บทความสุขภาพ

Knowledge

รู้จักโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza)…อาการ การรักษา และการป้องกัน

พญ. มัณฑนา สันดุษฎี

ไข้หวัดใหญ่ (influenza) เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจที่มักมีการระบาดทุกปีในช่วงฤดูฝนถึงฤดูหนาว ซึ่งสามารถพบผู้ป่วยได้ในทุกเพศทุกวัย ซึ่งอาการป่วยมักรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา และความรุนแรงของอาการก็มีความแตกต่างกันตามสภาวะสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละราย และในรายที่รุนแรงก็อาจทำให้เสียชีวิตได้



ไข้หวัดใหญ่คืออะไร?


ไข้หวัดใหญ่หรือ influenza เป็นโรคติดเชื้อไวรัสของระบบทางเดินหายใจที่เรียกว่า influenza virus ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิดหลัก ๆ คือ influenza สายพันธุ์ A และสายพันธุ์ B ไวรัสไข้หวัดใหญ่ติดเชื้อในเยื่อบุทางเดินหายใจทั้งส่วนบนบริเวณจมูก ลำคอ และสามารถลุกลามลงระบบทางเดินหายใจส่วนล่างได้ซึ่งคือบริเวณหลอดลมและปอด



ไข้หวัดใหญ่มีสายพันธ์ุอะไรบ้าง?


เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มี 2 สายพันธุ์หลักที่ก่อโรคในคน คือ ไวรัสสายพันธุ์ A และสายพันธุ์ B แต่ละสายสามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ชนิด รวมเป็น 4 สายพันธุ์ย่อย ดังต่อไปนี้


ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A


ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A สามารถก่อโรคได้ทั้งในคนและในสัตว์ โดยเป็นสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว และทำให้เกิดการระบาดเป็นวงกว้างทั่วโลก ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A สามารถแบ่งย่อยตามชนิดของโปรตีนบนเปลือกของไวรัส ได้เป็นอีก 2 สายพันธุ์ย่อย คือ


  • H1N1
  • H3N2

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B


ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B สามารถก่อโรคได้ในคนเท่านั้น กลายพันธุ์ได้ช้ากว่าสายพันธุ์ A และมักจะทำให้เกิดอาการรุนแรงได้น้อยกว่า โดยแบ่งย่อยได้เป็น 2 ตระกูล คือ


  • Yamagata
  • Victoria


อาการของไข้หวัดใหญ่เป็นอย่างไร?


อาการของไข้หวัดใหญ่ ได้แก่


  • ไข้
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • เจ็บคอ ไอ
  • คัดจมูก
  • ปอดอักเสบติดเชื้อ หรือมีภาวะการหายใจล้มเหลวได้ หากอาการรุนแรง
  • ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
aw_rama9_content3_APRIL2025-1.jpg

ไข้หวัดใหญ่ติดต่ออย่างไร?


ไวรัสไข้หวัดใหญ่ติดต่อจากคนสู่คน ผ่านสารคัดหลั่งที่เป็นละอองฝอย (droplet precaution) ทั้งน้ำมูก น้ำลาย ส่วนมากจะผ่านมาทางการจาม ไอ พูด ซึ่งสารคัดหลั่งเหล่านี้สามารถกระจายได้ไกลถึง 6 ฟุต โดยจะเข้ามาทางจมูก ปากหรือลงปอด บางส่วนซึ่งเป็นส่วนน้อยจะติดต่อทางการสัมผัสสารคัดหลั่งจากสิ่งของแล้วจับบริเวณจมูก ปาก



ระยะฟักตัวของไข้หวัดใหญ่นานกี่วัน?


ไข้หวัดใหญ่มีระยะฟักตัวประมาณ 1-3 วัน



ระยะแพร่เชื้อของไข้หวัดใหญ่


ระยะเวลาการแพร่กระจายเชื้อของไข้หวัดใหญ่ สามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนมีอาการ จนถึง 5-7 วันหลังมีอาการป่วย โดยจะแพร่กระจายเชื้อได้มากที่สุดใน 3-4 วันแรกหลังเริ่มมีอาการ ผู้ป่วยบางกลุ่มจะมีระยะการแพร่กระจายเชื้อที่นานกว่า 7 วันได้ เช่น ในกลุ่มเด็กทารก และกลุ่มผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง



ใครเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง เมื่อติดเชื้อไข้หวัดใหญ่


ผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากไข้หวัดใหญ่ ได้แก่


  • ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
  • ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง
  • หญิงตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง


การรักษาไข้หวัดใหญ่


สามารถรักษาได้โดยการให้ยาต้านไวรัส ซึ่งการเริ่มยาต้านไวรัสภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังมีอาการจะช่วยลดอาการให้หายเร็วขึ้น และลดภาวะแทรกซ้อนได้


ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ได้รับอนุมัติโดย FDA มีทั้งหมด 4 ตัว ได้แก่


  1. Oseltamivir phosphate (trade name Tamiflu®) เป็นยารับประทาน
  2. Aanamivir (trade name Relenza®) เป็นยาผง
  3. Peramivir (trade name Rapivab®) เป็นยาฉีด
  4. Baloxavir marboxil (trade name Xofluza®) เป็นยารับประทาน


ไข้หวัดใหญ่กี่วันหาย?


สำหรับบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรงดี ไข้หวัดใหญ่มักจะหายไปได้ใน 5-7 วันหลังจากเริ่มมีอาการ แต่อาการไอและอ่อนเพลียอาจยังคงอยู่ได้หลายสัปดาห์ แต่ในผู้ที่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ มักจะมีอาการไม่มากและหายได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน



การป้องกันไข้หวัดใหญ่


เนื่องจากไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถติดต่อผ่านละอองฝอยของสารคัดหลั่งที่ฟุ้งกระจายในอากาศจากการจาม ไอ หรือพูดคุย และติดต่อทางการสัมผัสสารคัดหลั่งจากสิ่งของต่าง ๆ ดังนั้นการป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่ จึงสามารถทำได้ 2 แนวทาง คือ


  1. การป้องกันการได้รับเชื้อ ด้วยมาตรการเบื้องต้น ได้แก่
    • ใส่หน้ากากอนามัย
    • ล้างมือด้วยสบู่บ่อย ๆ
    • ใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับมือ
    • หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า
    • หลีกเลี่ยงสถานที่ที่ผู้คนแออัด อากาศไม่ถ่ายเท
    • ไม่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
  2. การป้องกันการติดเชื้อและอาการรุนแรง โดยการเข้ารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรัง และผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน


วัคซีนไข้หวัดใหญ่


วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันการติดเชื้อ และลดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อได้ แนะนำให้ฉีดซ้ำทุกปีก่อนถึงฤดูกาลของการระบาด คือ ช่วงหน้าฝนและหน้าหนาว วัคซีนจะสามารถป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ที่เหมือนหรือคล้ายกับสายพันธุ์ของไวรัสที่ใช้ผลิตวัคซีนเท่านั้น โดยในแต่ละปีสายพันธุ์ที่ใช้ผลิตวัคซีนจะแตกต่างกันไปตามความคาดหมายว่าเชื้อสายพันธุ์ใดจะระบาดในปีนั้น ๆ ถ้าปีใดคาดหมายได้ถูกต้องก็จะป้องกันได้ดี


วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นวัคซีนเชื้อตาย มีแบบ 3 สายพันธุ์และ 4 สายพันธุ์ ในปัจจุบันยังมีวัคซีนแบบ 4 สายพันธุ์แบบขนาดสูง (high dose quadrivalent vaccine) เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้มากกว่าขนาดมาตรฐาน ซึ่งแนะนำให้ฉีดในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป


ในประเทศไทยแนะนำให้ฉีดวัคซีนในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหากติดเชื้อ แต่ในสหรัฐอเมริกา CDC แนะนำให้ทุกคนที่อายุมากกว่า 6 เดือนฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี



สรุป


ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่มีการระบาดทุกปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนถึงฤดูหนาว ทำให้เกิดอาการ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ โดยความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับสภาวะสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละราย ในผู้ที่สุขภาพแข็งแรงอาจมีอาการไม่รุนแรง แต่ในผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคปอด ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยปลูกถ่ายไต หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน อาจมีอาการรุนแรง และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เสียชีวิตได้


การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ซึ่งจะมีการผลิตให้เหมาะสมกับสายพันธุ์ที่จะมีการระบาดในแต่ละปี จะช่วยลดอาการรุนแรงและลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้



ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. มัณฑนา สันดุษฎี

พญ. มัณฑนา สันดุษฎี

ศูนย์โรคปอดและระบบทางเดินหายใจ

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง (1)

ดูทั้งหมด

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์

฿ 900

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital