บทความสุขภาพ

Knowledge

แคลเซียมกับภาวะกระดูกพรุนในวัยทอง

วัยทองนั้นเป็นช่วงเวลาที่ระบบฮอร์โมนเพศในร่างกายลดลงหรือหมดไป โดยผู้ชายในวัยทองระดับฮอร์โมนเพศชายจะมีระดับลดลงอย่างช้า ๆ แต่ในฝ่ายหญิงเมื่อรังไข่หยุดทำงานระดับฮอร์โมนเพศหญิงจะลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึงระดับต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่จำเป็นในการมีสรีรวิทยาการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ ที่เป็นปกติ


การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในวัยนี้เกิดขึ้นได้ในทุกระบบของร่างกายทั้งคุณผู้ชายและคุณผู้หญิง แต่โดยทั่ว ๆ ไปแล้วทางฝ่ายหญิงจะได้รับผลกระทบจากการขาดฮอร์โมนเพศหญิงมากกว่า โดยเฉพาะเมื่อร่างกายขาดฮอร์โมนเพศไปเป็นเวลานาน ๆ แล้วสิ่งที่จะเกิดขึ้น ก็คือ ภาวะกระดูกพรุน ซึ่งบางคนอาจเรียกว่า โรคกระดูกบางก็ได้


กระดูกพรุน คืออะไร


การเปลี่ยนแปลงของกระดูกที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนก็คือ เนื้อกระดูกจะบางลง การทำลายเซลล์กระดูกจะเพิ่มขึ้นในขณะที่การสร้างเซลล์กระดูกจะลดลง จากการศึกษาวิจัยพบว่ากระดูกจะเริ่มบางลงตั้งแต่อายุ 35 ปี โดยเมื่ออายุ 45 – 50 ปี กระดูกจะบางลงประมาณ 3 – 8% หลังจากเริ่มหมดประจำเดือนในระยะเวลา 5 ปีแรก กระดูกจะบางลงปีละ 5% จากนั้นในปีต่อ ๆไป กระดูกจะบางลง 1 – 2% ต่อปี ถ้าลองคำนวณดูจะพบว่า เมื่อผู้หญิงอายุประมาณ 55 ปี กระดูกจะบางลงไป 20 – 30% และเมื่ออายุถึง 65 – 70 ปี กระดูกอาจจะบางถึง 30 – 50% ซึ่งหมายความว่าอยู่ในระยะอันตรายที่จะทำให้กระดูกพรุนหรือเกิดกระดูกหักได้ง่าย ๆ ถ้าไม่มีการเตรียมตัวกันแต่เนิ่น ๆ


ปัจจัยเสี่ยง


ทุกคนควรจะป้องกันตนเองจากการเกิดโรคหรือภาวะกระดูกพรุน และบางลงโดยการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องในแต่ละช่วงของชีวิต การลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ จะช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุนในวัยทองลงได้ ปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าว ได้แก่


  • กรรมพันธุ์ ตรวจดูว่ามีสมาชิกในครอบครัวที่เกิดมีกระดูกหักในวัยสูงอายุหรือไม่ มีรูปร่างผอมเล็ก กล้ามเนื้อน้อย และผิวหนังบางหรือไม่
  • การใช้ชีวิต ดื่มสุรา หรือ สูบบุหรี่จัดหรือไม่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากไหม พักผ่อนเพียงพอ และมีการออกกำลังกายพอเพียงหรือไม่
  • ฮอร์โมน การขาดฮอร์โมนเพศทั้งชายและหญิงมีผลกระทบทำให้เนื้อกระดูกบางลงจนเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ ในผู้หญิงที่ได้รับการตัดรังไข่ออกสองข้างควรจะได้รับฮอร์โมนทดแทนทันที
  • การขาดแคลเซียม ตรวจดูว่าดื่มนมมาตั้งแต่เด็ก ๆ หรือไม่ รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบที่มีแคลเซียมเพียงพอหรือไม่
  • ถ้าคำถามต่าง ๆ ข้างต้นนั้นคุณตอบว่า ใช่ แล้วแสดงว่าคุณมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกพรุน การลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นนั้นสามารถทำได้ด้วยตนเองเพื่อป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุน หากมีข้อสงสัยใด ๆ การปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่จำเป็น
  • การรับประทานฮอร์โมนทดแทนเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะลดปัจจัยเสี่ยงจากการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ การรับประทานสารอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมเพียงพอร่วมกับการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยจะช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกพรุนในวัยทองลงได้

สารอาหารและการป้องกันตัวเองจากภาวะกระดูกพรุน


แคลเซียม


แคลเซียมเป็นสารที่จำเป็นสำหรับกระดูก หากได้รับปริมาณของแคลเซียมมากพอเพียงในช่วงที่กระดูกยังสามารถเจริญเติบโตได้จะช่วยลดอัตราการเกิดภาวะกระดูกพรุนลงได้ นอกจากนี้ร่างกายยังต้องการแคลเซียมไปใช้ในการทำหน้าที่ของอวัยวะอื่น ๆ ด้วย และหากร่างกายได้รับสารแคลเซียมไม่พอเพียงก็จะไปดึงออกมาจากกระดูกทำให้เนื้อกระดูกบางลง


ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับ


calcium-1.png

โดยปกติแล้วอาหารนมจะเป็นแหล่งสำคัญของแคลเซียมในคนส่วนใหญ่ ในผู้ที่สูงวัย การรับประทานนมที่ไขมันต่ำยังคงได้ปริมาณแคลเซียมเท่าเดิม และปริมาณของไขมันจะน้อยลง นอกจากนี้เราควรที่จะเพิ่มปริมาณของแคลเซียมในอาหารที่รับประทานให้มากที่สุด โดยเฉพาะในคนที่ไม่สามารถดื่มนมได้ เนื่องจากคนไทยส่วนหนึ่งไม่มีสารภายในระบบทางเดินอาหารที่จะช่วยย่อยนมทำให้เกิดอาการท้องอืดหลังดื่มนม กรณีนี้ควรจะต้องรับประทานแคลเซียมเสริมจากอาหารชนิดอื่น ซึ่งมีปริมาณของแคลเซียมมากน้อยแตกต่างกันไป เช่น


อาหารที่มีแคลเซียม


calcium-2.png

ในกรณีที่ไม่สามารถดื่มนมหรือรับประทานอาหารเพื่อให้ได้สารอาหารที่พอเพียงกับปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการแล้ว การรับประทานแคลเซียมที่เป็นชนิดเม็ดในปริมาณที่เหมาะสมก็เป็นทางออกอีกทางหนึ่งที่ทำได้


วิตามินดี


ร่างกายของเราจะไม่สามารถดูดซึมแคลเซียม และนำไปใช้ในการทำให้กระดูกหนาตัวขึ้นได้เลย ถ้าปราศจากไวตามินดี โดยปกติแล้วร่างกายของเราต้องการไวตามินดีวันละ 400 หน่วยสากล ซึ่งสามารถที่จะได้รับจากการดื่มนมครึ่งลิตร หรือรับแสงแดดประมาณ 30 – 60 นาทีต่อสัปดาห์


การออกกำลังกาย


แคลเซียมจะไม่มีประโยชน์มากเพียงพอในการป้องกันภาวะกระดูกพรุน ถ้าไม่มีการออกกำลังกายที่เหมาะสม และถูกหลัก เพราะการออกกำลังกายจะเป็นการเพิ่มงานให้กับกระดูกปริมาณของงานที่กระดูกต้องทำมีผลต่อการเพิ่มหรือลดลงของเนื้อกระดูก เป็นที่ยอมรับกันว่า การออกกำลังกายที่รับน้ำหนัก ซึ่งรวมถึงการออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง และกระดูกท่อนยาวจะมีผลในการทำให้กระดูกหนาตัวขึ้น


การออกกำลังกายดังกล่าวได้แก่ การวิ่ง การเดินเร็ว ๆ อย่างน้อย 20 นาทีต่อวัน โดยเฉพาะในช่วงที่มีแสงแดดอ่อน ๆ เพื่อเพิ่มปริมาณไวตามินดีจากแสงแดด และไม่ได้รับผลกระทบจากรังสียูวี จะมีประโยชน์มาก การออกกำลังกายประเภทการเสริมกล้ามเนื้อต่าง ๆ ก็มีส่วนช่วยด้วยเช่นกัน สำหรับการออกกำลังกายหนัก ๆ นั้น ควรพิจารณาตามความเหมาะสมตามวัยและเป็นราย ๆ ไป อย่างไรก็ตามควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนเริ่มโปรแกรมการออกกำลังกายใหม่ ๆ


คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


ถ้าทุกคนที่อยู่ในวัยทองเข้าใจพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น คือมีการเปลี่ยนแปลงจากวัยเจริญพันธุ์ (REPRODUCTIVE AGE) ไปเป็นวัยคุณภาพ (PRODUCTIVE AGE) แล้วและดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม วัยทองของเราจะเป็นวัยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข แก่ชราช้า มีความสุขในชีวิตและทำประโยชน์ให้สังคมในส่วนรวมด้วย การดูแลสุขภาพของกล้ามเนื้อและกระดูก โดยการได้ปริมาณของแคลเซียมที่เหมาะสมในแต่ละวัย จะมีผลทำให้สุขภาพดีขึ้น


calcium-3.png

* หมายเหตุ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง มีคุณค่าใกล้เคียงกัน เพราะส่วนประกอบเป็นชนิดเดียวกัน


ไม่ว่าจะเป็นผู้รับหรือผู้ให้ หากจะซื้อขนมควรเลือกชนิดที่มีประโยชน์ หรือเหมาะสมกับความประสงค์ที่สุด ถ้าคิดแล้วไม่อยากซื้อขนมไปให้ใครเพราะเป็นห่วงสุขภาพ แต่ก็ไม่ทราบว่าจะให้อะไรดี ลองให้กระเช้าผักที่จัดสวย ๆ มีสีเขียว แดง ส้ม ตัดกันก็น่าจะดีหรือจะเป็นของใช้ประจำบ้าน กระเช้าสวย ๆ อาจเก๋และดีกว่าขนมทั้งหลายก็ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

ปัสสาวะบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล็ก เสี่ยงโรคอันตรายบั่นทอนคุณภาพชีวิต

ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่การดื่มน้ำหรือของเหลวในปริมาณมาก ได้รับคาเฟอีนมาก การใช้ยา ไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เรียนรู้ในบทความนี้!

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital