บทความสุขภาพ

Knowledge

การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ทางเลือกควบคุมน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

พญ. ณัฐกานต์ มยุระสาคร

Self-Monitoring of Blood Glucose (SMBG)


คือ การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง โดยการเจาะเลือดที่ปลายนิ้วและเครื่องตรวจระดับน้ำตาล (glucometer) ทำได้สะดวกที่บ้าน


ประโยชน์ของการตรวจ SMBG


  • รู้ระดับน้ำตาลในเลือดทันที เพื่อใช้ตรวจสอบเมื่อมีอาการผิดปกติ สงสัยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือน้ำตาลในเลือดสูง เมื่อมีอาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน ก่อนและหลังการออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น การขับรถทางไกล และก่อนฉีดยาอินซูลิน เป็นต้น
  • ช่วยลดอาการฉุกเฉินของโรคเบาหวาน ได้แก่ น้ำตาลในเลือดต่ำ และน้ำตาลในเลือดสูง
  • ช่วยลดน้ำตาลสะสม โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่ง
  • ช่วยลดโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน เช่น เบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงไต เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม โดยเฉพาะในเบาหวานชนิดที่หนึ่ง
  • ช่วยในการปรับพฤติกรรม (lifestyle modification) เลือกรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย และช่วยปรับยาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง

ใครบ้างควรตรวจ SMBG


  • ผู้ที่ใช้ยาฉีดอินซูลิน ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่ง ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองที่ฉีดอินซูลินมากกว่า 2 ครั้งต่อวัน
  • เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • เป็นโรคเบาหวาน และมีความตั้งใจอยากคุมน้ำตาลให้ดีขึ้น เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน
  • มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อย เช่น เหงื่อแตก ใจสั่น หน้ามืด ตาลาย หิว โหยของหวานนอกมื้ออาหาร หรือช่วงกลางคืน

วิธีเลือกเครื่องตรวจระดับน้ำตาล (glucometer)


ควรเลือกที่มีการรับรองจาก US FDA หรือองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอมเริกา หรือมาตรฐาน ISO โดยตรวจสอบได้ที่ https://consumerguide.diabetes.org/collections/meters เครื่องควรมีความคลาดเคลื่อนจากผลตรวจในห้องปฎิบัติการน้อยกว่าร้อยละ 15


สิ่งรบกวนการตรวจ ได้แก่ การรับประทานยาวิตามินซีในขนาดสูง หรือภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ


แบบแผนในการตรวจ SMBG และค่าเป้าหมาย


แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย การวางแผนที่ดีทำให้ได้รับประโยชน์เต็มที่จากการตรวจ ยกตัวอย่าง เช่น


  • ตรวจก่อนฉีดยาอินซูลินในผู้ป่วยที่ฉีดอินซูลินเพื่อปรับปริมาณยาฉีด โดยค่าน้ำตาลเป้าหมายก่อนอาหารโดยทั่วไปจะเท่ากับ 80-130 มก.ต่อดล. เพื่อให้ได้ค่าน้ำตาลสะสม (HbA1C) 6.5 -7% โดยมีการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่งพบว่าเมื่อตรวจบ่อยขึ้นหลาย ๆ ครั้งต่อวัน น้ำตาลสะสมจะลดลงตามจำนวนครั้งของการตรวจ
  • ตรวจหลังรับประทานอาหาร น้ำตาลในเลือดขึ้นสูงสุด 1-2 ชั่วโมงหลังอาหาร เพื่อเรียนรู้ผลของอาหารต่อระดับน้ำตาลในเลือด ค่าเป้าหมายทั่วไป น้อยกว่า 180 มก.ต่อดล. เพื่อให้ได้ค่าน้ำตาลสะสม HbAC 6.5-7%
  • ตรวจก่อนนอนในผู้ป่วยที่ฉีดยาอินซูลิน เพื่อใช้ปรับยาและป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ตรวจเมื่อมีอาการสงสัยน้ำตาลในเลือดต่ำ เพราะอาการเกิดจากสารอะดรีนาลีนหลั่งซึ่งมีหลายสาเหตุ บางครั้งการดื่มของหวานชื่นใจทำให้อาการดีขึ้น ทั้งที่ไม่ได้มีน้ำตาลในเลือดต่ำจริงก็ได้ หรือในทางกลับกันบางคนน้ำตาลในเลือดต่ำเหลือ 65 มก.ต่อดล.แต่ไม่มีอาการ เพราะน้ำตาลต่ำบ่อย จนร่างกายปรับตัว ไม่มีอาการเตือน ซึ่งอันตรายกว่า
  • ตรวจเมื่อมีอาการน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย คอแห้ง หิวน้ำ เพลีย ไม่มีแรง เป็นต้น
  • ตรวจเมื่อเจ็บป่วยเฉียบพลัน เนื่องจากเป็นช่วงที่ระดับน้ำตาลในเลือดแกว่ง อาจต่ำหรือสูงกว่าปกติได้

แพทย์จะกำหนดแบบแผนในการเจาะเลือดที่ชัดเจน เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วน ไม่มีอคติ (bias) จากการสุ่มเจาะ และการใช้เครื่องรุ่นที่ส่งข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ได้ จะช่วยลดความคลาดเคลื่อนการจากบันทึกข้อมูลไม่ตรงตามความจริง และการสรุปผลที่ดูง่าย ชัดเจน เข้าใจง่าย ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจรูปแบบการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในแต่ละช่วงเวลาของวันได้ดีขึ้น เพื่อปรับพฤติกรรม อาหาร และการออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสม


แพทย์จะกำหนดเป้าหมายที่แตกต่างกันสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย และแนะนำวิธีแก้ไขเบื้องต้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป เช่น รับประทานอาหารกลุ่มแป้งเพิ่มขึ้น หรือปรับยา เป็นต้น


การสรุปผลการตรวจ SMBG ที่ดีจะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจตนเอง ปรับพฤติกรรม และช่วยให้แพทย์ปรับการรักษาได้อย่างเหมาะสม เพื่อลดอาการแทรกซ้อนทั้งฉุกเฉินเฉียบพลัน และโรคแทรกซ้อนเรื้อรังระยะยาวของโรคเบาหวานได้

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. ณัฐกานต์  มยุระสาคร

พญ. ณัฐกานต์ มยุระสาคร

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนให้หายดี ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สัญญาณเตือนที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

เนื้องอกมดลูก อันตรายใกล้ตัวของผู้หญิงที่ไม่ควรมองข้าม

เนื้องอกมดลูก มีสาเหตุมาจากเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกเจริญผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่แสดงอาการ และผู้ป่วยบางส่วนอาจมีอาการปวดท้องน้อยรุนแรง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย

ต่อมลูกหมากโต (BHP) อาการเป็นอย่างไร รักษาวิธีไหนได้บ้าง?

โรคต่อมลูกหมากโต (BPH) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากขยายใหญ่ขึ้น ส่งผลให้ปัสสาวะติดขัดและกระทบต่อคุณภาพชีวิต มักพบได้บ่อยในผู้ชายวัยกลางคนอายุ 50 ปีขึ้นไป

รู้ทันอาการริดสีดวงทวาร กับพฤติกรรมเสี่ยงที่ต้องระมัดระวัง

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital