บทความสุขภาพ

Knowledge

กินยาอย่างไร…ไตไม่พัง

กรมการแพทย์เผยปัจจุบันคนไทยป่วยด้วยโรคไตเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน โดยกว่า 100,000 คน เป็นผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ต้องได้รับการฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้อง


ซึ่งนอกจากต้องเสียค่าใช้จ่าย ค่ายา ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นแล้ว ยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและญาติ ทำให้ต้องเสียเวลาในการมาฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้องเป็นประจำ


คงไม่มีใครอยากลางานสัปดาห์ละครั้งหรืออาจจะมากกว่านั้น หรือต้องสละเวลาที่จะได้ใช้ร่วมกันกับครอบครัวหรือคนที่คุณรัก เพื่อมานั่งฟอกเลือดที่โรงพยาบาลครั้งละ 4-5 ชั่วโมงไปตลอดชีวิตจนกลายเป็นเป็นกิจวัตร


อีกทางเลือกหนึ่งคือการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายไต ซึ่งก็มีค่าใช้จ่ายสูง และโอกาสที่จะได้รับไตมาเปลี่ยนก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ได้เปลี่ยนไตแล้วก็ยังไม่จบเท่านั้น ต้องดูแลประคบประหงมไตที่ถูกเปลี่ยนถ่ายมาใหม่เป็นอย่างดี ด้วยการรับประทานยากดภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต ซึ่งยาก็มีทั้งอาการข้างเคียง และข้อปฏิบัติที่ต้องทำตามและสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง ถ้าไม่อยากต้องกลายเป็นหนึ่งในแสนคนนั้น เรามาดูแลไตของเรากันเถอะ…เริ่มตั้งแต่วันนี้ยังไม่สาย


โรคไตเรื้อรังส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ และที่สำคัญคือการใช้ยาและสมุนไพรที่ทำอันตรายต่อไต


คนไข้ไตที่เกิดจากการควบคุมโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงไม่ได้พบว่าส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจาก


  1. การใช้ยาไม่ถูกต้อง ไม่ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ เพราะเชื่อว่าการรับประทานยามาก ๆ จะทำให้ไตพัง ซึ่งไม่ใช่ยาทุกชนิดที่รับประทานเข้าไปแล้วจะไปมีผลต่อไต แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเลือกยาและขนาดยาที่เหมาะสมกับสภาวะของคนไข้ และมีการตรวจติดตามค่าการทำงานของไตเป็นประจำโดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไต ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คนไข้ต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ และมาตรวจติดตามผลการรักษาเป็นประจำ เมื่อควบคุมโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงได้แล้ว ความเสี่ยงในการเป็นโรคไตเรื้อรังก็จะลดน้อยลง
  2. การซื้อยารับประทานเอง ยาที่เป็นอันตรายต่อไตที่พบปัญหามากที่สุดคือ กลุ่มยาแก้ปวดแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือยากลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) ซึ่งเป็นยาที่คนไทยนิยมใช้เป็นจำนวนมาก เพราะเป็นยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เป็นยาที่ใช้กันอยู่แล้วในชีวิตประจำ ไม่ว่าจะใช้เป็นยาลดไข้ ใช้บรรเทาอาการปวดศีรษะ ไมเกรน ปวดจากโรคเกาต์ ข้อเข่าเสื่อม ปวดประจำเดือน และอาการปวดฟัน ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ แอสไพริน ไอบูโพรเฟน นาโปรเซน ไดโคลฟีแนค เป็นต้น เนื่องจากยากลุ่มนี้จะทำให้เลือดไปเลี้ยงไตลดลง ทำให้การทำงานของไตแย่ลง หากรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือรับประทานยาในกลุ่มเอ็นเสดซ้ำซ้อนก็อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ยาอื่นๆที่พบว่ามีผลต่อไตได้แก่ ยาต้านจุลชีพบางชนิด เช่น อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) ไซโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin) ซึ่งควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา
  3. การรับประทานยาชุด ยาสมุนไพร ยาบำรุง และอาหารเสริมที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ไม่ระบุตัวยา และส่วนประกอบที่ชัดเจนซึ่งมักมีการลักลอบใส่สารที่เป็นอันตรายและเป็นพิษต่อไต ทำให้เนื้อไตอักเสบเฉียบพลันหรือเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มดังกล่าว

แต่หากมีอาการเหนื่อยง่าย บวม ปวดสีข้างด้านหลัง ปัสสาวะน้อยลง ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ หรือปัสสาวะมีฟองมากผิดปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนโรคไต แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจการทำงานของไต และดูแลรักษาอย่างถูกต้องก่อนที่เนื้อไตจะถูกทำลายอย่างถาวร จนกลายเป็นโรคไตวายเรื้อรัง


กินยาอย่างไรไตไม่พัง...


  1. ลดปริมาณการใช้ยาที่ไม่จำเป็น
  2. ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนซื้อยารับประทานเอง
  3. หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยาที่รับประทานอยู่ว่าซ้ำซ้อนกัน หรือมีผลต่อการทำงานของไตหรือไม่ ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังก็ควรไปพบแพทย์เป็นประจำ ไม่ควรซื้อยารับประทานเองอย่างต่อเนื่อง

เพียงเท่านี้ไตก็จะอยู่ให้ร่างกายเราพร้อมใช้ไปตลอดชีวิต

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

อาการปวดเข่าคืออะไร มีวิธีป้องกันข้อเข่ามีอะไรบ้าง?

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ข้อเข่าเสื่อม และส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ การรู้ถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการปวดเข่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ

EST คืออะไร? การตรวจสมรรถภาพหัวใจ Exercise Stress Test

EST (Exercise Stress Test) คือ การออกกำลังกายตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีวินิจฉัยสุขภาพหัวใจเพื่อทำการรักษาต่อไป EST มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออะไร รู้สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาให้หายดี

ภาวะข้อไหล่หลุดคืออาการที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้แรงเยอะ ๆ หรือเคยไหล่หลุดมาก่อน มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไหล่หลุดได้บ้าง และจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไ

กระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? รู้จักอาการ สาเหตุ และการป้องกัน

โรคกระดูกคอเสื่อมอันตรายไหม? ชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาการ สาเหตุ และการรักษา เพื่อป้องกันสุขภาพตัวเองไม่ให้กระดูกคอได้รับบาดเจ็บ

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนให้หายดี ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital