บทความสุขภาพ

Knowledge

แมมโมแกรมกับมะเร็งเต้านม


ตามสถิติบอกว่า มะเร็งของเต้านมผู้หญิงนั้นพบได้เป็นอันดับสองรองจากมะเร็งของปากมดลูก แต่นั่นมัน

จำกัดอยู่ที่อายุไม่เกิน 40 เมื่ออายุผ่านเลขสี่ และย่างเข้าสู่ประตูวัยทอง แชมเปี้ยนของมะเร็งจะตกมา

เป็นของเต้านมในทันที ด้วยเหตุนี้เอง การตรวจเต้านมเพื่อหาทางให้พบมะเร็งเต้านมเสียตั้งแต่เริ่ม

แรก ก่อนที่มันจะลุกลามเป็นมากจนหมดหนทางแก้ไข จึงดูเหมือนจะมีความจำเป็นต่อคุณผู้หญิงที่มี

อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป จะทำได้อย่างไร ก็มีอยู่สองวิธีใหญ่ ๆ คือ


หนึ่งตรวจดูการใช้มือคลำ ซึ่งแบ่งได้เป็นสองทาง


ทางที่หนึ่ง คือ ใช้มือของคุณเอง ตามตำราบอกว่าคุณใช้มือของคุณเองตรวจคลำหาก้อน หรือความผิด

ปกติอย่างอื่นของเต้านมคุณ เพียงแค่เดือนละหนึ่งครั้งก็เพียงพอแล้ว ความจริงแล้ว การใช้มือคลำแต่

เพียงอย่างเดียวก็ดูจะไม่ดีเท่าใช้ตาดูด้วย ซึ่งฟังดูแล้วมันช่างตรงข้ามกับคำพังเพยที่ว่า “สิบตาเห็น

ยังไม่เท่ามือคลำ” แต่ในกรณีของมะเร็งเต้านมนั้น คุณควรจะใช้ทั้งตาดู และมือคลำด้วยก็จะทำให้

ละเอียดมากยิ่งขึ้น


ทางภาคปฏิบัติ ก็คงไม่มีอะไรยุ่งยาก เพียงแค่คุณนั่งอยู่ตรงหน้ากระจกบานใหญ่ที่สามารถมองเห็นได้

ทั่วทรวงอกของคุณ เมื่อได้สถานที่ที่เหมาะสม โดยมีคุณนั่งถอดเสื้ออย่างหมดจด ไม่ต้องอายใครหรือ

แม้แต่อายตนเอง จากนั้นคุณก็ลองยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ กางแขนออกไปข้างๆ ทั้งนี้เพื่อดูว่าเต้านม

ทั้งสองข้างมีการเคลื่อนไหวอย่างมีสมดุลย์กันหรือไม่ หรือว่ามีอะไรมาดึงรั้งกันบ้างหรือเปล่า เมื่อดู

เรียบร้อยแล้ว ตรงนี้ก็มาถึงการใช้มือคลำหาก้อนเนื้องอก คุณก็ต้องคลำให้ทั่วเต้าทั้งสองข้างรวมไปถึง

บริเวณจั๊กแร้ ซึ่งเป็นที่สิ้นสุดของเต้านม คือส่วนที่เรียกว่าหางของเต้านม เมื่อคุณดูและคลำแล้วไม่พบ

อะไรผิดปกติไปจากที่เคยเป็นอยู่ คุณก็ปฏิบัติเช่นที่ว่านี้ทุกๆ เดือน เดือนละครั้งก็พอ ถ้าหากพบอะไร

ผิดปกติจะด้วยว่าพบก้อน หรือคลำแล้วเจ็บ หรือดูแล้วเต้านมมันผิดเพี้ยนผิดรูปผิดร่างไปจากเดิม

คราวนี้แหละคุณควรไปพบแพทย์ได้เลย เพื่อให้คุณหมอได้ตรวจดูซิว่าสิ่งที่คุณพบนั้นมันผิดปกติอย่าง

ไรหรือไม่ และต้องทำอย่างไรกันต่อไป นั่นเป็นอีกทางหนึ่งในเรื่องของการดูและคลำ ทีนี้ถ้าหากตรวจ

แล้วไม่พบอะไรผิดปกติ ก็ใช่ว่าคุณจะปลอดภัยจากมะเร็งของเต้านมร้อยเปอร์เซ็นต์


มันจึงต้องมีวิธีการตรวจสอบอีกวิธีหนึ่งตามมา คือ วิธีการตรวจโดยการใช้

เครื่องมือทางการแพทย์ ที่มีชื่อว่า “MAMMOGRAM”“แมมโมแกรม” ผมเข้าใจ

ว่าคุณๆ ผู้หญิงส่วนใหญ่จะรู้จักเจ้าเครื่องตรวจมะเร็งเต้านมที่ชื่อว่า แมมโมแกรม นี้ดี และบ้างก็เคย

ผ่านการตรวจมะเร็ง ขณะที่บ้างก็ยังไม่เคยที่ไม่เคยก็ใช่ว่าไม่มีโอกาส แต่เป็นเพราะกลัวเสียเป็นส่วน

มาก คือ กลัวเจ็บ เพราะคุณๆ ที่เคยตรวจมาก่อนมักจะมาบอกว่า การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่อง

แมมโมแกรมนั้น จะทำให้เจ็บเพราะถูกเครื่องมือมันหนีบเต้าเอา ก็ต้องยอมรับนะครับว่า มันก็คงจะ

เจ็บบ้าง เจ็บมากเจ็บน้อยก็แล้วแต่คน หากคุณกลัวมันก็อาจจะเจ็บ แต่ถ้าไม่กลัว มันก็คงจะไม่เจ็บ

เหมือนการฉีดยานั่นแหละครั้ง จะบอกว่าฉีดยาแล้วไม่เจ็บ มันก็โกหกกันเกินไป เจ็บนะเจ็บเพราะเข็ม

มันแทง แต่จะเจ็บมากหรือเจ็บน้อย นั่นก็แล้วแต่คน แต่สุดท้ายความเจ็บก็จะหายไป และแมมโม

แกรมก็จะไม่ทำให้เต้าเสียรูป แม้แต่คุณผู้หญิงที่ไปเสริมเต้ามาแล้วก็ยังสามารถมาตรวจมะเร็งของ

เต้านมได้ ด้วยการทำแมมโมแกรม


ผมไม่อยากให้คุณผู้หญิงที่อายุเกินกว่า 40 โดยเฉพาะคุณๆ ที่มีประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัวได้

ละเลยการทำแมมโมแกรม ด้วยเพราะความกลัวเจ็บเป็นเหตุ มันไม่เจ็บมากอย่างที่กลัวหรอกครับ

มีหลายคุณบอกว่าถูกหยิกยังเจ็บเสียกว่า แต่ก็เอาละจะเจ็บมากเจ็บน้อยความจริงแล้วมันไม่ใช่ข้ออ้าง

ที่จะไม่ทำแมมโมแกรมเลย เพราะในทุกวันนี้นั้นการตรวจหามะเร็งของเต้านมโดยอาศัยเครื่อง

แมมโมแกรม ดูเหมือนจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด แม้ว่าจะไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ตาม อย่างน้อยถ้าคุณ

ไปตรวจแมมโมแกรมตามโปรแกรมที่กำหนด กล่าวคือ เมื่ออายุเกิน 40 ขึ้นไป คุณก็ควรจะตรวจ

แมมโมแกรมกันปีถึงสองปีต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับความจำเป็นซึ่งแพทย์จะเป็นผู้บอกว่าควรจะตรวจบ่อยแค่

ไหน


จงจำไว้ว่า ขึ้นชื่อว่า “มะเร็ง” แล้ว ถ้าตรวจพบตั้งแต่ต้นมือ โอกาสที่จะรักษาให้หายนั้นมีมาก แต่

ถ้าปล่อยไว้จนกระทั่งเป็นมากแล้ว โอกาสรักษาให้หายก็จะมีน้อยเต็มที หรือแทบจะกำหนดวันตาย

ได้เลย คุณๆ คงไม่ต้องการเช่นนั้นอย่างแน่นอน แล้วจะทำอย่างไรดีหละ คำตอบก็คือการตรวจหา

ให้พบมะเร็งร้ายเสียก่อนที่มันจะเป็นมากนะซีครับ


สำหรับคุณผู้หญิงทั้งหลายก็มีอยู่สองมะเร็งที่สามารถตรวจได้พบตั้งแต่มันแบเบาะ คือ มะเร็งของ

ปากมดลูก กับ มะเร็งของเต้านม สองตัวนี่แหละครับ.


ขณะอาบน้ำ ระหว่างที่ตัวเปียกและลื่น ใช้ส่วนของนิ้วมือที่ราบ คลำทุกส่วนของเต้านม ใช้มือขวา

ตรวจเต้านมซ้าย และใช้มือซ้ายตรวจเต้านมขวา


ขณะส่องกระจก ขณะที่นั่งหรือยืนส่องหน้ากระจกให้สังเกตเต้านมทั้งในขณะที่แขนทั้งสอง

อยู่ข้างลำตัว และขณะที่ยกแขนทั้งสองขึ้น ให้สังเกตว่ามีการเปลี่ยนแปลงของสัณฐานหรือ

การบวมหรือมีรอยบุ๋ม หรือการเปลี่ยนแปลงของหัวนมหรือไม่ จากนั้นให้วางมือทั้งสอง

ที่เอว กดเอวแน่นๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าอกเกร็งตัว แล้วสังเกตลักษณะของเต้านม ทำนอง

เดียวกับข้างต้น

ขณะนอนราบ ใช้แผ่นหลังนอนทับหมอนเพื่อให้หน้าอกแอ่นขึ้น ใช้แขวนขวาหนุนศีรษะใน

ขณะที่ใช้มือซ้ายตรวจเต้านมของ ให้ใช้มือลูบคลำเป็นวงกลมจากด้านนอกสุด ตั้งแต่จุด 12

นาฬิกา ค่อยๆ เคลื่อนมือตามเข็มนาฬิกาจนครบรอบ แล้วขยับมือเข้ามาประมาณ 1 นิ้ว คลำ

เป็นวงกลมจนครบวงในลักษณะเดียวกัน จนกระทั่งเมื่อถึงหัวนม ให้บีบดูว่ามีเลือดออกหรือ

ของเหลวซึมออกมาหรือไม่ การตรวจเต้านมซ้ายก็ทำในท่ากลับกัน


หากการตรวจข้างต้นพบมีก้อนผิดปกติ หรือมีของเหลวซึมจากหัวนมยังไม่ต้องตกใจ ส่วนใหญ่ที่พบ

ไม่ใช่มะเร็ง จะต้องนัดพบแพทย์เพื่อรับการตรวจจากแพทย์ต่อไป


มะเร็งเต้านม


พบมากเป็นอันดับสองของมะเร็งที่เกิดในผู้หญิงไทย รองจากมะเร็งปากมดลูก การตรวจพบมะเร็ง

เต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ก่อนการแพร่กระจายจะนำไปสู่การรักษาที่ทันท่วงที และมีการพยากรณ์

โรคที่ดี การเอ็กซเรย์เต้านม เป็นวิธีการตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้นที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก


เมื่อไรควรทำการเอ็กซเรย์เต้านม


อายุ 30-35 ปี ตรวจเป็นพื้นฐาน (Base line)

อายุ 35-49 ปี ตรวจทุก 1-2 ปี

อายุ 50 ปีขึ้นไป ตรวจปีละ 1 ครั้ง


โรงพยาบาลพระรามเก้า มีเครื่องเอ็กซเรย์เต้านมที่มีประสิทธิภาพสูง ให้ภาพชัดเจนในการวินิจฉัย

มะเร็งเริ่มแรก


เชิญติดต่อและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาลพระรามเก้า หรือปรึกษาแพทย์ของท่าน




เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนให้หายดี ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สัญญาณเตือนที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

เนื้องอกมดลูก อันตรายใกล้ตัวของผู้หญิงที่ไม่ควรมองข้าม

เนื้องอกมดลูก มีสาเหตุมาจากเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกเจริญผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่แสดงอาการ และผู้ป่วยบางส่วนอาจมีอาการปวดท้องน้อยรุนแรง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย

ต่อมลูกหมากโต (BHP) อาการเป็นอย่างไร รักษาวิธีไหนได้บ้าง?

โรคต่อมลูกหมากโต (BPH) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากขยายใหญ่ขึ้น ส่งผลให้ปัสสาวะติดขัดและกระทบต่อคุณภาพชีวิต มักพบได้บ่อยในผู้ชายวัยกลางคนอายุ 50 ปีขึ้นไป

รู้ทันอาการริดสีดวงทวาร กับพฤติกรรมเสี่ยงที่ต้องระมัดระวัง

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital