บทความสุขภาพ

Knowledge

หญิงสูงอายุ

ว่าไปแล้ว นับวันผู้สูงอายุจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ตามความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ที่สามารถเอาชนะโรคภัยหลายโรคที่คอยคร่าชีวิตมนุษย์ให้ตายจากไปเสียก่อนเวลาอันควร มาวันนี้ผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น ก็ใช่ว่าจะดีนักเพราะร่างกายสังขารก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา หากหัวใจไม่หยุดเต้นและสมองยังคงสั่งงาน ชีวิตก็ยังคงดำเนินกันต่อไป ขณะที่อวัยวะทั้งหลายในร่างกายกำลังเสื่อมสภาพลงไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะเรื่องของ “กระดูก”


“กระดูก” ของหญิงวัยสูงอายุ เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดเพราะจากการศึกษาพบว่า นับตั้งแต่วันหมดประจำเดือนย่างเข้ามาถึง กระดูกก็จะเริ่มเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ กระดูกพรุนมากขึ้นเรื่อยๆ ความแข็งแรงของกระดูกจะลดน้อยลงจนกระทั่งเปราะ และหักได้อย่างง่ายๆ กระดูกที่พบว่ามีการสึกกร่อนและหักได้บ่อยๆ ในคุณผู้หญิงวัยสูงอายุ ได้แก่ กระดูกข้อมือ เพราะเพียงแค่คุณผู้หญิงวัยสูงอายุสะดุดขาตัวเองล้มลงอย่างนุ่มนวล พร้อมกับเอามือยันพื้น เพื่อป้องกันศีรษะฟาดตามสัญชาตญาณ เพียงแค่นี้ก็ทำให้กระดูกข้อมือหักได้แล้ว และกระดูกที่สึกกร่อนอย่างเห็นได้ชัดถึงความเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุคือ กระดูกสันหลัง บางรายกระดูกสันหลังโก่งงออย่างชัดเจน และที่พบได้บ่อยที่สุดก็คือ ความสูงของร่างกายที่ลดลงก็เป็นเพราะการสึกกร่อนของกระดูกสันหลังนั่นเอง


อีกแห่งหนึ่งของกระดูกที่แตกหักได้ง่ายกว่าที่คิดเป็นอย่างมากเพราะกระดูกอะไรมีขนาดใหญ่นักหนาแต่สามารถหักได้อย่างคาดไม่ถึง นั่นก็คือ กระดูกสะโพก ครับ…กระดูกสะโพก หรือกระดูกต้นขา หากเกิดหักขึ้นมาคุณก็เดินกันไม่ได้เท่านั้นเอง จนกว่าจะได้รับการแก้ไขด้วยการผ่าตัด ซึ่งก็มิได้รับรองว่าทุกรายจะกลับหายมาเป็นปกติ แล้วคุณจะเสี่ยงกันไหมล่ะ… ลองคิดดูซีครับว่า เมื่อกระดูกมันมาแตกหักจนกลายเป็นคนทุพพลภาพเอาตอนแก่นั้น มันทรมานแค่ไหน การรักษาก็ยุ่งยากเพราะอายุเป็นอุปสรรค การหายจากโรคก็ลำบากเพราะอายุมากแล้ว อะไรๆ ดูเหมือนจะไม่เป็นใจเท่าใดนักเมื่อเหตุมาเกิดเอาตอนอายุมากแล้ว


การป้องกันโรคจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคุณๆ ผู้สูงอายุทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นโรคที่เกิดได้ง่ายในวัยสูงอายุ เช่น โรคมะเร็งต่างๆ หรือโรคแห่งความเสื่อมตามวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคของกระดูก ดังที่ผมได้สาธยายให้ฟังนั่นแหละครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ รักษาใจเต้นผิดจังหวะ ให้กลับสู่ภาวะปกติ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) จะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เครื่องจะช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงกับระดับปกติอีกครั้ง

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital