปวดจากการทำงานหนัก มีสาเหตุจากกล้ามเนื้อ มักเกิดจากการทำท่าทางซ้ำ ๆ ในท่าเดิม ๆ โดยทั่วไปเป็นอาการปวดหลังที่ไม่อันตราย ส่วนใหญ่จะดีขึ้นหลังพัก และไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่อาการปวดที่รุนแรง หรือมีอาการนานเป็นเดือน และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน มักจะมาจากสาเหตุที่อันตรายและรุนแรง การปวดหลังลักษณะนี้ต้องรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรีบหาสาเหตุและรักษาอย่างถูกต้อง


อาการปวดหลังมีกี่แบบ?


อาการปวดหลังแบ่งได้เป็น 3 แบบตามระยะเวลาคือ

  1. ปวดแบบเฉียบพลัน (acute) คือ มีอาการปวดต่อเนื่องน้อยกว่า 6 สัปดาห์
  2. ปวดแบบกึ่งเฉียบพลัน (subacute) คือ มีอาการปวดหลังต่อเนื่อง 6-12 สัปดาห์
  3. ปวดแบบเรื้อรัง (chronic) คือ มีอาการปวดหลังต่อเนื่องนานกว่า 12 สัปดาห์

อาการปวดหลังส่วนบน


อาการปวดหลังส่วนบนมักเกิดร่วมกับอาการปวดคอ ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการใช้ท่าทางที่ไม่เหมาะสมระหว่างวันเช่น การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการก้มเล่นมือถือนาน ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคออฟฟิต โดรม อาการปวดหลังส่วนบนนี้ อาจพบได้ในโรคของกล้ามเนื้อ หมอนรองกระดูกคอ หรือข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนคอ ที่ทำให้เกิดอาการปวดคอร่วมกับอาการปวดหลังส่วนบน


อ่านเพิ่มเติม อาการออฟฟิศซินโดรม: https://www.praram9.com/officesyndrome/


อาการปวดหลังช่วงเอว หรืออาการปวดหลังส่วนล่าง

อาการปวดหลังระดับเอว หรืออาการปวดหลังส่วนล่าง (low back pain) เป็นอาการปวดที่พบบ่อยที่สุดของโรคทางออร์โธปิดิกส์หรือโรคทางกระดูกและข้อ


สาเหตุเกิดจาก 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ จากกล้ามเนื้อหลัง หมอนรองกระดูกสันหลัง และจากข้อต่อกระดูกสันหลัง โดยจะมีอาการปวดหลังบริเวณเอวต่ำกว่าขอบของซี่โครงซี่ล่างสุด จนถึงบริเวณสะโพกและก้น มีอาการมากขึ้นหรือลดลงสัมพันธ์กับท่าทางการเคลื่อนไหว หรือการทำงาน หรืออาจปวดตลอดเวลาโดยไม่สัมพันธ์กับท่าทาง บางรายอาจมีอาการปวดกลางคืนมากจนไม่สามารถนอนหลับได้ ทั้งนี้ขึ้นกับพยาธิสภาพของโรคนั้น ๆ


** เช็กให้ชัวร์ว่าปวดบริเวณไหน? >> แนะนำแพ็กเกจตรวจคัดกรองอาการปวด หลัง บ่า ไหล่


อาการปวดหลังด้านซ้ายหรือด้านขวา


อาการปวดหลังด้านซ้ายหรือปวดหลังด้านขวา มักมีสาเหตุจากกล้ามเนื้อหลังผิดปกติ ข้อต่อกระดูกส่วนอก หรือกระดูกซี่โครงอ่อนอักเสบ อุบัติเหตุ การกระแทก การเกร็งหรือยกของหนัก และสาเหตุอื่น ๆ เช่น แน่นหน้าอกจากสาเหตุทางโรคหัวใจ หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องอก กรดไหลย้อน เยื่อหุ้มปอดอักเสบ โรคไต นิ่วในไต หรือปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะ จึงแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง


ปวดหลังFig-1.jpg

อาการปวดหลังแบบไหนที่ควรรีบไปพบแพทย์


อาการปวดหลังที่ควรรีบปรึกษาแพทย์ ได้แก่อาการปวดหลังที่เป็นอยู่นาน และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งมักมีอาการดังต่อไปนี้


  • ปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังนานมากกว่า 3 เดือน (chronic low back pain)
  • มีอาการปวดรุนแรง พักหรือรับประทานยาแก้ปวดพื้นฐานแล้วไม่ดีขึ้น จนไม่สามารถทำงานหรือใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ
  • ปวดร้าวลงมาต้นขา ขาหรือ ลงไปปลายเท้า ข้างใดข้างนึงหรือทั้ง 2 ข้าง
  • มีความรู้สึกที่ผิดปกติเช่น ชาขา เท้าหรือมีอาการแสบร้อน มีการอ่อนแรงของขา
  • ไม่สามารถนั่งหรือยืนเดินนานได้ ร่วมกับปวดร้าวลงขา

อาการเหล่านี้ มักมีสาเหตุมาจาก หมอนรองกระดูกสันหลัง หรือข้อต่อกระดูกสันหลัง หรือโพรงประสาทหลัง ไปเบียดหรือกดทับรากประสาทที่ลงมาขา จึงควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยด่วน อีกหนึ่งอาการของโรคของกระดูกสันหลังที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุคือ โรคโพรงประสาทหลังตีบแคบ


ปวดหลัง-fig-2.jpg

โรคโพรงประสาทหลังตีบแคบ ที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ


โรคโพรงประสาทหลังตีบแคบ (spinal stenosis) เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้ที่มีอายุมาก เกิดจากความเสื่อมของข้อต่อกระดูกสันหลัง (หมอนรองกระดูกเป็นส่วนหนึ่งของข้อต่อกระดูกสันหลัง) ทำให้โพรงประสาทแคบลงจนไปเบียดรากประสาทหรือเบียดไขสันหลังซึ่งพบบ่อยมากที่ข้อกระดูกสันหลังระดับเอว


ปวดหลังFig-3.1.jpg

อาการของโรคโพรงประสาทหลังตีบแคบ


ผู้ป่วยมักมีอาการปวดหลังส่วนล่างร้าวลงมาสะโพก มีอาการร้าวลงมาขาข้างนึงหรือสองข้าง บางครั้งมีอาการปวดร้าวลงไปปลายเท้า อาการจะเป็นมากขณะยืนหรือเดินเป็นเวลานาน บางครั้งมีอาการชาหรืออ่อนแรงขา ร่วมด้วย ต้องก้มตัว นั่งพัก บางคนต้องนั่งยอง ๆ เพื่อให้อาการดีขึ้นจนสามารถยืนและเดินต่อได้ อาการมักค่อยเป็นค่อยไป จนมากขึ้นจนทำให้ไม่สามารถยืนหรือเดินนานได้


ตรวจร่างกายมักจะพบ หลังช่วงเอวแอ่นน้อย ๆ หรือมีหลังค่อม ขยับหลังแล้วปวดร้าวลงขา ร่วมกับตรวจพบอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เลี้ยงด้วยรากประสาทนั้น ๆ หรือความรู้สึกที่ผิดปกติ เช่น ชาหน้าแข้ง หรือหลังเท้า


ปวดหลัง-fig-4.jpg

การตรวจวินิจฉัยโรคโพรงประสาทหลังตีบแคบ


การวินิจฉัยมักใช้การถ่ายภาพรังสี จะพบความเสื่อมของหมอนรองกระดูกเอว ข้อต่อกระดูกสันหลัง บางครั้งพบความผิดรูปของข้อต่อ เช่น หลังคด (scoliosis) กระดูกเคลื่อน (spondylolisthesis) แพทย์อาจจะให้ผู้ป่วยขยับตัวขณะถ่ายภาพเอกซเรย์ (motion film) เพื่อประเมินความไม่มั่นคงของข้อต่อกระดูกสันหลัง


แพทย์อาจแนะนำการตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อประเมินตำแหน่งที่รากประสาทถูกกดทับ ความเสื่อมหมอนรองกระดูกตลอดจนระดับความรุนแรงของการตีบของโพรงประสาท


การรักษาโรคโพรงประสาทหลังตีบแคบ


เนื่องจากโรคนี้ส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมตามอายุ หรือการใช้งานข้อต่อกระดูกสันหลังมากเป็นเวลานาน การลดการใช้งาน หลีกเลี่ยงท่าทางที่ไปกระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น งดการยืนเดินเป็นเวลานาน ทำการฟื้นฟู รวมทั้งกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวด ปรับท่าทางการใช้งานหลังให้ถูกต้อง และเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่สำคัญ ร่วมกับการรับประทานยาบางชนิดเป็นระยะเวลาหนึ่งตามคำแนะนำของแพทย์ จะทำให้อาการหายไปได้


อย่างไรก็ตาม ถ้ามีอาการอ่อนแรงขามากจนเดินยืนไม่ได้ อาการปวดรุนแรงไม่ดีขึ้นจากการทานยา มีความไม่มั่นคงของข้อต่อหลัง หรือมีอาการผิดปกติของการขับถ่าย เช่น กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตลอดจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการรักษาด้วยการผ่าตัดต่อไป


ข้อมูลเพิ่มเติม: ศูนย์กระดูกสันหลัง (Advanced Spine Center) รพ.พระรามเก้า



สรุป


เราทุกคนคงเคยปวดหลัง จึงอาจคิดว่าอาการปวดหลังเป็นเรื่องปกติที่เป็นกันได้ และหายเองได้ บางคนใช้วิธีหายาแก้ปวดมารับประทานเพื่อให้อาการดีขึ้น แต่หากมีอาการปวดหลังเรื้อรัง ปวดรุนแรง มีปวดร้าวไปที่ขาหรือเท้า มีอาการแสบร้อนหรือยืนหรือเดินไม่ได้ อาการเหล่านี้ คงไม่ใช่แค่อาการปวดหลังธรรมดา เพราะอาการปวดหลังนี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติหรือโรคต่าง ๆ ดังนั้นจำเป็นต้องรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง


ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. ศุภกิจ พิมลธเรศ

นพ. ศุภกิจ พิมลธเรศ

ศูนย์กระดูกและข้อโรงพยาบาลพระรามเก้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital