บทความสุขภาพ

Knowledge

โนโรไวรัส (Norovirus) ระบาดหนัก ควรเฝ้าระวังอาการท้องเสีย

โนโรไวรัสการติดเชื้อที่ควรระวัง

ในช่วงนี้หลายๆคนอาจจะได้ยินเรื่องการติดเชื้อโนโรไวรัสที่มักระบาดในช่วงฤดูหนาว ทำให้มีอาการทางเดินอาหาร เช่น อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย มีไข้ อ่อนเพลีย และมีภาวะขาดน้ำ ซึ่งถ้าในคนที่มีอาการรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม


โนโรไวรัสแพร่กระจายอย่างไร

เชื้อโนโรไวรัสแพร่กระจายได้ง่าย จากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีการปนเปื้อนเชื้อโนโรไวรัส การสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสและเอามือเข้าปาก การสัมผัสจากน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระที่มีเชื้อ การสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง ซึ่งสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยมักมีอาการรุนแรงในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่


อาการติดเชื้อโนโรไวรัส

คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว มีไข้ อ่อนเพลีย รับประทานอาหารได้น้อย ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว


การตรวจและดูแลรักษา

แพทย์จะถามประวัติอาการตรวจร่างกาย รวมทั้งอาจส่งอุจจาระเพื่อส่งตรวจหาเชื้อสาเหตุ หากตรวจพบว่ามีการติดเชื้อโนโรไวรัสแพทย์จะให้การดูแลรักษาตามอาการเป็นสำคัญ โดยทั่วไปมักมีอาการดีขึ้นใน 2-3 วัน อย่างไรก็ตามในเด็กเล็กหรือผู้มีอาการรุนแรง เช่น มีภาวะขาดน้ำ หรืออาเจียนถ่ายเหลวปริมาณมาก แพทย์อาจแนะนำให้รักษาตัวในโรงพยาบาลโดยให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดเพื่อรักษาภาวะขาดน้ำ รวมถึงให้ยาแก้อาเจียน ยาแก้ปวดท้องและยาช่วยลดอาการถ่ายเหลวและเฝ้าระวังภาวะความดันต่ำหรือช็อคจากการขาดน้ำ


การป้องกัน


  1. ควรล้างมือด้วยสบู่ ก่อนการรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
  2. หลีกเลี่ยงการเอามือเข้าปากโดยเฉพาะในเด็กเล็ก
  3. ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด จากแหล่งที่เชื่อถือได้
  4. หลีกเลี่ยงการหยิบจับอาหาร หรือปรุงอาหารให้ผู้อื่น
  5. ใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น

ในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หากมีอาการอาเจียน ท้องเสีย หรือมีไข้ ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด หากมีอาการรุนแรงควรรีบพามาพบแพทย์เพื่อรับการดูและรักษาที่เหมาะสมต่อไป

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital