บทความสุขภาพ

Knowledge

อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง เพื่อวินิจฉัยโรคต่างๆ ในช่องท้องที่ตามองไม่เห็น

ช่องท้องเป็นที่อยู่ของอวัยวะสำคัญมากมาย ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะในช่องท้องไม่สามารถมองเห็นได้เหมือนที่ผิวหนัง หรือบางครั้งกว่าจะทราบว่ามีความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้อง ก็อาจสายเกินไป


การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง เป็นการตรวจที่ใช้อัลตร้าซาวด์ (หรือที่เรียกว่าคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง) ตรวจดูอวัยวะในช่องท้อง โดยแพทย์จะใช้หัวตรวจอัลตร้าซาวด์มาวางที่บริเวณท้อง แล้วตรวจดูอวัยวะภายใน ซึ่งจะทำให้เห็นภาพภายในช่องท้อง และสามารถบอกความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้องได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัย ไม่มีรังสี และไม่รู้สึกเจ็บ

การอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่


อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน


เป็นการตรวจดูอวัยวะบริเวณช่องท้องส่วนบนเหนือระดับสะดือ ได้แก่ ตับ ม้าม ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี ตับอ่อนไต และหลอดเลือดแดงใหญ่ และบริเวณช่องท้องส่วนบนอื่น ๆ


สามารถบอกความผิดปกติของถุงน้ำดีได้ เช่น นิ่วในถุงน้ำดี ถุงน้ำดีอักเสบ ความผิดปกติของไต เช่น มีก้อนที่ไต นิ่วที่ไต ความผิดปกติของตับ ก้อนที่ตับ ภาวะไขมันพอกตับ หรือหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองได้ เป็นต้น


ultrasound-abdomen-1.jpg

อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง


เป็นการตรวจดูอวัยวะบริเวณช่องท้องส่วนล่าง ต่ำกว่าระดับสะดือ ได้แก่ ต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะ มดลูก เป็นต้น เพื่อหาความผิดปกติ เช่น เนื้องอกในมดลูก (ในผู้หญิงที่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับรอบเดือน) ความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ หรือต่อมลูกหมาก เป็นต้น


ultrasound-abdomen-2.jpg

การเตรียมตัวตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง


  • อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน: งดอาหารและเครื่องดื่มที่มีไขมันทุกชนิดก่อนการตรวจประมาณ 6 ชม. (ดื่มน้ำเปล่าได้)
  • อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง: ดื่มน้ำมาก ๆ และอาจต้องกลั้นปัสสาวะไว้ก่อนตรวจ เพื่อให้มีน้ำเต็มกระเพราะปัสสาวะ ซึ่งจะช่วยให้เห็นอวัยวะต่าง ๆ บริเวณช่องท้องส่วนล่างได้ชัดเจนขึ้น
  • หากตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่างอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหาร แต่หากตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบนด้วย ต้องงดอาหารและเครื่องดื่มที่มีไขมันด้วยตามที่กล่าวแล้วข้างต้น

ultrasound-abdomen-3.jpg

อัลตร้าซาวด์ช่องท้องเหมาะกับใคร


  • ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชาย และเพศหญิง โดยแนะนำให้ตรวจร่วมกับการตรวจสุขภาพประจำปี
  • ผู้ที่มีอาการปวดท้องเรื้อรัง
  • ผู้ที่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เช่น ท้องอืด จุกเสียด หรือมีปัญหาการขับถ่าย
  • ผู้หญิงที่มีอาการปวดประจำเดือนรุนแรง ประจำเดือนมามาก ประจำเดือนมาผิดปกติ หรือคลำได้ก้อนที่ท้องน้อย
  • ผู้ที่มีอาการปัสสาวะผิดปกติ

ultrasound-abdomen-4.jpg

ข้อดีของการตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง


  • เป็นการตรวจคัดกรองอวัยวะภายในช่องท้องที่ดี สามารถบอกความผิดปกติได้ตั้งแต่โรคยังไม่รุนแรง
  • เป็นการตรวจที่ไม่เจ็บ
  • ปลอดภัย ไม่มีรังสี
  • การเตรียมตัวก่อนตรวจไม่ยุ่งยาก
  • ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ หลังการตรวจ

ultrasound-abdomen-5.jpg

“สุขภาพของอวัยวะในช่องท้องสำคัญไม่แพ้ส่วนอื่น ๆ อย่าปล่อยให้สายเกินแก้” การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องเป็นการตรวจที่ปลอดภัย ไม่ยุ่งยาก บอกได้ถึงความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้องได้แต่เนิ่น ๆ ก่อนโรคจะลุกลาม และสายเกินไป


ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนให้หายดี ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สัญญาณเตือนที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

เนื้องอกมดลูก อันตรายใกล้ตัวของผู้หญิงที่ไม่ควรมองข้าม

เนื้องอกมดลูก มีสาเหตุมาจากเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกเจริญผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่แสดงอาการ และผู้ป่วยบางส่วนอาจมีอาการปวดท้องน้อยรุนแรง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย

ต่อมลูกหมากโต (BHP) อาการเป็นอย่างไร รักษาวิธีไหนได้บ้าง?

โรคต่อมลูกหมากโต (BPH) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากขยายใหญ่ขึ้น ส่งผลให้ปัสสาวะติดขัดและกระทบต่อคุณภาพชีวิต มักพบได้บ่อยในผู้ชายวัยกลางคนอายุ 50 ปีขึ้นไป

รู้ทันอาการริดสีดวงทวาร กับพฤติกรรมเสี่ยงที่ต้องระมัดระวัง

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital