บทความสุขภาพ

Knowledge

โรคหัวใจและโรคไต: ความสัมพันธ์อันตรายที่ควรรู้

โรคไตและโรคหัวใจเป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน คือกลุ่มโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ (NCD) ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่มีอัตราการเกิดโรคและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในเกือบทุกประเทศทั่วโลก โดยทั้งสองโรคนี้มักจะถูกพูดถึงในลักษณะที่แยกกัน แต่เมื่อเจาะลึกลงไปจะพบว่าทั้งสองโรคมีความเชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้ง ไม่เพียงเพราะว่ามีปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน แต่โรคหนึ่งสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่ออีกโรคหนึ่งได้อีกด้วย


โรคหัวใจ


โรคหัวใจเป็นกลุ่มของความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบหัวใจ ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ การนำไฟฟ้าของหัวใจ และเยื่อหุ้มหัวใจ ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ โรคหัวใจแบ่งออกได้เป็นหลายโรค แต่ละโรคมีสาเหตุและอาการแสดงที่แตกต่างกัน โรคหัวใจที่พบได้บ่อย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือโรคเส้นเลือดแข็งตัว โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย ซึ่งผู้ป่วยโรคหัวใจมักมีอาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจเร็ว ใจสั่น หน้ามืด วูบ หมดสติ หากมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องต่อไป


โรคไต


ไตเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด และควบคุมสมดุลของของเหลวและเกลือแร่ในร่างกาย เมื่อไตทำงานผิดปกติจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น ภาวะน้ำเกิน ภาวะเกลือแร่ในเลือดผิดปกติ และภาวะเลือดจาง


โรคไตสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง อาการของโรคไตเรื้อรังมักค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ผู้ป่วยอาจไม่สังเกตเห็นจนกระทั่งโรคพัฒนาไปถึงระยะรุนแรง เกิดเป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งเป็นภาวะที่ซับซ้อนและมักไม่หายขาด


ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวานหรือความดันโลหิตสูง มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคไตเรื้อรัง การตรวจคัดกรองเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากตรวจพบตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นจะสามารถรักษาและป้องกันไม่ให้โรครุนแรงได้


1_aw_rama9_content3_mar2025_edit190325_01_ver2-1536x1024.jpg2_aw_rama9_content3_mar2025_edit190325_02-1536x1536.jpg
3_aw_rama9_content3_mar2025_1-1-1536x1536.jpg
4_aw_rama9_content3_mar2025_edit190325_04-1536x1536.jpg


ความสัมพันธ์ระหว่างหัวใจและไต


หัวใจและไตเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำงานร่วมกันเพื่อรักษาสมดุลของระบบไหลเวียนของร่างกาย ความสัมพันธ์ของทั้งสองอวัยวะนี้มีความซับซ้อนและส่งผลต่อกันและกัน โดยสามารถอธิบายความสัมพันธ์ได้ดังนี้


  • หัวใจสูบฉีดเลือดส่งเลือดไปเลี้ยงไต: หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย รวมถึงไต เลือดที่ส่งไปเลี้ยงไตจะนำออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็นต่อการทำงานของไต
  • ไตกรองของเสียออกจากเลือด: ไตทำหน้าที่กรองของเสียและสารพิษออกจากเลือด โดยขับของเสียออกจากร่างกายทางปัสสาวะ
  • ไตควบคุมความดันเลือด: ไตช่วยควบคุมความดันเลือด โดยทำหน้าที่รักษาสมดุลของเกลือแร่และน้ำในร่างกาย
  • ไตผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดง: ไตผลิตฮอร์โมนอีริโทรโปอีติน (erythropoietin) ซึ่งจะไปกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง
  • ไตควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือด: ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท

ไตและหัวใจทำงานเป็นแบบพึ่งพาอาศัยกัน หากอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งทำงานผิดปกติไป จะส่งผลต่ออีกอวัยวะหนึ่งด้วย เช่น


  • ในผู้ป่วยโรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจวายเรื้อรัง การทำงานของหัวใจเสียไป สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้น้อยลง ก็จะส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงไต ทำให้ไตทำงานผิดปกติ เกิดเป็นโรคไตเรื้อรังตามมาได้
  • ในผู้ป่วยโรคไต เช่น โรคไตเรื้อรัง ทำให้ขับของเสียและสารพิษออกจากร่างกายได้น้อยลง และของเสียเหล่านี้จะสะสมในเลือด ซึ่งมีผลต่อการทำงานของหัวใจ และทำเกิดเป็นโรคหัวใจตามมาได้

จะเห็นได้ว่าระหว่างการทำงานของหัวใจและไตมีความเกี่ยวข้องกัน ดังนั้นไม่ว่าความผิดปกติจะเกิดขึ้นที่ระบบใด ก็อาจจะผลกระทบต่ออีกระบบได้เช่นกัน


ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคไต


แม้ว่าทั้งสองอวัยวะจะมีหน้าที่การทำงานที่ต่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งโรคหัวใจและโรคไตมีความเสี่ยงของโรคที่คล้ายกัน ได้แก่


  • หลอดเลือดที่เสียความยืดหยุ่น หรือหลอดเลือดแข็งตัว (atherosclerosis) โรคหัวใจและโรคไต มักเกิดจากการแข็งตัวของหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากการที่มีการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ภาวะนี้ทำให้หลอดเลือดตีบ เลือดจึงไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ น้อยลง ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ และไต นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย
  • โรคความดันโลหิตสูง ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นเพราะต้องบีบตัวเพื่อสูบฉีดให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะอื่นๆในร่างกายโดยสู้กับความดันโลหิตที่สูงกว่าปกติ ความดันโลหิตสูงยังส่งผลต่อไต โดยทำให้ความดันในหลอดเลือดไตสูงขึ้น ผนังหลอดเลือดฝอยภายในไตอักเสบ และท่อไตเกิดพังผืด ทำให้ไตทำงานไม่ปกติ ไม่สามารถควบคุมน้ำและเกลือแร่ได้ ยิ่งทำให้ภาวะความดันโลหิตสูงแย่ลง และส่งผลวนเวียนกับไตและหัวใจต่อเนื่องเป็นวัฏจักร
  • โรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงจะส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือด ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือด และหลอดเลือดทั่วร่างกายแข็งตัวรวมถึงหลอดเลือดในไต นผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคไตมากกว่าคนทั่วไป
  • ไขมันในเลือดสูง คอเลสเตอรอลที่สูงจะสะสมในหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และส่งผลเสียต่อไตด้วย
  • โรคอ้วน จะเพิ่มความเสี่ยงของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ล้วนเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ และโรคไต นอกจากนี้โรคอ้วนยังเป็นปัจจัยเสี่ยงโดยตรงของการเกิดโรคไตเรื้อรังผ่านกระบวนการอักเสบของร่างกาย
  • การสูบบุหรี่ บุหรี่มีผลเสียกับหลอดเลือดทั่วร่างกายเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของภาวะหลอดเลือดแข็งตัว เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคไต

การหลีกเลี่ยงปัจจัยเหล่านี้จะช่วยป้องกันโรคไตและหัวใจได้


คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไตและโรคหัวใจ


การดูแลสุขภาพสำหรับผู้ที่มีโรคไตและโรคหัวใจเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจอย่างมาก เนื่องจากทั้งสองโรคนี้มีความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดและสามารถส่งผลกระทบต่อกันได้อย่างที่กล่าวมาข้างต้น


สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ


  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง เช่น เนื้อสัตว์แดงติดมัน และเน้นอาหารที่มีไขมันดี เช่น ปลาที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ผัก ผลไม้ และธัญพืช
  • การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม จะช่วยให้หัวใจแข็งแรงขึ้น
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อลดภาระการทำงานของหัวใจ
  • การหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา
  • วัดความดันโลหิตและระดับคอเลสเตอรอลอยู่เสมอ

สำหรับผู้ป่วยโรคไต


  • จำกัดปริมาณโซเดียม (เกลือ) โปรตีน และโพแทสเซียมในอาหาร ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อลดภาระการทำงานของไต
  • รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
  • การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดในปกติ มีความสำคัญสำหรับผู้เบาหวาน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคไต
  • รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติเพื่อป้องกันความเสียหายต่อไต
  • การหลีกเลี่ยงสารพิษและยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ซึ่งอาจทำให้การทำงานของไตเสียหาย

การป้องกันโรคหัวใจและโรคไต


  • เน้นรับประทานผลไม้ ผัก ธัญพืชไม่ขัดสี และโปรตีนไม่ติดมัน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ และโซเดียมสูง
  • ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ (moderate intensity exercise)
  • รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
  • งดสูบบุหรี่
  • จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์
  • จัดการความเครียด
  • นอนหลับให้เพียงพอ
  • ควรตรวจคัดกรองโรคไต ภาวะความดันโลหิตสูง รวมถึงการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

สรุป


โรคหัวใจและโรคไตมีความเชื่อมโยงและส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน โดยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่อาจนำไปสู่ทั้งสองโรคนี้ได้ การรับประทานอาหารที่เหมาะสม ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก หลีกเลี่ยงบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตรวจวัดความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลเป็นประจำ สำหรับผู้มีเบาหวานควรรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงและผลกระทบจากทั้งโรคไตและโรคหัวใจได้


ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง (5)

ดูทั้งหมด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคไต

แพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคไต

แพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคไต

฿ 990 - 3,690

แพ็กเกจตรวจสมรรถภาพร่างกาย ระบบหัวใจ และปอด (9 Healthy Heart: VO2 MAX)

แพ็กเกจตรวจสมรรถภาพร่างกาย ระบบหัวใจ และปอด (9 Healthy Heart: VO2 MAX)

แพ็กเกจตรวจสมรรถภาพร่างกาย ระบบหัวใจ และปอด (9 Healthy Heart: VO2 MAX)

฿ 9,900

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจพร้อมตรวจหาคราบหินปูนที่หลอดเลือดแดงหัวใจ (9 Healthy Heart: CAC)

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจพร้อมตรวจหาคราบหินปูนที่หลอดเลือดแดงหัวใจ (9 Healthy Heart: CAC)

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจพร้อมตรวจหาคราบหินปูนที่หลอดเลือดแดงหัวใจ (9 Healthy Heart: CAC)

฿ 8,900

แพ็กเกจตรวจคัดกรองเบาหวาน (Diabetic Screening)

แพ็กเกจตรวจคัดกรองเบาหวาน (Diabetic Screening)

แพ็กเกจตรวจคัดกรองเบาหวาน (Diabetic Screening)

฿ 2,790

แพ็กเกจตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง

แพ็กเกจตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง

แพ็กเกจตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง

฿ 4,500

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital