บทความสุขภาพ

Knowledge

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

อาการไหล่หลุด อาจนำไปสู่ภาวะข้อไหล่หลวมเรื้อรัง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที มีความเสี่ยงเกิดไหล่หลุดซ้ำและมีผลต่อการใช้งานในชีวิตประจำวัน บทความนี้จะพาไปรู้จักกับภาวะข้อไหล่หลุดอย่างละเอียด ทั้งสาเหตุ อาการ แนวทางการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดเหตุ รวมถึงวิธีการรักษาที่เหมาะสมเพื่อให้ฟื้นตัวได้อย่างปลอดภัยในระยะยาว


Key Takeaways


  • ไหล่หลุด คือภาวะที่กระดูกต้นแขนหลุดออกจากเบ้าข้อไหล่ มักเกิดจากการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ
  • ระยะเวลาฟื้นตัวหลังรักษาไหล่หลุดประมาณ 6-12 สัปดาห์ แล้วแต่ความรุนแรงของอาการและการตอบสนองต่อการรักษา
  • หากปล่อยให้อาการไหล่หลุดหายเองโดยไม่รักษาอย่างถูกต้อง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ข้อไหล่หลวมเรื้อรัง หรือบาดเจ็บซ้ำซ้อน
  • หากไหล่หลุด ห้ามจัดข้อกลับเข้าที่เอง เพราะอาจทำให้เนื้อเยื่อหรือกระดูกเสียหายมากขึ้น ควรพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อวางแผนรักษาอย่างตรงจุด
  • ผู้ที่เคยไหล่หลุดแล้วมีโอกาสไหล่หลุดซ้ำได้ง่าย หากไม่ได้รับการดูแลฟื้นฟูอย่างถูกวิธี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร เป็นได้ง่ายแค่ไหน


ไหล่หลุด คือ ภาวะที่หัวกระดูกต้นแขนหลุดออกจากเบ้าข้อไหล่ โดยมักจะหลุดทางด้านหน้า ทำให้หัวไหล่ผิดรูป เกิดอาการปวดรุนแรง * * และขยับแขนไม่ได้ เมื่อไหล่หลุดอาจมีอาการชา หรือแขนอ่อนแรงจากการกดเบียดเส้นประสาท เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ง่าย เพราะข้อไหล่เป็นข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้กว้างที่สุดในร่างกาย แต่มีความมั่นคงน้อย จึงเสี่ยงต่อการไหล่เคลื่อนหลุดเมื่อถูกกระแทก หรือเคลื่อนไหวผิดท่า


ไหล่หลุดเกิดจากอะไร มีสาเหตุอะไรบ้าง


ไหล่หลุดเกิดจากอะไร

ไหล่หลุดเกิดได้จากหลายปัจจัย โดยสาเหตุหลัก ๆ จะมีดังนี้


  • อุบัติเหตุหรือแรงกระแทก เช่น ล้มแล้วใช้แขนยันพื้น การตกจากที่สูง หรืออุบัติเหตุรถชน ทำให้ข้อไหล่เคลื่อนหลุดจากเบ้า
  • เล่นกีฬา โดยเฉพาะกีฬาที่มีการปะทะหรือต้องเคลื่อนไหวรวดเร็ว เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล ว่ายน้ำ หรือยิมนาสติก การเล่นกีฬาเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงต่อการบาดเจ็บที่ไหล่
  • เคยไหล่หลุดมาก่อน คนที่เคยไหล่หลุดมาแล้วจะมีโอกาสหลุดซ้ำได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะเมื่อทำท่าทางเดิมซ้ำบ่อย ๆ หรือเคลื่อนไหวผิดจังหวะ
  • ร่างกายมีความยืดหยุ่นผิดปกติ เช่น เส้นเอ็นหรือข้อหลวมกว่าปกติ อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ เป็นอาการที่พบได้ในนักกีฬาบางประเภท
  • กล้ามเนื้อเกร็งผิดปกติ เช่น อาการจากโรคลมชัก หรือไฟฟ้าช็อต อาจทำให้ข้อไหล่หลุดไปทางด้านหลัง ซึ่งพบได้ไม่บ่อยเท่าด้านหน้า

อาการไหล่หลุดที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง?


อาการไหล่หลุดอาจแบ่งอาการออกเป็น 3 รูปแบบตามลำดับความรุนแรงและผลกระทบ ดังนี้


  1. หลังไหล่หลุดทันที จะปวดรุนแรงบริเวณหัวไหล่ หัวไหล่ผิดรูป เช่น ไหล่แฟบลง หรือมีก้อนนูนบริเวณด้านหน้า แขนขยับไม่ได้ หรือขยับแล้วปวดมาก บางรายอาจมีอาการชา หรือเสียวบริเวณต้นแขนจากเส้นประสาทถูกกดเบียด แขนอาจอยู่ในท่าที่ผิดรูป ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ
  2. หลังได้รับการรักษาเบื้องต้น อาการปวดจะลดลง แต่ยังคงรู้สึกตึงหรือไม่มั่นคงที่หัวไหล่ อาจมีรอยฟกช้ำ บวม หรือกล้ามเนื้อรอบไหล่ยังคงอักเสบ ขยับแขนได้บางส่วน แต่ยังไม่เต็มช่วงการเคลื่อนไหวปกติ
  3. หากมีภาวะไหล่หลุดซ้ำ หรือฟื้นตัวไม่สมบูรณ์ ไหล่อาจหลุดซ้ำได้ง่ายจากการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย อาจมีความรู้สึกไม่มั่นคงหรือหลวมในข้อไหล่ กล้ามเนื้อรอบไหล่อ่อนแรง ปวดเรื้อรัง โดยเฉพาะเมื่อใช้แขนมาก

หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ ไม่ควรนิ่งนอนใจหรือรอให้อาการหายไปเอง เพราะหากไม่ได้รับการวินิจฉัยด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม เช่น CT Scan และ MRI และเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี โอกาสที่ไหล่จะหลุดซ้ำหรือฟื้นตัวไม่สมบูรณ์ก็จะเพิ่มมากขึ้นได้


วิธีการปฏิบัติตัวเมื่อไหล่หลุดเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ


ไหล่หลุด รักษาอย่างไร

เมื่อเกิดภาวะไหล่หลุด สิ่งสำคัญที่สุดคือการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มเติม และควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว โดยแนวทางเบื้องต้นมีดังนี้


  1. ห้ามดึงหรือจัดไหล่กลับเอง เพราะอาจทำให้เนื้อเยื่อ เส้นเอ็น หรือกระดูกบริเวณไหล่เสียหายมากขึ้น ควรปล่อยให้อยู่ในท่าที่รู้สึกเจ็บน้อยที่สุด
  2. ประคองแขนให้อยู่นิ่ง ใช้ผ้าคล้องแขน หมอน หรือมืออีกข้างประคองข้อศอกเพื่อไม่ให้แขนเคลื่อนไหวมากเกินไป หากไม่มีอุปกรณ์ ให้ประคองให้อยู่ในท่าที่สบายที่สุดจนกว่าจะถึงโรงพยาบาล
  3. ประคบเย็นเพื่อลดปวด สามารถใช้เจลเย็นหรือผ้าเย็นประคบบริเวณหัวไหล่ที่หลุด เพื่อลดอาการปวดและบวมชั่วคราว แต่อย่าใช้แรงกดลงไปตรงบริเวณที่ผิดรูป
  4. รีบพบแพทย์ทันที แม้อาการปวดจะทุเลาลงหลังประคบเย็น แต่การรักษาที่ถูกต้องจำเป็นต้องให้แพทย์จัดกระดูกกลับเข้าที่ และตรวจเช็กความเสียหายของเนื้อเยื่อ กระดูก หรือเส้นประสาทด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เช่น MRI เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและลดโอกาสเกิดไหล่หลุดซ้ำ

วิธีการรักษาไหล่หลุดทำได้กี่แบบ อย่างไรบ้าง


อาการไหล่หลุดแม้จะดูเหมือนเป็นอาการที่สามารถรักษาให้หายได้ แต่หากละเลยหรือรักษาไม่ถูกวิธี อาจนำไปสู่ภาวะไหล่หลุดซ้ำเรื้อรัง และส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันในระยะยาว การรักษาที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง


โดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งการรักษาออกเป็น 2 วิธีหลัก ได้แก่ การรักษาแบบไม่ผ่าตัด และการรักษาแบบผ่าตัด โดยแพทย์จะเลือกวิธีให้เหมาะกับลักษณะและความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละราย


รักษาไหล่หลุดแบบไม่ผ่าตัด


เหมาะสำหรับผู้ที่ประสบภาวะไหล่หลุดครั้งแรก หรือไม่ได้รับความเสียหายต่อโครงสร้างภายในข้อไหล่มากนัก โดยการรักษาประเภทไม่ผ่าตัด มีดังนี้


  1. จัดกระดูกกลับเข้าที่ (Closed Reduction) แพทย์จะใช้วิธีการทางการแพทย์เพื่อจัดหัวกระดูกให้กลับเข้าสู่เบ้าข้อไหล่ พร้อมกับให้ยาช่วยลดอาการปวดหรือคลายกล้ามเนื้อก่อนจัดกระดูก
  2. ใส่ผ้าคล้องแขนเพื่อพยุงข้อไหล่ ผู้ป่วยจะได้รับการใส่ที่พยุงแขนไว้ประมาณ 2–4 สัปดาห์ เพื่อป้องกันไม่ให้แขนขยับจนเกิดการหลุดซ้ำ
  3. กายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูการเคลื่อนไหว หลังถอดผ้าคล้องแขน แพทย์จะนัดกายภาพบำบัดเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ ซึ่งช่วยลดโอกาสการหลุดซ้ำในอนาคต

รักษาไหล่หลุดแบบผ่าตัด


เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะไหล่หลุดซ้ำ ๆ หรือมีโครงสร้างภายในข้อไหล่เสียหาย เช่น เยื่อหุ้มข้อฉีก เบ้ากระดูกไหล่สึก ฯลฯ โดยการรักษาประเภทผ่าตัดมีดังนี้


  1. การผ่าตัดส่องกล้อง (Arthroscopic Surgery) เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะแผลเล็ก ฟื้นตัวไว และความเสี่ยงน้อย โดยแพทย์จะใช้กล้องขนาดเล็กส่องเข้าไปภายในข้อไหล่ พร้อมซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย ด้วยการเย็บเยื่อหุ้มข้อ เอ็นบริเวณเบ้าข้อไหล่ หรือเสริมความตึงของกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง
  2. การผ่าตัดแบบเปิด (Open Surgery) ใช้ในบางกรณี ตัวอย่างเช่นกระดูกเบ้าข้อไหล่มีความเสียหายมาก เช่น สึกเกิน 15–25% โดยแพทย์อาจต้องเสริมกระดูกบริเวณเบ้าไหล่จากกระดูกส่วนอื่นของร่างกาย ด้วยวิธีการการผ่าตัดเสริมภาวะเบ้ากระดูกไหล่เสื่อม (Glenoid Reconstruction) เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับข้อไหล่

ไหล่หลุด ภัยสุขภาพที่ไม่ควรปล่อยให้หายเอง


อาการไหล่หลุดไม่ใช่เพียงอุบัติเหตุเล็กน้อยที่สามารถปล่อยให้หายเองได้ เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะข้อหลวมเรื้อรัง หรือทำให้ไหล่หลุดซ้ำได้ง่ายในอนาคต ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการขยับแขน ยกของ หรือออกกำลังกาย


หากคุณหรือคนใกล้ตัวประสบภาวะไหล่หลุดควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีประวัติเคยไหล่หลุดมาก่อนหรือมีอาการเรื้อรัง สามารถเข้ารับคำปรึกษาและการดูแลอย่างใกล้ชิดได้ที่ ศูนย์รักษ์ข้อ โรงพยาบาลพระรามเก้า ห้บริการโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการในด้านกระดูกและข้อมาโดยเฉพาะ เพื่อฟื้นฟูการเคลื่อนไหวให้กลับมาแข็งแรงและขยับได้อย่างอิสระอีกครั้ง


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม



คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับไหล่หลุด


1. อาการไหล่หลุด กี่วันหรือกี่เดือนถึงหายดี?


หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนและรักษาอย่างเหมาะสม อาการจะฟื้นตัวภายใน 12-16 สัปดาห์ แต่บางรายอาจต้องใช้เวลานานขึ้นหากมีการผ่าตัดหรือไหล่หลุดซ้ำบ่อย


2. ใครบ้างที่เสี่ยงมีโอกาสไหล่หลุดได้ง่าย?


กลุ่มเสี่ยงคือ นักกีฬา, ผู้ที่เคยมีประวัติไหล่หลุด, ผู้ที่มีข้อหลวมโดยกำเนิด, ผู้สูงอายุที่กระดูก และผู้ที่กล้ามเนื้อเสื่อมสภาพ


References


Cleveland Clinic. (2023, May 11). Dislocated shoulder: Causes, treatment & prevention. Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17746-dislocated-shoulder


Harvard Health Publishing. (2024, December 12). Shoulder dislocation: A to Z. https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/shoulder-dislocation-a-to-z


Moin, A., & Alvi, M. A. (2023). Shoulder dislocation. In StatPearls. StatPearls Publishing. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK459125/​


NHS. (2023, May 17). Dislocated shoulder. https://www.nhs.uk/conditions/dislocated-shoulder/

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนให้หายดี ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สัญญาณเตือนที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

เนื้องอกมดลูก อันตรายใกล้ตัวของผู้หญิงที่ไม่ควรมองข้าม

เนื้องอกมดลูก มีสาเหตุมาจากเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกเจริญผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่แสดงอาการ และผู้ป่วยบางส่วนอาจมีอาการปวดท้องน้อยรุนแรง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย

ต่อมลูกหมากโต (BHP) อาการเป็นอย่างไร รักษาวิธีไหนได้บ้าง?

โรคต่อมลูกหมากโต (BPH) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากขยายใหญ่ขึ้น ส่งผลให้ปัสสาวะติดขัดและกระทบต่อคุณภาพชีวิต มักพบได้บ่อยในผู้ชายวัยกลางคนอายุ 50 ปีขึ้นไป

รู้ทันอาการริดสีดวงทวาร กับพฤติกรรมเสี่ยงที่ต้องระมัดระวัง

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital