บทความสุขภาพ
Knowledge
นพ. ภูมิบาล เวศย์พิริยะกุล
ในปัจจุบันภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม หรือที่เรียกกันว่า หมอนรองกระดูกเสื่อม ไม่ได้พบเฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่เริ่มพบในคนวัยทำงานมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันส่งผลต่อสุขภาพของกระดูกสันหลังโดยตรง ซึ่งอาการปวดหลังจากหมอนรองกระดูกเสื่อมสามารถสร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ป่วยจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและดูแลรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนหรืออาการที่รุนแรงขึ้นได้ในอนาคต
Key Takeaways
หมอนรองกระดูกเสื่อม (Degenerative Disc) คือภาวะที่เกิดขึ้นจากการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งมีหน้าที่ในการรองรับแรงกระแทกและกระจายน้ำหนักระหว่างกระดูกสันหลัง รวมถึงช่วยให้กระดูกสันหลังเคลื่อนไหวได้อย่างยืดหยุ่นและเป็นธรรมชาติ
เมื่อหมอนรองกระดูกเสื่อมลง ทำให้ช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลังแคบลง ความสามารถในการรองรับแรงกระแทกจึงลดลงตามไปด้วย ก่อให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจนำไปสู่การกดทับของเส้นประสาท หรือเกิดการเสียดสีระหว่างข้อกระดูก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวและคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้
หมอนรองกระดูกเสื่อมสามารถแบ่งสาเหตุการเกิดได้ดังนี้
ภายในหมอนรองกระดูกประกอบด้วยน้ำ โปรติโอไกลแคน และคอลลาเจน ซึ่งทำงานร่วมกันเพื่อให้หมอนรองกระดูกมีความยืดหยุ่น และสามารถดูดซับแรงกระแทกจากการเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะโปรติโอไกลแคนซึ่งมีคุณสมบัติในการกักเก็บน้ำไว้ในเนื้อเยื่อ
เมื่ออายุมากขึ้น โปรติโอไกลแคนและคอลลาเจนในหมอนรองกระดูกจะลดลง ส่งผลให้น้ำภายในและความยืดหยุ่นน้อยลง รวมถึงความสูงของหมอนรองกระดูกลดลงตามมา จนนำไปสู่การเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกในที่สุด
โครงสร้างของหมอนรองกระดูกประกอบไปด้วยแกนกลางหมอนรองกระดูกที่มีลักษณะคล้ายเจล และเนื้อเยื่อรอบนอกหมอนรองกระดูกที่ห่อหุ้มแกนกลาง การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุอาจทำให้เนื้อเยื่อที่ห่อหุ้มแกนกลางนี้เกิดฉีกขาด และเพิ่มความเสี่ยงที่แกนกลางหมอนรองกระดูกจะเคลื่อนทะลุออกมากลายเป็นหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท ซึ่งอาการบาดเจ็บนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของหมอนรองกระดูกเสื่อม เนื่องจากการบาดเจ็บอาจไม่สามารถซ่อมแซมได้สมบูรณ์ ทำให้โครงสร้างหมอนรองกระดูกอ่อนแอลง และเกิดการเสื่อมสภาพเร็วขึ้นกว่าปกติ
การใช้งานหมอนรองกระดูกสันหลังซ้ำ ๆ ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังได้รับแรงกดต่อเนื่อง หรือการเคลื่อนไหวด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสม จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้เกิดการฉีกขาดของเนื้อเยื่อรอบนอกหมอนรองกระดูก หรือเกิดแรงกดที่ไม่สมดุล ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสาเหตุหนึ่งที่เพิ่มโอกาสให้เกิดหมอนรองกระดูกเสื่อมในผู้ที่มีอายุน้อย
นอกจากสาเหตุที่กล่าวไปแล้วในหัวข้อข้างต้น ยังมีอีกหลายพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมเร็วขึ้น ดังนี้
หมอนรองกระดูกเสื่อมกับหมอนรองกระดูกปลิ้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับกระดูกสันหลังเช่นกัน แต่มีสาเหตุและลักษณะการเกิดที่แตกต่างกัน ดังนี้
ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นหมอนรองกระดูกเสื่อม มักจะมีอาการดังต่อไปนี้
ภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมสามารถแบ่งระดับความรุนแรงได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
หมอนรองกระดูกเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เนื่องจากการใช้งานกระดูกสันหลังอย่างต่อเนื่องในระยะยาว สามารถทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพตามธรรมชาติ แม้ว่าภาวะกระดูกเสื่อมจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากเป็นกระบวนการเสื่อมตามอายุและสภาพร่างกาย แต่สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการรักษาแบบประคับประคอง เพื่อชะลอการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังให้สามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้น
แนวทางการรักษาหมอนรองกระดูกเสื่อมจะมุ่งเน้นไปที่การยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติหรือใกล้เคียงที่สุด ซึ่งวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ ดังนี้
เราสามารถชะลอการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังได้ด้วยการลดการใช้งานที่ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังต้องรับภาระหนักเกินไป เช่น ไม่นั่งนานเกินไป ไม่ยืนอยู่ท่าเดิม ๆ ไม่ยกของหนักบ่อย ๆ นอกจากนี้ยังควรเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหลังด้วยการออกกำลังกาย เพื่อให้กล้ามเนื้อช่วยพยุงและรับน้ำหนักแทนหมอนรองกระดูกสันหลัง
อาการปวดจากหมอนรองกระดูกเสื่อมสามารถบรรเทาได้ด้วยการทำกายภาพบำบัด ซึ่งในปัจจุบันมีหลายหัตถการที่นำมาใช้รักษาผู้ป่วยหมอนรองกระดูกเสื่อม เช่น การทำอัลตราซาวนด์ การทำช็อกเวฟ การฝึกความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหลัง การประคบร้อน หรือการใช้อุปกรณ์พยุงหลัง เป็นต้น
อาการปวดสามารถบรรเทาได้ด้วยการใช้ยา ซึ่งมีทั้งรูปแบบยารับประทาน ยาทาภายนอก และการใช้ยาฉีด ซึ่งเป็นวิธีที่มักนำมาใช้รักษาร่วมกับวิธีอื่น ๆ เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
กรณีที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการปวดจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงมีการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังรุนแรง หรือหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบอื่น แพทย์จะพิจารณาให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งวิธีการผ่าตัดมีได้แก่
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างไร อ่านต่อได้ที่บทความ ผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และประสบการณ์ที่สามารถกลับมาเดินได้ภายในวันเดียว
อาการปวดหลังจากหมอนรองกระดูกเสื่อมในเริ่มต้นอาจยังไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก แต่หากปล่อยปละละเลย และยังคงพฤติกรรมการใช้งานแบบเดิม ๆ อาจส่งผลให้หมอนรองกระดูกเสื่อมมากขึ้นจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เป็นปกติอีกต่อไป และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในระยะยาว
ที่ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลพระรามเก้า เรามุ่งเน้นให้การรักษาเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทั้งการรักษาแบบประคับประคอง และการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยทีมแพทย์เฉพาะทาง ร่วมมือกับแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาและดูแลอย่างเหมาะสม สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้โดยเร็วที่สุด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ในช่วงแรกจะต้องใส่อุปกรณ์พยุงหลังเพื่อลดแรงกดทับระหว่างข้อกระดูกสันหลัง นอกจากนี้ควรจะบริหารร่างกายเบา ๆ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหลัง ลดอาการปวดและป้องกันการเสื่อมของหมอนรองกระดูกในอนาคต
โดยปกติแล้วจะใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 3-5 วัน และพักฟื้นต่อที่บ้านประมาณ 4-6 สัปดาห์
References
Felman, A. (2023, October 25). All about degenerative disc disease. MedicalNewsToday. https://www.medicalnewstoday.com/articles/266630
McMillen, M. (2023, October 25). What Is Degenerative Disk Disease?. WebMD. https://www.webmd.com/back-pain/degenerative-disk-disease-overview
เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ
แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง (0)
ดูทั้งหมด
บทความที่เกี่ยวข้อง (10)
ดูทั้งหมด
Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital