บทความสุขภาพ

Knowledge

ลดอันตรายมะเร็งหู-คอ-จมูก

การตรวจหามะเร็งระยะแรก ทางหู-คอ-จมูก เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะในกลุ่มคน

ที่มีอัตราเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป คือ


  1. ผู้ที่สืบเชื้อสายจากชาวจีนในตอนใต้ เช่น มณฑลกวางตุ้ง, ฟกเกี๋ยน, ไหหลำ เป็นต้น มีโอกาสเป็นมะเร็งของช่องหลังจมูก (Nasopharynx) สูงกว่าคนทั่วไปหลายเท่า
  2. ผู้ที่สูบบุหรี่จัดเป็นเวลาหลายปี รวมทั้งดื่มสุราด้วย มีโอกาสเป็นมะเร็งกล่องเสียง , ลำคอ มากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่เป็นร้อยเท่า
  3. ผู้ที่ชอบเคี้ยวยาเส้น , เคี้ยวหมาก อาจเป็นมะเร็งของกระพุ้งแก้ม , ลิ้น และริมฝีปาก หรือเหงือกได้มาก
  4. บุคคลที่ทำงานใกล้ชิดกับสารเคมี , สี , น้ำยาเคมี หรือน้ำมัน-ไฮโดรคาร์บอน มีส่วนเพิ่มของอัตราเสี่ยงเกี่ยวกับมะเร็งในช่องจมูก-ไซนัส

วิธีการตรวจทาง หู-คอ-จมูก นอกจากการตรวจด้วยเครื่องมือปกติทั่วไปแล้ว ปัจจุบันมาตรฐานการตรวจสูงขึ้น โดยการใช้กล้องใยแก้วชนิดขดเลื้อยได้ (Flexible Fiberoptic Rhino-laryngoscope) หรือที่แพทย์

มักจะเรียกกันว่า ENT-Scope (รูป 1)

ENT-Scope ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.4 มิลลิเมตร จะตรวจได้ละเอียดตามซอกมุมในจมูก ลำคอ-กล่องเสียงได้ดีกว่าใช้กระจกส่อง (รูป 2,3) ทำได้ง่ายใช้เวลาเพียง 2-3 นาที ก่อนตรวจจะต้องพ่นยาชาในจมูกและลำคอ


เป็นที่ทราบกันในวงการแพทย์ว่าความผิดปกติของเยื่อบุลำคอ , กล่องเสียงที่เป็นฝ้าขาว Leukoplakia ซึ่งปล่อยไว้จะกลายเป็นมะเร็งได้ (รูป 4) Leukoplakia สามารถตรวจพบได้ง่ายโดยใช้กล้องส่องนี้ดีกว่าทำ X-ray computer ซึ่งไม่สามารถจะบอกถึงความผิดปกติชนิดนี้ได้


ผู้ที่อยู่ในกลุ่มอัตราเสี่ยงสูง เมื่ออายุเกิน 35-40 ปีขึ้นไป สามารถส่องกล้องตรวจได้ทุกปี ส่วนคนทั่วไปอายุเกิน50 ปีขึ้นไป อาจตรวจได้ทุก 3-5 ปี ตามความเหมาะสม


ประโยชน์ของการส่องด้วย ENT Scope ยังสามารถตรวจหาสาเหตุของผู้ที่เป็นหวัดเรื้อรัง มีเสลดลงคอบ่อย เช่น โรคโพรงจมูกอักเสบ โรคริดสีดวงจมูกระยะเริ่มแรก (รูป 5,6,7)


สำหรับผู้ที่นอนกรน ENT Scope นี้สามารถนำมาตรวจโดยวิธี Muller’s Maneuver เพื่อตรวจหาจุดที่ตีบแคบของลำคอ อันจะนำไปสู่การผ่าตัดรักษาโรคนอนกรนได้


จะเห็นได้ว่า การตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรกสำหรับอวัยวะส่วนต่างๆ ต้องทำด้วยความละเอียดพอเพียงและต้องทำต่อเนื่องสม่ำเสมอ จึงจะสามารถให้ประโยชน์สูงสุด ในการลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคร้ายเหล่านี้ เพราะโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกสามารถรักษาให้หายขาดได้ การซักประวัติเพื่อพิจารณาชนิดของการตรวจสำหรับ Check up ประจำปี จึงมีความสำคัญมาก ไม่ตรวจมากไปหรือน้อยไปและอย่างคุ้มค่าด้วย.

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital