บทความสุขภาพ

Knowledge

ปัญหาปวดเท้า นิ้วเท้าผิดรูป แก้ไขได้แค่เลือกรองเท้าให้ถูกต้อง

สุขภาพของเท้าเป็นสิ่งสำคัญที่มักถูกมองข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เราต้องเดินหรือวิ่งเป็นเวลานาน ๆ หรือมีกิจกรรมที่มีแรงกระแทก เช่น การเล่นกีฬา การพาสัตว์เลี้ยงไปเดินออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งการเดินเล่นยามเย็น เพราะหากไม่ได้เลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับรูปเท้าของเราจริง ๆ อาจนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดเท้า นิ้วเท้าผิดรูป รวมไปถึงปวดหัวเข่า สะโพก และหลังได้ การเลือกรองเท้าที่เหมาะสมจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยป้องกันปัญหาเท้าและข้อเท้า ในบทความนี้เราจะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกรองเท้าให้เหมาะกับเท้าของตัวเอง เพื่อให้ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องตัวและรู้สึกสบายมากขึ้น


วิธีเลือกซื้อรองเท้าให้เหมาะสม


1. ทดลองใส่รองเท้าก่อนซื้อ

รองเท้าแต่ละแบรนด์และแต่ละรุ่นจะมีขนาดที่แตกต่างกัน แม้ในกรณีที่เป็นรุ่นเดียวกัน แค่การเปลี่ยนสี บางครั้งก็ทำให้ขนาดรองเท้าเปลี่ยนไปได้ ดังนั้น อย่าลืมทดลองใส่รองเท้าก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อให้แน่ใจว่ามันพอดีกับเท้าของเรา


2. เลือกรองเท้าตอนเย็น

เคยสังเกตไหมว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เดินมาทั้งวัน หรือหากนั่งห้อยขาเป็นเวลานาน ๆ เท้าของเราจะเริ่มบวม จริง ๆ แล้ว ในช่วงท้ายของวันเท้าของเราจะมีขนาดใหญ่ขึ้นจากการเดินหรือการนั่งเป็นเวลานาน และอาจเพิ่มขนาดได้ถึง 8% เลยทีเดียว ดังนั้นการเลือกรองเท้าตอนเย็นจะช่วยให้เราสามารถเลือกรองเท้าที่มีขนาดที่เหมาะสมได้ดีขึ้น เพราะเท้าของเราจะมีขนาดใหญ่ที่สุดในช่วงเวลานี้


3. เลือกขนาดตามเท้าข้างที่ใหญ่กว่า

จริง ๆ แล้ว เท้าของเราทั้งสองข้างของเราไม่ได้มีขนาดเท่ากัน ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติที่ร่างกายทั้งสองข้างจะมีความไม่สมมาตรกัน ดังนั้น เราจึงควรเลือกขนาดรองเท้าตามเท้าข้างที่ใหญ่กว่า เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการบีบรัดหรือเจ็บปวดจากการใส่รองเท้าขนาดที่ไม่พอดี


4. พื้นที่รองเท้าด้านหน้าและข้างนิ้วเท้า

โดยทั่วไปแล้วควรมีพื้นที่เหลือประมาณ “ครึ่งนิ้ว” จากปลายนิ้วที่ยาวที่สุด ซึ่งนิ้วที่ยาวที่สุดของแต่ละคนอาจไม่ใช่นิ้วโป้งเสมอไป บางคนอาจเป็นนิ้วชี้หรือนิ้วกลางก็ได้ ดังนั้น ถ้าปลายรองเท้าคับเกินไปจะทำให้เกิดการเสียดสี จนเกิดถุงน้ำหรือปัญหาอื่น ๆ ตามมา แต่ถ้ารองเท้าหลวมเกินไปจนเท้าขยับไปมา ก็อาจทำให้เดินไม่สะดวก รู้สึกไม่สบาย และรู้สึกไม่มั่นคงในการทรงตัว


สำหรับข้างนิ้วเท้า ควรมีพื้นที่เหลือประมาณ ¼ นิ้ว หากคุณมีเท้ากว้าง อย่าลืมเลือกรองเท้าที่ออกแบบมาเพื่อคนที่มีเท้ากว้างโดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยให้เท้าของราไม่รู้สึกบีบรัดจนเกินไป และยังสามารถเดินได้อย่างสบายขึ้น


5. ทดสอบรองเท้าในหลาย ๆ พื้นผิว

ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อรองเท้า แนะนำให้ทดสอบเดินบนพื้นผิวหลากหลายประเภท เช่น พื้นเรียบและพื้นขรุขระ เพื่อให้แน่ใจว่ารองเท้านั้นใส่แล้วรู้สึกสบาย และมั่นคงในทุกการเคลื่อนไหว


6. เลือกพื้นรองเท้าที่ไม่ลื่น

หากพื้นรองเท้าลื่นเกินไป อาจทำให้เท้าขยับไปมาภายในรองเท้าได้ ทำให้เดินไม่สะดวก หรือรู้สึกไม่มั่นคงในการเคลื่อนไหว จนอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการทรงตัวที่ไม่มั่นคง นอกจากนั้นหากมีกิจกรรมที่ต้องเดินมาก ๆ หรือใช้การเคลื่อนไหวเยอะ ๆ แนะนำให้มีพื้นรองเท้าด้านในนุ่มและรองรับรูปเท้าของเรามากที่สุด


7. อย่าเชื่อคำแนะนำว่ารองเท้าจะขยายเพิ่มขึ้นได้

การเชื่อคำแนะนำที่บอกว่า “รองเท้าจะขยายได้” บางครั้งอาจทำให้เราต้องทนเจ็บปวดไปนาน ๆ โดยเฉพาะถ้ารองเท้าคับเกินไป เพราะมันจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น นิ้วเท้าผิดรูปหรือเกิดการกดทับที่เท้า ดังนั้น ควรเลือกขนาดรองเท้าที่พอดีกับเท้าของเราตั้งแต่ต้น และควรเลือกรองเท้าในช่วงที่เท้าของเรามีขนาดใหญ่ที่สุดในแต่ละช่วงวันด้วย


8. วัดขนาดเท้าใหม่ทุกปี

เท้าของเราจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กที่เท้ามักโตเร็ว เราจึงควรวัดขนาดเท้าใหม่ทุก ๆ ปี โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ๆ หรือเด็กวัยกำลังโต การซื้อรองเท้าให้เด็ก ๆ ควรเผื่อขนาดไว้ประมาณ 1 นิ้วมือ เพื่อให้รองเท้าขยายได้ในช่วง 3-6 เดือน แต่ถ้าเด็ก ๆ ชอบถอดรองเท้าบ่อย ๆ หรือรู้สึกว่ารองเท้าคับเกินไป ก็แนะนำให้ตรวจสอบขนาดใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเท้าเจ็บหรือบาดเจ็บ


9. รองเท้าส้นสูง

รองเท้า เพื่อไม่ให้บีบเท้าเกินไป เพราะรองเท้าส้นสูงและหัวแหลมสามารถทำให้เกิดอาการปวดนิ้วหัวแม่เท้า ปวดเข่า หรือปวดหลังได้ การใส่รองเท้าส้นสูงมาก ๆ จะทำให้เท้าของคุณต้องรองรับน้ำหนักมากขึ้น จนอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดได้ในระยะยาว


ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเท้าและข้อเท้า

การเลือกซื้อรองเท้าจึงเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจอย่างมาก เพราะไม่ใช่แค่เพื่อความสวยงาม แต่เพื่อให้มีสุขภาพเท้าและมีการเคลื่อนไหวที่สะดวกสบายในชีวิตประจำวัน ดังนั้น อย่าลืมปรับทุกอย่างให้เหมาะสมกับเท้าของตัวเอง เพื่อให้ได้รองเท้าที่ไม่เพียงแต่ดีไซน์สวย แต่ยังดีต่อสุขภาพในระยะยาว หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพเท้า สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ ที่โรงพยาบาลพระรามเก้าได้

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ รักษาใจเต้นผิดจังหวะ ให้กลับสู่ภาวะปกติ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) จะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เครื่องจะช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงกับระดับปกติอีกครั้ง

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital