บทความสุขภาพ

Knowledge

กระดูกสันหลังหักจากการลื่นล้มหรือตกจากที่สูง ต้องรักษาอย่างไร ?

นพ. ศุภกิจ พิมลธเรศ

อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ การตกจากที่สูงก็เป็นอุบัติเหตุหนึ่งที่เกิดขึ้นได้โดยไม่คาดฝัน ซึ่งอาจตกกระแทกรุนแรงจนทำให้กระดูกสันหลังหัก และรุนแรงจนไปกดโพรงประสาทหรือเส้นประสาทไขสันหลังได้ ซึ่งหากรักษาช้า หรือไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้พิการได้ และยิ่งเกิดกับผู้สูงอายุที่กระดูกบางหรือมีกระดูกพรุนอยู่แล้ว ยิ่งเสี่ยงกระดูกสันหลังหักได้ง่ายขึ้น


เรามาทำความเข้าใจการบาดเจ็บและการหักของกระดูกสันหลัง อาการ การวินิจฉัย รวมไปถึงการรักษา เพื่อเป็นแนวทางหากคนใกล้ตัวหรือตัวคุณเองประสบอุบัติเหตุดังกล่าว

กระดูกสันหลังหักหรือการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง แบบ burst fracture


Burst fracture คือ การบาดเจ็บ (การแตกหัก) ชนิดหนึ่งของกระดูกสันหลัง ซึ่งจะเกิดจากการที่ลำกระดูกสันหลัง ได้รับแรงกดกระแทกที่รุนแรงในแนวดิ่ง พร้อมกับมีการก้ม จนทำให้ลำกระดูกสันหลังส่วนหน้าและส่วนกลาง มีการแตก ยุบ พร้อมกระจายตัวออกรอบๆ จนไปกดทับโพรงประสาทด้านหลังซึ่งทำให้มีการบาดเจ็บไขสันหลังหรือเส้นประสาทอย่างรุนแรงได้


สาเหตุที่ทำให้กระดูกสันหลังหัก


โดยทั่วไปสาเหตุการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังมักเกิดจากการตกจากที่สูง ก้นกระแทกพื้นอย่างรุนแรง การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถยนต์หรือจักรยานยนต์ หรือในกรณีผู้สูงอายุที่มีภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) อาจเกิดจากการลื่นล้มก้นกระแทกพื้นได้ มักพบว่าเกิดในตำแหน่งบริเวณรอยต่อระหว่างกระดูกสันหลังส่วนอกและเอว


อาการที่บ่งบอกว่ามีกระดูกสันหลังหัก


อาการที่พบหลังบาดเจ็บ คือ การปวดรุนแรงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ ไม่สามารถขยับหรือเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ ในกรณีที่ชิ้นกระดูกที่แตกและเคลื่อนไปกดทับไขสันหลัง หรือเส้นประสาท จะทำให้มีอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับ มีอาการอ่อนแรงของขา มีการรับรู้หรือรับสัมผัสที่ผิดปกติเช่น การชาขา


การวินิจฉัยกระดูกสันหลังหัก


การวินิจฉัยเบื้องต้นทำได้ด้วยการตรวจx-rays กระดูกสันหลังบริเวณที่สงสัย และทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อให้เห็นตำแหน่งการหักและการบาดเจ็บของเส้นประสาทให้ชัดเจนขึ้น ได้แก่


  1. การทำ CT scan (เอกซเรย์คอมพิวเตอร์) เพื่อประเมินลักษณะการแตกหัก เคลื่อนตัวของกระดูกสันหลัง
  2. การทำ MRI (เอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) แนะนำให้ทำทุกรายที่มีการบาดเจ็บของเส้นประสาท หรือการบาดเจ็บไขสันหลัง และเพื่อการประเมินกลุ่มเอ็นด้านหลังของกระดูกสันหลังร่วมด้วย

การรักษาการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง


การรักษาแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ


  1. รักษาโดยการไม่ผ่าตัด (non-operative treatment) ใช้ในรายที่มีการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง ไม่มีการกดทับของไขสันหลังหรือเส้นประสาท ข้อกระดูกสันหลังมีความมั่นคง (stable burst fracture) กระดูกสันหลังส่วนที่ยุบเกิดการค่อมไม่มากนัก ผู้ป่วยที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ให้นอนพัก ในช่วงแรก ให้ยาบรรเทาอาการปวด และใส่อุปกรณ์พยุงหลังเพื่อช่วยเสริมความมั่นคงในการเคลื่อนไหว เช่น นั่ง ยืน เดิน โดยต้องใส่จนกระดูกแข็งแรงเป็นปกติ (ประมาณ 8-12 สัปดาห์)
  2. การรักษาโดยการผ่าตัด (operative treatment) ใช้ในรายที่มีการบาดเจ็บของไขสันหลัง หรือเส้นประสาทถูกกดทับ หรือมีภาวะไม่มั่นคงของกระดูกสันหลัง (unstable burst fracture) โดยทำการยึดตรึงกระดูกสันหลังด้วยโลหะดามกระดูกสันหลัง เพื่อจัดกระดูกให้เข้าที่ร่วมกับเปิดโพรงประสาทเพื่อลดการกดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาท


รักษาการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง โดยแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลพระรามเก้า


ศูนย์กระดูกสันหลัง พระรามเก้า ได้รวบรวมแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังไว้หลายท่าน ทางศูนย์ฯสามารถผ่าตัดและรักษาการบาดเจ็บและความผิดปกของกระดูกสันหลังได้ครอบคลุมทุกวิธี ทั้งการรักษาเบื้องต้นที่ไม่ซับซ้อน การผ่าตัดส่องกล้อง ผ่าตัดแผลเล็ก ไปจนถึงการรักษาที่มีความซับซ้อน


ทีมแพทย์ของศูนย์ฯ ทุกท่านมีประสบการณ์ ความชำนาญ และทำงานร่วมกันเป็นทีมในการประเมินและวางแผนการรักษาให้ผู้ป่วยแต่ละราย แล้วเลือกการรักษาที่ดีและรวดเร็วที่สุด เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยแต่ละราย ให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับปกติอย่างเร็วที่สุด


ข้อมูลเพิ่มเติมศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลพระรามเก้า: https://www.praram9.com/advancedspinecenter/


สรุป


การล้มก้นกระแทกหรือการตกจากที่สูงเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือของกระดูกสันหลัง และอาจไปกดโพรงประสาทหรือเส้นประสาทไขสันหลังทำให้ปวดหลัง ชา หรือขยับแขนขาไม่ได้ ยิ่งถ้าเกิดในผู้สูงอายุซึ่งมวลกระดูกน้อยลงหรือมีกระดูกพรุน ก็ยิ่งทำให้กระดูกสันหลังบาดเจ็บหรือหักได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ การหกล้ม น่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด แต่หากเกิดการบาดเจ็บขึ้นแล้ว ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเพื่อทำการตรวจและรักษาให้ทันท่วงที


ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)


เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. ศุภกิจ พิมลธเรศ

นพ. ศุภกิจ พิมลธเรศ

ศูนย์กระดูกและข้อโรงพยาบาลพระรามเก้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital