บทความสุขภาพ

Knowledge

บริโภคเค็มมากเกินไป เสี่ยงเกิดโรค NCDs โดยไม่รู้ตัว

นพ. วิศิษฐ์ ลิ่วลมไพศาล

อาหารไทยเป็นอาหารที่มีหลากหลายรสชาติทั้ง เปรี้ยว หวาน เค็ม และเผ็ดโดยความจัดจ้านของอาหารไทย


เป็นที่ถูกปากทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ แต่ภายใต้รสชาติแสนอร่อยนั้นก็ซ่อนอันตรายอยู่ไม่น้อยเลยที่เดียว หากเราบริโภคมากพอดี ปัจจุบันประชาชนประสบปัญหาเรื่องโรค NCDs หรือโรคไม่ติดต่อ ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการบริโภคอาหารรสหวาน มัน เค็ม และขาดการออกกำลังกายในสัดส่วนที่ไม่เหมาะสมมากขึ้น อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สถิติของผู้ป่วยด้วยโรค NCDs เพิ่มสูงขึ้น และเสียชีวิตก่อนวัยอันควรในที่สุด


จากสถิติในประเทศไทยปัจจุบัน พบว่า มีอัตราการเสียชีวิต 3 ใน 4 ที่มีสาเหตุมาจากโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งโรคดังกล่าวเหล่านี้ ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อโรค แต่เป็นผลจากการมีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย ทานอาหารหวาน มัน เค็มมากจนเกินพอดี พฤติกรรมเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดความดันเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง ไขมันในเลือดสูงขึ้น น้ำหนักตัวเกินจนกระทั่งอ้วน ส่งผลให้เกิดโรคไม่ติดต่อตามมา เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และนำไปสู่โรคไต


นายแพทย์วิศิษฐ์ ลิ่วลมไพศาล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสถาบันโรคไตและเปลี่ยนไต โรงพยาบาลพระรามเก้า บอกว่า คนไทยในปัจจุบันบริโภครสจัดและรสเค็ม ที่เพิ่มมากขึ้นเฉลี่ย 10.8 กรัมต่อวัน หรือโซเดียม 5,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งสูงเป็น 2 เท่า ของที่ร่างกายควรได้รับ โดยร้อยละ 71 มาจากการเติมเครื่องปรุงรสระหว่างการประกอบอาหาร ซึ่งโดยปกติอาหารตามธรรมชาติก็มีเกลือเป็นส่วนประกอบอยู่แล้ว เมื่อมีการใช้เครื่องปรุงรสดังกล่าวปริมาณมาก จึงทำให้ปริมาณเกลือในอาหารสูงมากตามไปด้วย


โรคไตเป็นหนึ่งในโรค NCDs ซึ่งพบมาก เนื่องจากมีประชากรในครอบครัวไทยป่วยเป็นโรคไตติดอันดับ 3 ของอาเซียน รองจากมาเลเซียและสิงคโปร์ สาเหตุส่วนใหญ่ร้อยละ 70 เกิดจากเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งมีสถิติผู้ป่วยรวมเกือบ 15 ล้านคน ผลที่ตามมาคือ มีภาวะไตเสื่อมและไตเสื่อมเร็วขึ้น จัดว่าเป็นมหันตภัยเงียบที่น่ากลัว เพราะผู้ป่วยจะไม่ทราบว่าป่วยเป็นโรคไต นอกจากนี้แล้ว โรคไต ยังต้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่องจนกว่าผู้ป่วยจะได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตหรือเสียชีวิต และนับว่ามีค่าใช้จ่ายสูง โดยโรคในกลุ่มนี้มีสาเหตุหลักจากการบริโภคอาหารรสเค็ม หรืออาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียมเป็นประจำโดยไม่รู้ตัว ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก


โรงพยาบาลพระรามเก้า จึงได้เล็งเห็นว่า การบริโภคเค็มมากเกินพอดีในแต่ละวัน ก่อให้เกิดโรคได้หลายชนิด จึงรณรงค์การบริโภคเค็มให้ลดโซเดียมลงจาก 4 กรัมต่อวัน ให้เหลือวันละ 2 กรัม เพื่อป้องกันการเกิดโรค NCDs ที่อาจจะเกิดขึ้นได้


ดังนั้น คนไทยสามารถหากลดปริมาณโซเดียมได้จากการปรุงอาหาร คือ


1) หลีกเลี่ยงการใช้เกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรสต่างๆ และผงชูรส ในการปรุงอาหาร


2) หลีกเลี่ยงเติมเครื่องปรุง เช่น ปรุงรสในก๋วยเตี๋ยว เติมพริกน้ำปลาใน ข้าวแกง เป็นต้น


3) หลีกเลี่ยงอาหารประเภทดองเค็ม-อาหารแปรรูป เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาแดดเดียว ปลาส้มแหนม ไส้กรอก กุนเชียง หมูหยอง เป็นต้น


4) เลือกรับประทานอาหารที่มีหลายรสชาติ เช่น แกงส้ม ต้มยำ เพื่อทดแทนรสชาติเค็ม


5) ตรวจดูปริมาณโซเดียมต่อหน่วยบริโภค บนฉลากของซอสปรุงรส อาหารสำเร็จรูป และขนมถุงเพื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงเกินความพอดี


แนวทางข้างต้นนี้ นับว่า เป็นตัวช่วยหนึ่ง ที่จะสามารถช่วยลดปริมาณการบริโภคเค็มของคไทยที่มีเพิ่มสูงขึ้นให้มีจำนวนลดลง และที่สำคัญสามารถทำให้คนไทยห่างไกลจากโรค NCDs ได้ด้วย



เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. วิศิษฐ์ ลิ่วลมไพศาล

นพ. วิศิษฐ์ ลิ่วลมไพศาล

สถาบันโรคไตและเปลี่ยนไต โรงพยาบาลพระรามเก้า

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ รักษาใจเต้นผิดจังหวะ ให้กลับสู่ภาวะปกติ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) จะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เครื่องจะช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงกับระดับปกติอีกครั้ง

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital