บทความสุขภาพ

Knowledge

มลพิษทางอากาศกับระบบทางเดินหายใจ

นพ. พรชัย วัชระวณิชกุล

กุมารเวช: มลพิษทางอากาศกับระบบทางเดินหายใจ


โดย นพ.พรชัย วัชระวณิชกุล

ทุกวันนี้อากาศในบ้านเรามีปริมาณฝุ่นและก๊าซพิษเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ปัจจัยสำคัญ ก็คือ ควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ และควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง พวกน้ำมัน หรือถ่านหิน และสารเคมีต่างๆ นอกจากนี้ยังมีพวกฝุ่นจากการก่อสร้างความจริงมนุษย์เรารู้ว่าฝุ่นและควันพิษ มีผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ของอังกฤษ ในช่วงปี คศ. 1377-1399 มีการกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์การใช้ถ่านหินเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมในโลกเราได้ประสบปัญหามลภาวะทางอากาศอย่างรุนแรงหลายครั้ง เช่น ปี คศ.1930 ที่เบลเยี่ยม, ปี คศ.1948 ที่เพนซิลวาเนีย และ ปี คศ.1952 ที่กรุงลอนดอน ทำให้มีผู้ป่วยตายเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นจึงมีผู้ให้ความสนใจและหาวิธีป้องกันอันตรายจากมลพิษทางอากาศอย่างจริงจังมลพิษทางอากาศ แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คืออนุภาคฝุ่นและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และโอโซน ซึ่งเป็นสารเกิดจากปฏิกิริยากับแสงแดดอื่นๆในข้อแรก จะเป็นผลพวงมาจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ได้แก่ พวกถ่านหินน้ำมันดิบ ส่วนในข้อสอง จะมาจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ เช่น จากรถยนต์ และก๊าซเหล่านั้นไปทำปฏิกิริยากับแสงแดด นอกจากนั้นยังมีพวกก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ที่ไม่สมบูรณ์ และก๊าซไฮโดรคาร์บอน ซึ่งอาจเป็นตัวการของการเกิดมะเร็งอนุภาคฝุ่นที่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่จะมีขนาด 1-10 ไมครอน ขนาดที่ใหญ่กว่านี้จะถูกจับไว้โดยขนที่จมูก ไม่ผ่านลงไปที่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ส่วนฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 0.5 ไมครอน เมื่อผ่านเข้าไปที่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่างแล้วก็จะถูกหายใจออกมา มีส่วนน้อยที่จะคงค้างอยู่ในถุงลม ปกติฝุ่นที่หลุดเข้าไปในหลอดลม ร่างกายจะพยายามกำจัดออกโดยขนเล็กๆ ที่อยู่ที่หลอดลมพยายามที่จะกวาดเอาฝุ่นขึ้นมา ส่วนที่เข้าไปในถุงลมจะถูกกำจัดโดยเซลล์ของร่างกายชนิดหนึ่ง เรียกว่า แมคโดฟาจ แต่ในคนที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง หรือหลอดลมอักเสบเรื้อรัง กลไกการต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้าร่างกายจะไม่เหมือนปกติทำให้โอกาสเกิดอาการผิดปกติได้มากกว่าในคนที่สุขภาพดี ฝุ่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ,ไนโตรเจนไดออกไซด์ และโอโซน มีผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการ แสบจมูก ไอ แน่นหน้าอก สมรรถภาพปอดลดลง และทำให้เกิดหลอดลมตีบได้ โดยเฉพาะในคนที่เป็นโรค หอบหืด ถุงลมโป่งพอง หรือ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ผลกระทบต่อสุขภาพจะเกิดได้บ่อยกว่าในคนสูงอายุ เด็กเล็ก และคนที่มีโรคปอด หรือโรคหัวใจอยู่เดิม นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็กจะเพิ่มขึ้นในเมืองใหญ่ที่มีฝุ่นและควันพิษมาก โดยทั่วไปปริมาณความเข้มข้นของอนุภาคฝุ่นหรือควันพิษมีปะปนอยู่แล้วในอากาศในปริมาณเล็กน้อย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ แต่ถ้าหากเกิดในปริมาณสูงมากขึ้นโดยเฉพาะในสภาวะที่อากาศนิ่ง ไม่ถ่ายเท ก็จะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้มากขึ้น นอกจากนี้การออกกำลังกายก็ทำให้มีโอกาสได้รับก๊าซพิษมากขึ้น เพราะว่าก๊าซพิษส่วนหนึ่งจะไม่ถูกกรองโดยจมูก แต่จะเข้าทางปาก และลงไปสู่หลอดลมส่วนล่างได้ง่ายและมีปริมาณมากขึ้นปัญหาที่อาจจะมองข้ามไป คือ ภาวะมลพิษทางอากาศ ไม่ได้เกิดเฉพาะในที่กลางแจ้งเท่านั้น แม้ในบ้านเรือนก็มีโอกาสเกิดได้ เช่น จากการใช้เตาอบ เตาแก๊ส ในที่อากาศถ่ายเทไม่ดี หรือ พิษจากควันบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบ เป็นต้นการป้องกันในแง่ส่วนบุคคล คือ การหลีกเลี่ยงเข้าไปในบริเวณที่มีการจราจรแออัด หรือเขตโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ออกกำลังกายกลางแจ้งในบริเวณที่มีฝุ่นหรือควันพิษจำนวนมาก การสวมหน้ากากเพื่อป้องกันฝุ่นละอองช่วยได้ไม่มาก เพราะอนุภาคมีขนาดเล็ก สามารถเล็ดลอดผ่านหน้ากากได้ ความจริงสิ่งสำคัญ คือ แก้ที่ตัวต้นเหตุ ได้แก่ มีมาตรการควบคุมควันและก๊าซพิษที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรมให้มีระดับที่ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การควบคุมควันเสียจากรถยนต์ ตลอดจนการคุมตัวตึกในบริเวณที่มีการก่อสร้างอาคาร เป็นต้นอ่านเรื่องนี้จบ ท่านผู้อ่านก็ไม่ต้องกังวลกับมันมากนัก เพราะว่าเขม่าควันพิษที่พัดมาจากอินโดนีเซียจากไฟไหม้ป่ามายังภาคใต้ของประเทศเรา ก็เริ่มเบาบางลงแล้ว ประกอบกับทางราชการก็มีมาตรการกำจัด

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. พรชัย วัชระวณิชกุล

นพ. พรชัย วัชระวณิชกุล

ศูนย์โรคปอดและระบบทางเดินหายใจ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital