บทความสุขภาพ

Knowledge

กระดูกสันหลังหักจากการลื่นล้มหรือตกจากที่สูง ต้องรักษาอย่างไร ?

นพ. ศุภกิจ พิมลธเรศ

อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ การตกจากที่สูงก็เป็นอุบัติเหตุหนึ่งที่เกิดขึ้นได้โดยไม่คาดฝัน ซึ่งอาจตกกระแทกรุนแรงจนทำให้กระดูกสันหลังหัก และรุนแรงจนไปกดโพรงประสาทหรือเส้นประสาทไขสันหลังได้ ซึ่งหากรักษาช้า หรือไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้พิการได้ และยิ่งเกิดกับผู้สูงอายุที่กระดูกบางหรือมีกระดูกพรุนอยู่แล้ว ยิ่งเสี่ยงกระดูกสันหลังหักได้ง่ายขึ้น


เรามาทำความเข้าใจการบาดเจ็บและการหักของกระดูกสันหลัง อาการ การวินิจฉัย รวมไปถึงการรักษา เพื่อเป็นแนวทางหากคนใกล้ตัวหรือตัวคุณเองประสบอุบัติเหตุดังกล่าว

กระดูกสันหลังหักหรือการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง แบบ burst fracture


Burst fracture คือ การบาดเจ็บ (การแตกหัก) ชนิดหนึ่งของกระดูกสันหลัง ซึ่งจะเกิดจากการที่ลำกระดูกสันหลัง ได้รับแรงกดกระแทกที่รุนแรงในแนวดิ่ง พร้อมกับมีการก้ม จนทำให้ลำกระดูกสันหลังส่วนหน้าและส่วนกลาง มีการแตก ยุบ พร้อมกระจายตัวออกรอบๆ จนไปกดทับโพรงประสาทด้านหลังซึ่งทำให้มีการบาดเจ็บไขสันหลังหรือเส้นประสาทอย่างรุนแรงได้


สาเหตุที่ทำให้กระดูกสันหลังหัก


โดยทั่วไปสาเหตุการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังมักเกิดจากการตกจากที่สูง ก้นกระแทกพื้นอย่างรุนแรง การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถยนต์หรือจักรยานยนต์ หรือในกรณีผู้สูงอายุที่มีภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) อาจเกิดจากการลื่นล้มก้นกระแทกพื้นได้ มักพบว่าเกิดในตำแหน่งบริเวณรอยต่อระหว่างกระดูกสันหลังส่วนอกและเอว


อาการที่บ่งบอกว่ามีกระดูกสันหลังหัก


อาการที่พบหลังบาดเจ็บ คือ การปวดรุนแรงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ ไม่สามารถขยับหรือเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ ในกรณีที่ชิ้นกระดูกที่แตกและเคลื่อนไปกดทับไขสันหลัง หรือเส้นประสาท จะทำให้มีอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับ มีอาการอ่อนแรงของขา มีการรับรู้หรือรับสัมผัสที่ผิดปกติเช่น การชาขา


การวินิจฉัยกระดูกสันหลังหัก


การวินิจฉัยเบื้องต้นทำได้ด้วยการตรวจx-rays กระดูกสันหลังบริเวณที่สงสัย และทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อให้เห็นตำแหน่งการหักและการบาดเจ็บของเส้นประสาทให้ชัดเจนขึ้น ได้แก่


  1. การทำ CT scan (เอกซเรย์คอมพิวเตอร์) เพื่อประเมินลักษณะการแตกหัก เคลื่อนตัวของกระดูกสันหลัง
  2. การทำ MRI (เอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) แนะนำให้ทำทุกรายที่มีการบาดเจ็บของเส้นประสาท หรือการบาดเจ็บไขสันหลัง และเพื่อการประเมินกลุ่มเอ็นด้านหลังของกระดูกสันหลังร่วมด้วย

การรักษาการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง


การรักษาแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ


  1. รักษาโดยการไม่ผ่าตัด (non-operative treatment) ใช้ในรายที่มีการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง ไม่มีการกดทับของไขสันหลังหรือเส้นประสาท ข้อกระดูกสันหลังมีความมั่นคง (stable burst fracture) กระดูกสันหลังส่วนที่ยุบเกิดการค่อมไม่มากนัก ผู้ป่วยที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ให้นอนพัก ในช่วงแรก ให้ยาบรรเทาอาการปวด และใส่อุปกรณ์พยุงหลังเพื่อช่วยเสริมความมั่นคงในการเคลื่อนไหว เช่น นั่ง ยืน เดิน โดยต้องใส่จนกระดูกแข็งแรงเป็นปกติ (ประมาณ 8-12 สัปดาห์)
  2. การรักษาโดยการผ่าตัด (operative treatment) ใช้ในรายที่มีการบาดเจ็บของไขสันหลัง หรือเส้นประสาทถูกกดทับ หรือมีภาวะไม่มั่นคงของกระดูกสันหลัง (unstable burst fracture) โดยทำการยึดตรึงกระดูกสันหลังด้วยโลหะดามกระดูกสันหลัง เพื่อจัดกระดูกให้เข้าที่ร่วมกับเปิดโพรงประสาทเพื่อลดการกดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาท


รักษาการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง โดยแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลพระรามเก้า


ศูนย์กระดูกสันหลัง พระรามเก้า ได้รวบรวมแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังไว้หลายท่าน ทางศูนย์ฯสามารถผ่าตัดและรักษาการบาดเจ็บและความผิดปกของกระดูกสันหลังได้ครอบคลุมทุกวิธี ทั้งการรักษาเบื้องต้นที่ไม่ซับซ้อน การผ่าตัดส่องกล้อง ผ่าตัดแผลเล็ก ไปจนถึงการรักษาที่มีความซับซ้อน


ทีมแพทย์ของศูนย์ฯ ทุกท่านมีประสบการณ์ ความชำนาญ และทำงานร่วมกันเป็นทีมในการประเมินและวางแผนการรักษาให้ผู้ป่วยแต่ละราย แล้วเลือกการรักษาที่ดีและรวดเร็วที่สุด เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยแต่ละราย ให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับปกติอย่างเร็วที่สุด


ข้อมูลเพิ่มเติมศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลพระรามเก้า: https://www.praram9.com/advancedspinecenter/


สรุป


การล้มก้นกระแทกหรือการตกจากที่สูงเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือของกระดูกสันหลัง และอาจไปกดโพรงประสาทหรือเส้นประสาทไขสันหลังทำให้ปวดหลัง ชา หรือขยับแขนขาไม่ได้ ยิ่งถ้าเกิดในผู้สูงอายุซึ่งมวลกระดูกน้อยลงหรือมีกระดูกพรุน ก็ยิ่งทำให้กระดูกสันหลังบาดเจ็บหรือหักได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ การหกล้ม น่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด แต่หากเกิดการบาดเจ็บขึ้นแล้ว ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเพื่อทำการตรวจและรักษาให้ทันท่วงที


ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)


เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. ศุภกิจ พิมลธเรศ

นพ. ศุภกิจ พิมลธเรศ

ศูนย์กระดูกและข้อโรงพยาบาลพระรามเก้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital