บทความสุขภาพ

Knowledge

จิตเวช: ความฉลาดทางอารมณ์

จิตเวช: ความฉลาดทางอารมณ์

ความฉลาดทางอารมณ์

โดย อ.วรนันท์ ศรียากร


ในปัจจุบันผู้ปกครองหลายท่านให้ความสนใจสอบถามเกี่ยวกับ “EQ” กันมาก หลายท่านพอจะเข้าใจบ้าง และอีกหลายท่านเพียงแต่เคยได้ยินเท่านั้น ผู้ปกครองท่านหนึ่ง เดินเข้ามาด้วยใบหน้าวิตกกังวลและบอกว่า “ครูประจำชั้นของลูกบอกว่า ลูกของดิฉัน “EQ” ต่ำ หมายความว่ายังไงคะ?”


เพื่อที่จะตอบคำถามนี้ เราควรมาทำความเข้าใจในเรื่องของ “EQ” กันก่อน “EQ” (Emotional Quotient หรือ Emotional Intelligence) หรือในภาษาไทย มีชื่อเรียกว่า ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ มีจิตใจที่มั่นคง การมองโลกในแง่ดี รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีความมุ่งมั่นแน่วแน่ มีเหตุผล มีสติ สามารถควบคุมตนเอง มีความสามารถในการรับรู้ถึงความต้องการของคนอื่น และรู้จักมารยาททางสังคม พูดง่ายๆ ก็คือ คนที่มี “EQ” ดี จะเป็นคนที่สามารถแสดงออกทางพฤติกรรมต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ตามวัยของตน และสามารถอยู่กับคนอื่นๆ ในสังคมได้อย่างดีนั่นเอง


“EQ” และ “IQ” เป็นของคู่กัน “IQ” หมายถึง ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ ทำความเข้าใจ ความสามารถในการจดจำสิ่งต่างๆ และสามารถนำมาประเมินค่าได้ เท่าที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่มักจะเน้นอยากให้บุตรหลานเรียนเก่งๆ ซึ่งนั่นก็คือ การเน้นที่ “IQ” อย่างเดียว ซึ่งในปัจจุบันความคิดนี้ไม่น่าจะถูกต้องนัก มีคนหลายคนที่เรียนเก่ง ได้คะแนนสูง ฉลาด แต่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต ในหน้าที่การงาน ดังนั้น คนเราถ้าจะเก่ง จะดี จะฉลาด และประสบความสำเร็จในชีวิต ควรจะต้องมีทั้ง “EQ” และ “IQ” ควบคู่กันไป


ที่ผ่านมา ผู้ปกครอง พ่อ แม่ โรงเรียน มักจะเน้นการเรียนการสอนให้เด็กเป็นคนเก่งทางการเรียน เน้นการได้คะแนนสูงๆ คือ เน้นเฉพาะการพัฒนาด้าน IQ เพียงอย่างเดียว และมองข้ามการพัฒนาด้าน EQ ไป มองข้ามการพัฒนาเด็กให้มีความพร้อมทางจิตใจและอารมณ์ ในการที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม


มีวิธีการง่ายๆ ที่ พ่อ – แม่ ผู้ปกครอง จะสามารถพัฒนา EQ ของลูกได้ โดยการ


เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูก ในการแสดงออกต่างๆ เช่น การเอาใจเขามาใส่ใจเรา การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เป็นต้น

เล่นกับลูก หรือให้ลูกได้มีโอกาสเล่นกับเพื่อนๆ การเล่นนี้ พ่อ – แม่ ผู้ปกครอง อาจจะเป็นผู้นำในการเล่น เช่น “การเล่นแม่งูเอ๋ย” เพื่อให้เด็กรู้จักเคารพกติกา ซึ่งเป็นการฝึกทักษะทางสังคมให้กับเด็กนั่นเอง

ฝึกการรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อให้เด็กเรียนรู้ถึงการทำงานเป็นทีม มากกว่า ข้าเก่งอยู่คนเดียว เพื่อเป็นการเข้าใจถึงการยอมรับความคิดเป็นของคนอื่น เพื่อให้รู้จักการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับคนอื่นๆ เป็นต้น

คุณพ่อ – คุณแม่ ทั้งหลาย ท่านหันมามองบุตรหลานของท่านกันหน่อย ว่าท่านสอนให้ลูกมี “EQ” คู่กับ “IQ” หรือว่าสอนแต่ให้ลูกมี “IQ” อย่างเดียว ถ้าอยากให้อนาคตของชาติเป็นคนดี มีประโยชน์ เป็นคนที่สังคมต้องการ พร้อมทั้งประสบความสำเร็จในชีวิต ถึงเวลาแล้วที่จะหันมาพัฒนา “EQ” ให้ลูกของท่าน ซึ่งการพัฒนา EQ นั้น ท่านสามารถลงมือปฏิบัติเองได้ อย่ามัวหลงเชื่อโฆษณาที่มุ่งเน้นแต่จะทำธุรกิจ หากินกับเด็กอยู่ต่อไปเลยนะคะ ตัวท่านเองนั่นแหละ ที่เป็นคนสำคัญ ที่จะพัฒนา “EQ” ให้กับลูกของท่านได้.

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนให้หายดี ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สัญญาณเตือนที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

เนื้องอกมดลูก อันตรายใกล้ตัวของผู้หญิงที่ไม่ควรมองข้าม

เนื้องอกมดลูก มีสาเหตุมาจากเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกเจริญผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่แสดงอาการ และผู้ป่วยบางส่วนอาจมีอาการปวดท้องน้อยรุนแรง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย

ต่อมลูกหมากโต (BHP) อาการเป็นอย่างไร รักษาวิธีไหนได้บ้าง?

โรคต่อมลูกหมากโต (BPH) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากขยายใหญ่ขึ้น ส่งผลให้ปัสสาวะติดขัดและกระทบต่อคุณภาพชีวิต มักพบได้บ่อยในผู้ชายวัยกลางคนอายุ 50 ปีขึ้นไป

รู้ทันอาการริดสีดวงทวาร กับพฤติกรรมเสี่ยงที่ต้องระมัดระวัง

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital