บทความสุขภาพ

Knowledge

ทำความรู้จักกับ LASIK

พญ. ชญาตา เหลี่ยมศิริเจริญ

ทำความรู้จักกับ LASIK


เลสิค (LASIK หรือ LASer In-situ Keratomileusis) เป็นการแก้ไขสายตาผิดปกติแต่กำเนิด คือ สายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด และสายตาเอียง อย่างถาวร โดยมุ่งเน้นการแก้ไขที่กระจกตาเป็นหลัก เปรียบได้กับการเจียรนัยปรับความโค้งของกระจกตาให้ภาพไปตกลงบนจุดที่ชัดของตา


เลสิคประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ

▷ ขั้นตอนที่ 1 : การเปิดฝากระจกตา

แบ่งเป็น 2 วิธี คือ

1. เปิดฝากระจกตาด้วยใบมีด (Microkeratome)

2. เปิดฝากระจกตาด้วยเลเซอร์ (Femtosecond laser) ซึ่งจะให้ความแม่นยำมากกว่า


▷ ขั้นตอนที่ 2 : การยิงเลเซอร์เพื่อปรับความโค้งของกระจกตา

โดยใช้เลเซอร์ชนิด Excimer laser ซึ่งเป็นเลเซอร์ที่มีความจำเพาะกับเนื้อเยื่อกระจกตา ไม่ทำลายเนื้อเยื่อข้างเคียง และสามารถปรับความโค้งของกระจกตาตามค่าสายตาของคนไข้ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว จากนั้นแพทย์จะปิดฝากระจกตากลับสู่ที่เดิม


ใครบ้างเหมาะกับการทำเลสิค


  1. ต้องมีอายุมากกว่า 18 ปี และค่าสายตาควรคงที่อย่างน้อย 1 ปี
  2. ไม่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
  3. ไม่มีโรคประจำตัวอื่นๆที่รุนแรง เช่น เบาหวานที่คุมไม่ได้ หรือโรคภูมิแพ้ตนเอง
  4. ไม่มีโรคของกระจกตา เช่น กระจกตาย้วย ตาแห้งรุนแรง หรือโรคตาอื่นๆ เช่น จอประสาทตาหลุดลอก

ใครบ้าง-เหมาะกับการทำ-Lasik-20-03-2025-1536x1536.webp

PRK คืออะไร ต่างจากเลสิคอย่างไร?

PRK (Photorefractive Keratectomy) เป็นวิธีแก้ไขสายตาโดยไม่แยกชั้นกระจกตา แต่จะลอกผิวกระจกตาด้านนอกสุดออกก่อนยิง Excimer laser เพื่อปรับความโค้งของกระจกตา ก่อนจะปิดกระจกตาด้วยคอนแทคเลนส์นาน 5-7 วันเพื่อลดอาการระคายเคือง เหมาะกับผู้ป่วยที่มีสายตาสั้นและเอียงไม่มาก


ReLEx SMILE คืออะไร ต่างจากเลสิคอย่างไร?

ReLEx SMILE หรือ Refractive lenticule extraction – Small incision lenticule extraction เป็นเทคโนโลยีล่าสุดในการแก้ไขสายตาโดยใช้เลเซอร์ชนิด Femtosecond laser ซึ่งมีความแม่นยำสูงในการแยกชั้นกระจกตาเป็นชิ้นบางๆ (Lenticule) และนำ lenticule นี้ออกแผลซึ่งมีขนาดเล็กประมาณ 3-4 มม. ทำให้รบกวนกระจกตาน้อย


การเลือกวิธีผ่าตัดแก้ไขสายตา ต้องอาศัยการตรวจวิเคราะห์ดวงตาอย่างละเอียด เพื่อให้มั่นใจว่าดวงตาคู่นั้นเหมาะสมกับวิธีที่เลือก ควรปรึกษาจักษุแพทย์ทุกครั้งก่อนการทำการผ่าตัด หากกระจกตาไม่เหมาะสมกับการผ่าตัดแก้ไขด้วยเลเซอร์ จักษุแพทย์จะพิจารณาทางเลือกในการรักษาสายตาด้วยวิธีอื่นๆต่อไป เช่น การผ่าตัดใส่เลนส์เสริม (ICL implantation) เป็นต้น


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

โทร. 1270

Website : www.praram9.com

Line : Praram9lasik

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. ชญาตา เหลี่ยมศิริเจริญ

พญ. ชญาตา เหลี่ยมศิริเจริญ

ศูนย์จักษุ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital