บทความสุขภาพ

Knowledge

โรคไตเรื้อรัง สาเหตุเกิดจากอะไร พร้อมแนะนำวิธีการรักษา

สถานการณ์โรคไตในปัจจุบัน ข้อมูลจากการศึกษาจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง ประมาณร้อยละ 17.6 ของคนไทยป่วยเป็นโรคไต คิดเป็นผู้ป่วยราว 8 ล้านคน 80,000 คนเป็นไตวายระยะสุดท้าย และมีแนวโน้มมากขึ้นเป็นทุกปี ๆ


โรคไตเรื้อรังเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศไทย เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด จำเป็นต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมาก โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่โรคไตวายระยะสุดท้าย


ถ้าเกิดภาวะไตวาย ไตหยุดทำงาน ของเสียจะคั่งค้างในเลือดและร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ซีด โลหิตจาง คันตาตัว มีจ้ำตามตัว อาเจียนเป้นเลือด น้ำท่วมปอด กระดูกเปราะบางหักง่าย ปวดกระดูก ถ้าของเสียค้างในสมองมากๆจะมีอาการชักและสมองหยุดทำงาน นอกจากนี้ผู้ป่วยจะเป็นหมัน และหมดสมรรถภาพทางเพศ ถ้าเกิดโรคไตวายในเด็ก เด็กจะแคระแกรนหยุดการเจริญเติบโต โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นโรคไตวาย ได้แก่ โรคเบาหวาน , ไตวายจากเนื้อเยื่อไตอักเสบ , ความดันโลหิตสูง , ไขมันสูง , โรคเอสแอลอี (SLE), โรคเก๊าท์, นิ่วที่ไตและทางเดินปัสสาวะ, ไตวายจากพันธุกรรม, ทางเดินปัสสาวะผิดปกติมาตั้งแต่เกิด ในกรณีที่ไตวายถาวรแล้ว ไม่ว่าด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม ปัจจุบันนี้วงการแพทย์เราก็มีวิธีการรักษาผู้ป่วยไตวายให้มีชีวิตยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้


วิธีการรักษาโรคไตวายเรื้อรัง


มี 3 วิธี ดังนี้


วิธีแรก


คือ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) เป็นการนำเลือดของผู้ป่วยซึ่งมีของเสียคั่งค้าง ผ่านเข้าไปในเครื่องกรองเลือด ซึ่งจะกรองของเสียจากเลือดและนำเลือดที่ถูกกรองจนสะอาดแล้วกลับสู่ร่างกายผู้ป่วย


วิธีที่สอง


คือ วิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยา (CAPD) วิธีนี้ผู้ป่วยจะต้องใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้องตนเอง ครั้งละ 2 ลิตร วันละ 4 ครั้ง ครั้งละ 6 ชั่วโมง หรือทำกลางคืนตลอดทั้งคืนทุกๆวัน


วิธีที่สาม


คือ การเปลี่ยนไต หรือ ปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation) เป็นวิธีการรักษาโรคไตวายเรื้อรังที่ดีที่สุด


ผ่าตัดเปลี่ยนไตทำได้ 2 วิธี


1.การผ่าตัดเปลี่ยนไตจากผู้บริจาคที่เสียชีวิตสมองตาย


ซึ่งขณะที่ผู้เสียชีวิตยังมีชีวิตอยู่ได้เคยยื่นแสดงความจำนงต้องการบริจาคอวัยวะให้กับศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทยไว้ หรือในกรณีที่ผู้เสียชีวิตไม่เคยยื่นแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะมาก่อน แต่ครอบครัวต้องการบริจาคอวัยวะ ก็สามารถยื่นแสดงความจำนงต่อศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย แทนผู้เสียชีวิตได้


2.การผ่าตัดเปลี่ยนไตจากผู้บริจาคที่มีชีวิต


ได้แก่จากญาติพี่น้องร่วมสายโลหิต หรือจากคู่สมรส กรณีที่เป็นผู้บริจาคไตที่เป็นญาติพี่น้อง กฎหมายของประเทศไทยกำหนดว่าต้องมีการพิสูจน์ความสัมพันธ์กันทางสายเลือดก่อน ส่วนคู่สมรสที่จะบริจาคไตให้กันได้ ต้องจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายมาอย่างน้อย 3 ปี หรือต้องมีบุตรด้วยกันที่สามารถตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์ของคู่สมรสได้


ปัจจุบันแพทย์ไทยเรามีความรู้ความสามารถในการผ่าตัดเปลี่ยนไต และประสบผลสำเร็จได้ดีทัดเทียมกับต่างประเทศ ผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนไตสำเร็จแล้ว จะสามารถมีชีวิตยืนยาวและดำรงชีวิตด้วยคุณภาพที่ดี ประกอบอาชีพได้ สามารถทำประโยชน์ต่างๆให้สังคมได้เหมือนคนปกติทั่วไป

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนให้หายดี ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital